Archive

DigiPlay: Thai-UK Digital Festival นิทรรศการเล่นสนุกกับยุคดิจิทัล

Description

วันที่จัดแสดง : 25 มีนาคม – 22 พฤษภาคม 2554 สถานที่ : ห้องนิทรรศการ 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ Date: 25 March - 22 May 2011 Venue: Gallery 2, TCDC, The Emporium 6th Floor

Subject

game / digital / animation / creative / tcdcarchive

Details

Released 25 March 2011
File Format text/html
Print

DigiPlay: Thai-UK Digital Festival นิทรรศการเล่นสนุกกับยุคดิจิทัล

นิทรรศการสุดล้ำที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ บริติช เคาน์ซิล และการร่วมสนับสนุนจากนิตยสาร CG+ ที่จะพาผู้เข้าชมโลดแล่นไปกับสีสันของโลกแห่ง “เกม” และ “แอนิเมชัน” กับ 15 สุดยอดผลงานเกมคอมพิวเตอร์ของสตูดิโอและนักออกแบบชื่อดังจากสหราชอาณาจักร และนวัตกรรมแห่งความคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบเกมและแอนิเมชันสัญชาติไทยที่โด่งดังไกลในระดับสากล เพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญ “อุตสาหกรรมเกมและแอนิเมชัน” ในฐานะ “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์” ผ่านการนำเสนอทุกเรื่องราวในหลากมิติของ “นวัตกรรมดิจิทัล” ที่รวบรวมสารพันความรู้และพัฒนาการด้านเทคโนโลยีของเครื่องเล่นและเกมต่าง ๆ ตั้งแต่ยุคก่อนเครื่องเล่นวิดีโอเกม จนถึงยุคเกม คอมพิวเตอร์สุดไฮเทคยอดนิยมในปัจจุบัน ตลอดจน กระบวนการสร้างสรรค์ การคิดค้นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเพื่อนำมาใช้ในการตอบสนองประสบการณ์ความบันเทิงที่ไม่รู้จบ

The cutting-edge exhibition, created by Thailand Creative and Design Center (TCDC), British Council, and the CG+ magazine, presented the world of “Game” and “Animation” with the 15 of the best computer games by famous studios and designers from the UK and the creative innovation of the internationally renowned Thai game and animation designers. The exhibition was to create the awareness of “game and animation industry” as one of the “creative industries” presented through the various dimensions of “digital innovation” that brings together assorted knowledge and developments in the technology of various consoles and games since before the video game consoles until the era of today's popular high-tech computer games, and the creative process in inventing the cutting-edge technology to create the endless entertainment experience.

สู่...ยุคดิจิทัล

การเปลี่ยนผ่านจากยุคอนาล็อกไปสู่ "ดิจิทัล" ไม่เพียงทำให้วิถีชีวิตดำเนินไปด้วยอัตราที่เร็วขึ้น แต่ยังก่อให้เกิดสิ่งประดิษฐ์จากความคิดสร้างสรรค์ที่แทรกซึมเข้าไปสู่กระบวนผลิตและการบริโภคของโลก อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการสร้างความบันเทิงรูปแบบใหม่ที่พลิกโฉมการเล่นสนุกให้กลายเป็นแหล่งกำเนิดจินตนาการและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

การก่อกำเนิดของวิดีโอเกมและเทคนิคการทำภาพเคลื่อนไหวให้มีชีวิตนั้นได้เปิดโอกาสให้ศิลปะและการออกแบบมาบรรจบกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่พัฒนาไปตามกาลเวลาและเติบโตจนกลายเป็นอุตสาหกรรมดิจิทัลที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจดังที่เกิดขึ้นในสหราชอาณาจักรและไทย

นิทรรศการ DigiPlay: เล่นสนุกยุคดิจิทัล แสดงถึงวิวัฒนาการของวิดีโอเกมตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งการนำเสนอผลงานของเหล่านักสร้างสรรค์และศิลปินจากสหราชอาณาจักรและไทยที่ผสมผสานความ คิดสร้างสรรค์เข้ากับเทคโนโลยีได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดจน กลายเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้แต่มีมูลค่ามหาศาล

Entering the Digital Age

The transition from the analog to the digital age has not only accelerated the pace of life, but it has also given rise to a whole new range of creative ideas that have revolutionised how and what the world produces and consumes. This revolution has transformed the notion of fun into imaginative realms that represent one of the most profitable industries of the future.

The birth of video games and animation techniques has occasioned a new marriage of art and design with cutting-edge technology that grows more sophisticated every day. Today's digital industries are proving to be a powerful engine for economic growth, in countries as diverse as the UK and Thailand.

DigiPlay: Thai-UK Digital Festival showcases the evolution of the video games industry from its origins to the present day. The exhibition shines a light on some of the leading artists and creators from both Britain and Thailand whose work successfully blends imagination and technology to produce intangible property that is nonetheless worth large sums of money.

อุตสาหกรรมแห่งความสนุก

อุตสาหกรรมวิดีโอเกมเกิดขึ้นอย่างเต็มตัวในช่วงกว่า 30 ปี ที่ผ่านมา โดยมีอัตรการเติบโตที่รวดเร็วตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนเด็กและหนุ่มสาวที่เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตและความบันเทิงมาสู่การใช้สายตาร่วมกับปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างสมองและสองมือ จนในปัจจุบันตลาดวิดีโอเกมไม่เพียงมีมูลค่าสูงเกือบแสนล้านเหรียญฯ แต่ยังเป็นตลาดจ้างงานที่สำคัญของนักสร้างสรรค์ทั่วโลกที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ตั้งแต่การรับจ้างอิสระและการเป็นเจ้าของกิจการที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้การแข่งขันในอุคสาหกรรมนี้ดำเนินไปอย่างเข้มข้น โดยมีเพียงผู้ที่ยืนหยัดได้ยาวนานที่สุดเท่านั้นที่จะก้าวมาเป็นผู้นำในระดับแนวหน้าได้

The Business of Fun

The video game industry can trace its origins back to some 30 years. In its brief history, it has experienced tremendous growth as more and more children and adolescents have found enjoyment in testing their hands and eyes coordination in front of a TV or computer screen. Today, the video game market is valued at almost $100 billion. It employs large numbers or creative individuals from all over the world, ranging from freelance designers to owners of businesses both big and small. As a result, competition in the industry has grown increasingly fierce, and only the most determined have managed to hang on to their place in the forefront of the industry for any length of time.

“มีคน แค่ 1 0 กลุ่มบนโลก คนที่เข้าใจระบบเลขฐานสอง และคนที่ไม่เข้าใจ”

นิรนาม

“There are 1 0 types of people in the world: those who understand binary and those who don’t.”

Anonymous

รหัส 01 เปลี่ยนโลก

ในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์รุ่นแรกนั้น ต้องใช้ส่วนประกอบจำนวนมากเพื่อแทนค่าจำนวนตัวเลขหนึ่งตัว ในการสร้าง จัดเก็บ และประมวลผลข้อมูล แต่ภายหลังการค้นพบวิธีนำตัวเลขและค่าต่างๆ มาเข้ารหัสเป็นเลขฐานสองที่มีแต่ตัวเลข 0 และ 1 ก็ทำให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลดลง จากการอ่านข้อมูลและตัวเลขจำนวนมากมาสู่การอ่านรหัสเลข 0 และ 1 ที่เรียงต่อกันในลำดับที่ต่างกันตามที่โปรแกรมเมอร์กำหนด ก่อนจะส่งผลมาในรูปของตัวอักษร ภาพ และเสียง ซึ่งความต่อเนื่องในการอ่านและส่งผลนี้ถูกเรียกว่า ระบบดิจิทัล ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสื่อสารสมัยใหม่ อย่างเช่นดาวเทียมและใยแก้วนำแสง

The binary revolution

The earliest computers and electronic devices required a large number of components to create, store and retrieve a single unit of data, but once scientists and engineers developed a way to convert numbers and text to binary code, it reduced the work of computers to reading just two digits -0 and 1 - which, arranged in various strings assigned by the programmer, could represent different symbols, letters, pictures and sounds. Data technology that uses this binary code is what we call a digital system and it forms the basis of our modern-day communications systems, like satellites and fiber optic cable.

ย้อนรอยวิวัฒนาการความสนุก

ก่อนจะมีเครื่องเล่นวิดีโอเกมที่ทำงานด้วยระบบปฏิบัติการล้ำยุคและเกมหลายแนวสารพัดรูปแบบแทบไม่จำกัดมาให้เลือกเล่นเช่นปัจจุบัน จุดกำเนิดของการสร้างความบันเทิงด้วยกลไกดิจิทัลที่ซับซ้อนนี้กลับเรียบง่าย เพียงแค่พัฒนาเทคโนโลยีมาเล่น "อะไร" และ "อย่างไร" ให้สนุกที่สุดเท่านั้น

จากตู้เกมหยอดเหรียญแบบอาร์เคดเครื่องใหญ่ในทศวรรษ 1970 จนถึงอุปกรณ์เกมขนาดเล็กที่เล่นได้โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องบังคับ นักสร้างสรรค์ในอุตสาหกรรมดิจิทัลระดับโลกได้ก้าวข้ามข้อจำกัดในแต่ละช่วงเวลา ด้วยการคิดค้นเกมที่แปลกใหม่กว่าและน่าตื่นใจกว่ายุคก่อนหน้าได้อยู่เสมอ

Tracing the history of fun

Today's game enthusiasts have an almost unlimited choice of video games that run on the latest high-tech operating systems. But things did not always used to be this way.

From the coin-operated arcade games that were popular back in the 1970s to the little hand-held games that do not require a separate control switch, each generation of game creators has pushed the boundaries of the world's digital entertainment industry with exciting new games that leave their predecessors in the dust.

ยินดีต้อนรับสู่ดิจิทัล ยูเค

สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในประเทศที่มีนักพัฒนาเกมชั้นนำอยู่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยมีประวัติย้อนไปได้หลายทศวรรษ ปัจจุบันมีนักพัฒนาเกมมืออาชีพกว่าแปดพันคนทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมวิดีโอเกมของสหราชอาณาจักร และมีนักศึกษาจบใหม่จำนวนเกือบสองพันคนเข้ามาในอุตสาหกรรม ทุก ๆ ปีพวกเขาจบหลักสูตรระดับปริญญาตรีและปริญญาโทด้านการพัฒนาเกมโดยเฉพาะ ซึ่งสอนวิชาการเขียนโปรแกรมคณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ การออกแบบเกมศิลปะดิจิทัลและแอนิเมชัน

จุดเริ่มต้นของกลุ่มนักสร้างสรรค์นี้ย้อนไปได้หลายสิบปีก่อน เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์คอมมอดอร์ 64 และแซดเอ็กซ์สเป็คทรัมเป็นที่นิยมแพร่หลายในช่วงต้นทศววรษ 1980 โดยทำให้วัยรุ่นจำนวนมากหันมาเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ วัยรุ่นเหล่านั้นได้เติบโตขึ้นพร้อมกับการคิดค้นเกมต่าง ๆ และสามารถนำทักษะไปตั้งสตูดิโอและบริษัทผลิตเกมที่ประสบความสำเร็จจำนวนนับไม่ถ้วน โดยหลายบริษัทยังคงดำเนินการอยู่จนถึงทุกวันนี้ ในขณะที่อีกหลายแห่งถูกควบรวมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจในยุคใหม่

Welcome to the Digital UK

The UK game development sector is one of the largest concentrations of game development talent in the world, with a history going back for decades. More than eight thousand professionals are employed full time in the development of videogames in the UK, and are now joined each year by nearly two thousand graduates from games specific degree and master's degree courses that teach programming, maths, computer science, game design, digital arts and animation.

This body of talent reaches back for decades, with the widespread adoption of the Commodore 64 and Zx Spectrum in the early 1980s leading to a great many young people in the UK learning programming languages. These people grew up making games, and went on to found countless successful studios and game publishers, many of which are still in operation or have been acquired by modern businesses.

ยูเรก้า!

วันวางจำหน่าย: 31 ตุลาคม 1984

ผู้ผลิต: โดมาร์ค

เครื่องเล่น: คอมมอดอร์ 64 และ แซดเอ็กส์ สเป็คทรัม

ยูเรก้า! เป็นหนึ่งในวิดีโอเกมแรกๆ ของเอียน ลิฟวิ่งสโตน ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อเล่นกับเครื่องเล่นคอมโมเดอร์ 64 และแซดเอ็กส์ สเป็คทรัม โดยบริษัทโดมาร์คในปี 1984 เกมนี้เป็นเกมผจญภัยไปยังยุคต่างๆ เพื่อตามหาชิ้นส่วนที่หายไปของวัตถุลึกลับที่ถูกค้นพบบนดวงจันทร์ เช่น ยุโรปยุคก่อนประวัติศาสตร์ อิตาลีสมัยโรมันปกครอง อังกฤษยุคกลาง เยอรมนีช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และแคริบเบียนในทศวรรษ 1980

การนำนิยายเชิงโต้ตอบมาเล่นกับเครื่องคอมพิวเตอร์เท่ากับเป็นการนำนิยายแนวดังกล่าว เช่น ไฟท์ติ้งแฟนตาซีและเกมกระดานตั้งโต๊ะ ที่เอียน ลิฟวิ่งสโตน เคยคิดค้นขึ้นมาเล่นบนสื่อใหม่นั่นเอง โดยเป็นเกมแรกที่โดมาร์คผลิตขึ้น และบริษัทได้เสนอเงินรางวัลจำนวน 25,000 ปอนด์ แก่คนแรกที่เล่นเกมจบก่อนวันที่ 31 ธันวาคม ปี 1985 ซึ่งสมัยนั้น เงินจำนวนนี้สามารถซื้อบ้านเล็กๆ ได้หนึ่งหลัง โดยผู้ชนะคือเด็กชายอายุ 15 ปี ชื่อแมธธิว วูดลีย์

Eureka!

Date: October 31st 1984

Developer: Domark

Platform: Commodore 64 and ZX Spectrum

Eureka! Was one of Ian Livingstone’s first video game projects, developed for the ZXSpectrum and Commodore 64 computers and released by Domark in 1984. The game is an interactive adventure in which the player has to search different time periods for the missing pieces of a strange artifact that was found on the moon. In the game, the player visits prehistoric Europe, Roman Italy, medieval Britain, Germany during the second World War, and the Caribbean during the 1980s.

As interactive fiction that could run on a computer, a game of this type was a natural move into video games from the Fighting Fantasy books and tabletop games that Ian Livingstone had worked on before. It was the first game that Domark produced, and the company offered a ?25,000 prize to the first player able to solve the entire game before December the 31st, 1985. At the time in the UK, this was about the price of a small house, and the prize was won by 15 year old Matthew Woodley.

แอนิเมชันฉบับสหราชอาณาจักร

จากภาพยนตร์เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่ทรงพลังในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และยุคหลังสงคราม ส่งผลให้เกิดการทดลองผลิตภาพเคลื่อนไหวหลากรูปแบบจนเข้าสู่ยุคโทรทัศน์เฟื่องฟูตั้งแต่ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา สหราชอาณาจักรได้ขึ้นแท่นผู้นำการผลิตแอนิเมชันของโลกผ่านอุตสาหกรรมภาพยนตร์และเพลงดังยุคซิกส์ตี้ กว่าความสำเร็จที่แท้จริงนั้นเริ่มเมื่อทศวรรษ 1980 ด้วยการสนับสนุนอย่างจริงจังของโทรทัศน์สหราชอาณาจักร เช่น แชนแนล 4 และบริติช บรอดคาสติง คอร์ปอเรชั่น (บีบีชี) เกิดเป็นการพัฒนาผลงานดิจิทัล แอนิเมชันและคอมพิวเตอร์กราฟิก ที่โดดเด่นทั้งด้านเทคนิค ภาพ และเนื้อหา จากสตูติโอต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบของโฆษณา โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และดนตรี กลายเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมวิดีโอเกมของสหราชอาณาจักรตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา

Animation in the United Kingdom

After the success of propaganda films during the World War II and post-war years, there were various experiments on the production of motion pictures. Since the television era in the 1950s, the UK has become the world's leader in animation with a bunch of its renowned sixties music and movies. However, it was not until in the 1980s that the real boom began. With strong support from British TV stations, such as Channel 4 and British Broadcasting Corporation [ BBC], the art of digital picture, animation and computer graphics was highly developed. Many studios rolled out splendid works with great content, picture and production techniques in forms of advertisements, television programs, films and music. The development laid the foundations for the beginning of the UK's video game industry in the 1990s.

อีกมุมของแอนิเมชั่น

แอนิมอล ฟาร์ม (1954) ของสตูดิโอ ฮาลาส แอนด์ แบชเลอร์ สร้างมุมมองใหม่ให้งานแอนิเมชั่น ด้วยเนื้อหาหนักหน่วงวิพากษ์สังคมผ่านการประท้วงของสัตว์ในฟาร์ม ซึ่งดัดแปลงมาจากเรื่องสั้นของจอร์จ ออร์เวล และได้รับการยอมรับว่าเป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นขนาดยาวเรื่องแรกจากสหราชอาณาจักรที่ได้ฉายทั่วโลกในปี 1955 ก่อนที่ 35 ปีต่อมา ครีเจอร์ คอมฟอร์ท (1989) ของอาร์ตแมน แอนิเมชั่น ได้เปิดมิติใหม่ให้ภาพยนตร์แอนิเมชั่นขนาดสั้นด้วยการตีความและการเล่าเรื่องแบบพลิกมุมมอง โดยนำบทสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อสวนสัตว์และสภาพชีวิตในชุมชนของผู้คนจากทั่วประเทศมาดัดแปลงเป็นเรื่องราวชีวิตสัวต์ป่าที่อาศัยในสวนสัตว์ จนได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นขนาดสั้นยอดเยี่ยมประจำปี 1990

Animations that break the mould

Animal Farm (1954), an animated film by Halas and Batchelor Studio, broke new ground in animation with its serious, social-criticizing content. Adapted from George Orwell’s novella about the protest organized by farm animals, it became the first British animated feature released worldwide in 1955. Thirty-five years later, Aardman Animations’ Creature Comforts turned a new page for the short animation industry with its innovative team interviewed British people all around the country about their living conditions and opinions on the zoo, and then turned the interviews into stories of zoo animals. The film was awarded an Academy Award for Best Animated Short Film in 1990.

โดดเด่นด้วยตัวละคร

หลังจากที่ในปี 1968 ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเยลโลว์ ซับมารีน ได้เปลี่ยนสมาชิกวงสี่เต่าทองอย่าง เดอะบีทเทิลส์ ให้กลายเป็นการ์ตูนสีสันสวยงามสะท้อนกลิ่นอายวัฒนธรรมป๊อปยุคซิกส์ตี้ในปี 1998 อุตสาหกรรมแอนิเมชั่น ก็ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวงการเพลงของสหราชอาณาจักรอีกครั้งด้วย กอริลล่าซ์ วงร็อกโลกเสมือนซึ่งเป็นผลงานการสร้างสรรค์ของเดมอน อัลบาร์น อดีตสมาชิกวงเบลอร์ และเจมี ฮิวเลท นักวาดการ์ตูนชาว อังกฤษร่วมกับพีท คันเดอร์แลนด์ จากแพสชั่น พิกเจอร์ ที่มากำกับดูแลในส่วนแอนิเมชั่น นอกจากนี้ ยังมี มิวสิกวิดีโอของศิลปินและวงดนตรีชั้นนำอื่นๆ ที่เลือกถ่ายทอดบทเพลงในรูปแบบแอนิเมชั่นเช่นกัน อาทิ มิวสิกวิดีโอ ดอนท์ แพนิค (1998) ของโคลเพลย์ที่นำเสนอภาพวงจรของน้ำผสมผสานกับภาพสมาชิกในวง หรือ เล็ท เลิฟ บั ยัวร์ เอเนอจี ของร็อบบี้ วิลเลียมส์ (2001) ที่แปลงตัวนักร้องให้เป็นตัวการ์ตูน

Outstanding Characters

After Yellow Submarine (1968) where the four members of the Beatles are cartoonised and presented in a colourful ‘sixties pop culture, the animation world was rocked again by a virtual rock band, Gorillaz (1998 - present). This musical project was co-created by Damon Albarn, a former member of Blur, and a cartoonist, Jamie Hewlett, with Pete Canderland from Passion Pictures as the animation director. Apart from Gorillaz, many well-known artists also chose to liven up their music videos with animation. For example, Coldplay’s “Don’t Panic” (1998) which starts off with an animated diagram of water cycle and portrays the band as paper cutouts or Robbie Williams’ “Let Love Be Your Energy” (2001) where Robbie himself is cartoonised.

สู่อุตสาหกรรมดิจิทัลไทย

เมื่อบริษัทต่างชาติเริ่มว่าจ้างและลงทุนธุรกิจด้านแอนิเมชันในประเทศไทย เปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมวิดีโอเกมและแอนิเมชันในประเทศพัฒนาและกระจายตัวสู่วงกว้างปัจจุบันมีสตูดิโอสัญชาติไทยจำนวนไม่น้อยที่ผลิตและป้อนผลงานเข้าสู่อุตสาหกรรมดิจิทัลระดับโลก ตั้งแต่การวาดภาพประกอบ ลงสี และทำภาพเคลื่อนไหว ไปจนถึงการคิดค้นผลงานดิจิทัลแบบครบวงจร โดยในปี 2553 อุตสาหกรรมวิดีโอเกมและแอนิเมชันของไทยเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วตามการขยายตัวของตลาดดิจิทัลโลกที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่ารวมกว่า 22,000 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2551 ที่มีมูลค่า 17,000 ล้านบาท

Thailand's budding Digital Industry

Foreign investment in Thailand has given rise to a budding video game and animation industry. Today the country is home to numerous Thai-owned studios doing everything from designing graphics and animation to producing their own original materials for the global digital industry. In 2010, Thailand's video game and animation industry was valued at 22 billion baht, an increase of roughly 5 billion baht over 2008. This growth is a reflection of the rapidly expanding and always evolving digital industry worldwide.


Related To This Item

สื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


You May Also Like

แนะนำสื่ออื่นๆ ที่น่าสนใจ


Your Recent Views

สื่ออื่นๆ ที่คุณเพิ่งดู