วันที่จัดแสดง : 22 สิงหาคม – 17 ธันวาคม 2566 สถานที่ : ณ ศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ ชั้น 2 อาคารส่วนหลัง TCDC กรุงเทพฯ Date : 22 August - 17 December 2023 Venue : Material & Design Innovation Center (MDIC), Fl.2, TCDC Bangkok
nature / materials / packaging / natural / sustainable / environment / recycled / textile / innovation / agricultural / plastic / processes / furniture / crafts
วันที่จัดแสดง : 22 สิงหาคม – 17 ธันวาคม 2566
สถานที่ : ณ Material & Design Innovation Center (MDIC) ชั้น 2 อาคารส่วนหลัง TCDC กรุงเทพฯ
Date : 22 August - 17 December 2023
Venue : Material & Design Innovation Center (MDIC), Fl.2, TCDC Bangkok
Facebook:Thailand Creative & Design Center/Co-Create With Nature
ยินดีต้อนรับสู่โลกที่ธรรมชาติและวัสดุ ผสานรวมกับนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างลงตัว
"Co-Create with Nature ธรรมชาติสรรสร้างวัสดุสร้างสรรค์" เป็นการจัดแสดงวัสดุที่มีความโดดเด่นและได้รับการคัดเลือกว่าเป็นวัสดุที่มองเห็นปัญหาของโลกปัจจุบัน เข้าใจความต้องการของตลาด และตอบโจทย์ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการดึงศักยภาพ เปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติให้กลายเป็นวัสดุใหม่ผ่านการออกแบบร่วมกับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการจัดการ การผลิต และการออกแบบ
ขอเชิญชวนมาสำรวจวิถีการผสมผสานอันสมดุลระหว่างองค์ประกอบธรรมชาติและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นโอกาสในการต่อยอดวัสดุธรรมชาติอีกหลากหลายในโลกของเราให้ได้เติบโตต่อไป
Welcome to a world where nature and innovation unite, "Co-Create with Nature Exhibition." This exhibition celebrates turning natural resources into clever materials through design and innovation. Explore how nature and human creativity mix to shape new possibilities. Join us on this journey of co-creation, where imagination knows no bounds and our world's sustainable potential is revealed.
แรปผักจากแตงกวาญี่ปุ่นและแครอท ผลิตโดยการนำแตงกวามาปอกเปลือก หั่นให้เป็นรูปร่างที่ต้องการ จากนั้นนำไปต้มในน้ำเดือด ตักผักขึ้นมาแล้วนำมาวางเรียงกันเป็นแบบต่าง ๆ ซับด้วยทิชชู่ ให้แห้ง นำมาขึ้นรูปทรงด้วยเฟรมไม้ ตากให้แห้งสนิท จากนั้นนำมาเคลือบด้วย PVA (Polyvinyl alcohol) โดยใช้แปรงทาให้ทั่ว รอจนแห้ง และทำข้างหลังซ้ำ PVA เป็นสารเคลือบเทอร์โมพลาสติกที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถย่อยสลายได้โดยวิธีชีวภาพ ไม่มีสารพิษ ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้ มีคุณสมบัติการก่อฟิล์ม มีความยืดหยุ่น และการยึดติดที่ดี ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ปิดอาหาร
Rethinking plastic wrap for supermarket produce led to a clever twist: using nature's own packaging—fruits' and veggies' skins—for freshness and safety. This inventive approach transforms produce into eco-friendly wrapping, offering novelty while fully returning to nature.
วัสดุทรายเทียมจากขยะเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้ง 100% จากอุตสาหกรรมอาหารทะเล จังหวัดสมุทรสงคราม สามารถใช้เป็นวัสดุทางศิลปะ อุปกรณ์ประดับตกแต่ง และกิจกรรมเล่นทรายได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติประกายแวววาวจากมุกธรรมชาติ มีหลายขนาด สามารถแต่งสีและกลิ่นได้ เป็นวัสดุชีวภาพ สะอาด ปราศจากเชื้อแบคทีเรีย ปลอดภัยต่อมนุษย์ ลดการใช้ทรายจากธรรมชาติ ย่อยสลายได้และสร้างความยั่งยืนให้แก่สิ่งแวดล้อม
"WaG MuS" is artificial sand made from discarded mussel shells in the seafood industry. It's great for art and play, emitting a pearl-like glow, and can be scented and colored. As a biodegradable option, it reduces the need for natural sand, promotes sustainability, and is safe for humans and the environment.
ผงสีธรรมชาติจากผักและผลไม้ที่เหลือจากร้านอาหารและคาเฟ่ นำมาสกัดเป็นผงสี ประกอบไปด้วย เศษผักและผลไม้ 80% และกาวกระถิน 20% เพื่อใช้สำหรับผลิตสีฝุ่นและสีน้ำ ใช้ในการทำงานศิลปะ
Merging recycled plastic yarn with nanotechnology, the QVIRA X MONSILK CARPET, a pioneering Thai textile innovation, was created. The marvelous textile ensures softness, fire retardant standards, disease prevention, and tackles plastic waste—all upheld by the esteemed Global Recycle Standard (GRS).
วัสดุจากธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและวัสดุเชื้อเพลิงจากธรรมชาติ (เปลือกถั่วลายเสือ 70% วัสดุเหลือทิ้งการโกโก้ 20% น้ำยาประสาน 10%) โดยการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งมาบด/สับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมคลุกเคล้ากับน้ำยาประสานแบบ Food Grade ที่เตรียมไว้ นำส่วนผสมบรรจุเข้าเครื่องบดอัดให้เข้ารูป สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุเอนกประสงค์ เช่น จานรองแก้ว วัสดุตกแต่งบ้าน และสามารถกันน้ำได้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเฉพาะในแบบรูป 6 เหลี่ยม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร สีพาสเทล มินิมอลแบบธรรมชาติ
Materials from Mae Hong Son Province's agricultural and natural resources, including cocoa husks, coffee husks, garlic peels, tiger stripe peanut husks, and other plants, are transformed into eco-friendly utensils and environmentally conscious packaging.
วัสดุรีไซเคิลโพลีคาร์บอเนต สำหรับใช้ขึ้นรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มีความโปร่งแสง มีความเหนียว ทนแรงกระแทกสูง จึงเหมาะสำหรับนำมาใช้ทำฐานโต๊ะ โคมไฟ หรือเฟอร์นิเจอร์ที่มีลักษณะลุคโปร่งใส และความแข็งแรงได้
Only green or recycled plastic materials are used for the Re-Up collection. It blends old factory molds, industrial processes, and craftsmanship, reusing original plastic lamp parts. It incorporates glass-like, transparent recycled polycarbonate plastic mixed with natural rubber. Additionally, the top pieces can be combined with a UHT milk and fruit juice box board to create furniture.
ผลึกน้ำตาลใช้ทดแทนหินแร่ธรรมชาติ ผลิตด้วยการนำน้ำ 20 % ผสมกับน้ำตาล 80 % จากนั้นรอให้เกิดการตกผลึก และนำมาเคลือบด้วยเรซิน ใช้ทำเครื่องประดับหรือเป็นอุปกรณ์ประดับตกแต่ง
Sugar crystallization crafts Lanna-inspired jewelry. These pieces—necklaces, earrings, rings, and hairpins—replace scented flowers with symbols like ylang-ylang, jasmine, dendrobium lindleyi, and gardenia, adorning Lanna women.
กระเบื้องเคลือบชนิดบางพิเศษ เป็นกระเบื้องเซรามิกแท้ ผลิตจากดิน ซิลิกา และเคลือบแกร่ง มีคุณสมบัติแบบเซรมิก สามารถปรับสูตรการเคลือบเพื่อให้ได้สีสันตามต้องการได้ ความบางพิเศษทำให้กระเบื้องชนิดนี้สามารถนำไปใช้ในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น เช่น เป็นกระเบื้องประดับ เป็นวัสดุปิดผิวบนไม้ ปูน อื่นๆ โดยใช้กาวสำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ ไม่จำเป็นต้องใช้ปูนผสาน น้ำหนักเบาแต่ให้ความแข็งแกร่งทนกรดด่าง รอยขีดข่วนได้เหมือนกระเบื้องเคลือบทั่วไป นอกจากนั้นยังปรับใช้กับงานเครื่องประดับ ตกแต่งชิ้นงานเฟอร์นิเจอร์ ศิลปะโมเสก งานสถาปัตย์แบบโบราณ งานร่วมสมัยที่ใช้เทคนิคพิเศษ เช่น การเชื่อมด้วยโลหะ การต่อเชื่อมด้วยยางรัก หรือกระทั่งการเจาะรูเพื่อใช้ประดับบนผืนผ้า
These uniquely coated tiles have ceramic-like qualities: they are light yet durable, acid-resistant, and scoreable like glazed tiles. They can be glued without mortar, making them versatile for various uses like jewelry, furniture accents, mosaic art, ancient-style sculptures, and contemporary artworks with special techniques.
ผักตบชวากันกระแทกใช้ทดแทนพลาสติกกันกระแทก ผลิตจากผักตบชวาในจังหวัดเพชรบุรี โดยนำผักตบชวาหั่นเป็นท่อนเล็ก ๆ เท่า ๆ กัน ล้างทำความสะอาด นำไปตากแห้งหรืออบแห้ง สามารถย่อยสลายได้เองโดยไม่กระทบสิ่งแวดล้อม มีคุณสมบัติที่นุ่ม ยืดหยุ่นมีฟองน้ำธรรมชาติทำให้ซับแรงกระแทกได้ดี น้ำหนักเบา มีสีน้ำตาลอ่อนสวยงาม และมีกลิ่นหอมคล้ายชา สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งการกันกระแทกพัสดุต่าง ๆ รองกรงสัตว์เลี้ยงจำพวก หนู กระต่าย และคลุมหน้าดินให้ต้นไม้
Water hyacinth from Phetchaburi Province was repurposed and recreated as a biodegradable cushioning material for packaging. This innovation generates economic prospects, resolves water weed problems, and enhances community cohesion, offering a sustainable substitute for non-biodegradable options like plastics and foams.
QVIRA X MONSILK CARPET ผลิตขึ้นจากการผสมผสานเส้นด้ายรีไชเคิลจากขวดพลาสติกใช้แล้วกับนาโนเทคโนโลยี โดยนำขวดพลาสติกที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการ Upcycling โดยเริ่มจากแยกสิ่งปนเปื้อนออกจากขวด นำไปบดให้มีขนาดเล็ก แล้วทำความสะอาด ตากให้แห้ง และเข้าสู่กระบวนการ Polymerization ฉีดออกมาเป็นเส้นใย MONSILK และนำมาปั่นรวมกับเส้นใย QVIRA ซึ่งเป็นเส้นใยที่มีส่วนผสมของ Nano Zinc จนได้ขนาดเส้นด้ายที่ต้องการ จากนั้นนำมาผ่านการย้อมสี และทอออกมาเป็นพรมตามดีไซน์ที่ต้องการที่ทำให้ผู้ใช้งานมีความปลอดภัยจากเชื้อโรค (ไวรัส แบคทีเรียและเชื้อรา) ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 18184 นอกจากนี้เส้นด้าย QVIRA X MONSILK ยังผ่านการวิจัยและพัฒนาให้มีลักษณะและคุณสมบัติพิเศษที่เหมาะสมกับการใช้งาน ผิวสัมผัสนุ่ม ป้องกันการลามไฟ ตามมาตรฐานสากล ภายใต้กระบวนการผลิตที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GRS หรือ Global Recyle Standard
Merging recycled plastic yarn with nanotechnology, the QVIRA X MONSILK CARPET, a pioneering Thai textile innovation, was created. The marvelous textile ensures softness, fire retardant standards, disease prevention, and tackles plastic waste—all upheld by the esteemed Global Recycle Standard (GRS).
วัสดุตกแต่งผนังจากเส้นใยเห็ดไบโอคอมโพสิต มีความเป็นธรรมชาติของผิววัสดุที่เป็นเอกลักษณ์ เหมาะสำหรับงานตกแต่งภายใน วัสดุเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากทั้งกระบวนการของ Mush Composites ที่ใช้เทคโนโลยีจากธรรมชาติโดยการให้เห็ดเติบโตเพื่อสร้างเส้นใยไมซีเลียม (เส้นใยส่วนรากของเห็ด)และใช้การถักทออย่างเป็นร่างแหเป็นเสมือนกาวธรรมชาติในการผสานกับเส้นใยวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรคงรูป เพื่อให้ได้วัสดุเบา มีความสามารถในการดูดซับเสียง และไม่ลามไฟ
Decorative wall materials made from mycelium biocomposite fibers combine nature and creative design. Fungi's natural growth creates adhesive-like fibers that bind with agricultural byproducts for intricate patterns. This lightweight material is sound-absorbing and fire-retarded.
วัสดุยางพาราผสมเส้นใยธรรมชาติ เป็นการนำน้ำยางพาราสดจากเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดอุบลราชธานี มาผ่านกระบวนการปรับปรุงสมบัติทางเคมี มาผสมกับเส้นใยที่เป็นวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชน ประกอบด้วยยางพาราคอมโพสิท 75 % เส้นใย 15% (เส้นใยฝ้าย, นุ่น, กล้วย) เพื่อเพิ่มคุณสมบัติความแข็งแรง ส่งผลต่อการลดการใช้วัสดุสังเคราะห์ที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยสามารถประยุกต์ใช้เป็นวัสดุในการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าสร้างตามความต้องการได้หลากหลาย เหมาะสำหรับการทำเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ กระเป๋า หน้าปัดนาฬิกา
Natural latex is transformed using methods like creaming and enhanced with fibers such as cotton, kapok, and banana fiber, resulting in a versatile material for various products like clock dials, bags, etc
วัสดุจากเศษซากของใบอ้อยที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวต้นอ้อย ประกอบไปด้วยเศษใบอ้อย 73% สารประกอบ 18% และโซดาไฟ 9% มีคุณสมบัติในการกักเก็บความชื้น และเมื่อนำวัสดุไปขึ้นรูปทรงจะมีความแข็งแรง มีเส้นใยที่ยึดติดกัน และสามารถนำไปขึ้นรูปเป็นกระดาษได้
Sugarcane leaf leftovers, often burned post-harvest, causing pollution, are now explored for their unique properties. Transformed into water-absorbent, fiber-bound products, these materials align with their inherent qualities, offering an eco-friendly alternative.
พลาสติกชีวภาพย่อยสลาย (Biodegradable plastic) จากเศษกระดูกก้างปลาและเศษกากถั่วแระญี่ปุ่นที่เหลือทิ้งจากการแปรรูปของวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนาและวิสาหกิจชุมชนอาหารจากพืชปลอดภัย จ.ปทุมธานี เมื่อย่อยสลายจะกลายเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และมวลชีวภาพ ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำมาใช้ได้หลากหลายทั้งด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อการบริโภค ถ้วย ชาม ช้อน กล่องอาหาร ย่อยสลายได้ ด้านการเกษตร ผลิตเป็นแผ่นฟิล์มสำหรับคลุมดิน ป้องกันการเติบโตของวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน ที่สามารถย่อยสลายได้เอง และด้านการแพทย์ โดยนำพลาสติกชีวภาพมาผลิตเป็นผิวหนังเทียม ไหมละลาย อุปกรณ์ประเภทสกรู และแผ่นดามกระดูกที่ฝังอยู่ในร่างกายที่สามารถย่อยสลายได้เอง
Emerging from Lam Luk Ka, Pathum Thani, the inventive use of discarded fish bones and leftover edamame husks has birthed biodegradable plastics. These community-driven materials are employed in eco-friendly consumer packaging and agriculture, acting as self-degrading soil-covering films that prevent weed growth while retaining moisture.
ผลิตภัณฑ์จากส่วนของเปลือกโกโก้ วัตถุดิบเหลือจากภายในชุมชน ประกอบไปด้วยเปลือกผลโกโก้ 60% ผ้า20% กาว 20% ผ่านการผลิตด้วยมือ เริ่มจากการต้มผลสดโกโก้ จนได้เส้นใยและทำการบด จากนั้นนำมาผสมกับตัวประสาน และขึงบนผ้ารอให้แห้งตามธรรชาติ หนังมีผิวสัมผัสเป็นเอกลักษณ์คล้ายหนังสัตว์ทั้งลวดลายและสีสันล้วนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีคุณสมบัติเหนียว ทนทาน และหลังจากการใช้งานสามารถย่อยสลายคืนกลับสู่ธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์ เหมาะสำหรับนำไปเป็นวัสดุทดแทนหนัง
The residues from the local cocoa production process are repurposed to create synthetic leather sheets made from cocoa husks. These sheets replicate the tactile feel of animal leather, complete with natural-like colors and patterns that occur organically. They are durable and can biodegrade fully back into nature.
เส้นใยดาหลาจากก้านดอกเหลือทิ้งจากกลุ่มเกษตรกรปลูกดาหลาจังหวัดนราธิวาส ด้วยความร่วมมือของนักวิจัยด้านการเกษตรและนักออกแบบ ร่วมกับ บริษัท ไทยนำโชคเท็กไทล์ จำกัด จึงได้นำเส้นใยก้านดอก 10 - 20 % มาตีเกลียวร่วมกับเส้นใยฝ้าย 80 - 90 % ด้วยระบบอุตสาหกรรมจากบริษัทไทยนำโชค อัตราส่วนเส้นใยดาหลาขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการนำไปใช้ ในกระบวนการสกัดสีใช้เฉพาะกลีบดอกดาหลาต้มเพื่อย้อมสีเส้นด้าย เส้นด้ายจากเส้นใยดาหลาสามารถทอเป็นผืนผ้าหรือหรือถักได้
In collaboration with researchers and designers, Thai Nam Chok Textile Co., Ltd has repurposed torch ginger flower stalk fibers with cotton. The resulting blend suits various applications like fabric weaving and knitting, and even undergoes a dyeing process using the flower for color.
สามารถสืบค้นข้อมูลวัสดุไทยเพิ่มเติมได้ที่ www.tcdcmaterial.com
For more information on Thai materials, visit www.tcdcmaterial.com
สื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
แนะนำสื่ออื่นๆ ที่น่าสนใจ
สื่ออื่นๆ ที่คุณเพิ่งดู