Archive

Modern Thai Architecture 1967-1987 อยากทันสมัย สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของไทย พ.ศ. 2510 — 2530

Description

วันที่จัดแสดง : 12 มิถุนายน — 14 กันยายน 2551 สถานที่ : ห้องนิทรรศการ 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ Date : 12 June - 14 September 2008 Venue : Gallery 2, TCDC, The Emporium, 6th Floor

Subject

Thai Architecture / Modern Architecture / Thailand / design / tcdcarchive

Details

Released 12 June 2008
File Format text/html
Print

Modern Thai Architecture 1967-1987 อยากทันสมัย สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของไทย พ.ศ. 2510 — 2530

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC ร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชวนย้อนเวลาสู่ยุคแห่งการผลัดเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางสถาปัตยกรรมของกรุงเทพมหานครในนิทรรศการ อยากทันสมัย สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของไทย พ.ศ. 2510 – 2530 Modern Thai Architecture เพื่อร่วมชมอดีต เมื่อครั้งอาคารสำนักงาน ธนาคาร และโรงแรมรูปทรงทันสมัยตามแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นตะวันตก ได้โผล่ขึ้นท่ามกลางห้องแถวและทุ่งโล่ง พร้อมด้วยการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนไทย ตลอดจนวิสัยทัศน์ของนายทุน ผู้เล็งเห็นผลจากการก่อสร้างตึกระฟ้าเพื่อสร้างภาพลักษณ์ทางธุรกิจ

Thailand Creative & Design Center (TCDC) and the Association of Siamese Architects under Royal Patronage (ASA) takes everyone back to the time of rapid change in Bangkok’s architectural landscape through “Keeping up: Modern Thai Architecture 1967-1987”. The exhibition shows the urge of office buildings, banks, and newly designed hotels influenced by Western modernist principles rising up among shop houses and abandoned fields of the city. Along with this growth of the industrial sector, Bangkok city’s lifestyles and investors' views had been pushed to adjust to these skyscrapers symbolizing the business vision of the new generation.

อยากทันสมัย สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของไทย พ.ศ. 2510 - 2530

(MODERN THAI ARCHITECTURE 1967 - 1987)

40 ปีที่แล้วถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของสถาปัตยกรรมไทย การกลับมาของสถาปนิกนักเรียนนอกวิถีชีวิตตามสังคมสมัยใหม่ และความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี เป็นสามปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถาปัตยกรรมโมเดิร์นเข้ามาครอบงำแนวทางหลักในงานสถาปัตยกรรมไทย

เพราะความอยากทันโลกของเหล่าสถาปนิกหัวก้าวหน้า อาคารคอนกรีตแฝงสุนทรียศาสตร์ตามแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์น ที่กำเนิดขึ้นกลางทุ่งหญ้าจึงต้องถูกประยุกต์ให้เข้ากับสภาพอากาศเขตร้อนและวัสดุพื้นถิ่นที่อำนวย

ถนนใหม่หลายสายตัดผ่านพื้นที่รกร้างส่งผลให้เมืองขยายตัวออกพร้อมการเพิ่มของจำนวนประชากรอาคารสำนักงาน โรงแรมและศูนย์การค้าผุดขึ้นบนพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ปรับวิถีชีวิตของคนที่อาศัยให้ต้องวิ่งตามกิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจที่กำลังหมุนเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีในการก่อสร้างเปลี่ยนเรือนแถวเชิงพาณิชย์ให้เป็นตึกสูงเสียดฟ้า เพื่อตอบโจทย์เจ้าสัวใหม่ที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ที่ล้ำสมัยให้กับธุรกิจ

ช่วงเริ่มต้นของสังคมอุตสาหกรรมแบบไทย ๆ สืบเนื่องมาจากการปรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2504) ภายใต้รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ส่งอิทธิพลให้กับสถาปัตยกรรมในช่วงสองทศวรรษนี้ได้มากกว่าที่คุณคิด

Thai architecture began its dialogue with the modernist idiom in the late 1960s, catalyzed by three main forces: the advent of modernizing urban lifestyles, new construction technologies, and the return of overseas-educated Thai architects influenced by Western modernist principles.

The urge of these young Thai architects to keep up with a changing world resulted in concrete buildings with modernist aesthetics rising-up incongruously amidst the open vegetation of the city. The architecture of the period became an experiment in adapting modernist principles to tropical climate and local materials.

As new roads cut through Bangkok's rural outskirts, the city grew, along with its population. Office buildings, hotels and shopping centers sprouted in newly designated commercial zones, pushing local residents to adjust their lifestyles to new social and economic pressures.

Advances in civil engineering changed the city landscape from shop-houses into corporate high-rises, symbolizing the business vision of a new generation of Thai-Chinese tycoons.

Modern Thai architecture between 1967 - 87 reflects the issues of a newly industrializing nation, struggling to keep up with globalizing forces in its own way. In this sense, the architectural history of the two decades was a direct legacy of Field Marshal Sarit Thanarat's National Economic Development Plan after World War II.

เมื่อบางกอกอยากโมเดิร์น

การกลับมาของสถาปนิกนักเรียนนอกเบิกทางให้รูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเข้ามายึดพื้นที่อาคารใหม่ ๆ

WHEN BANGKOK WANTED TO BE 'MODERN'

Overseas-educated Thai architects bring modernist principles to the city's new buildings

หลังปี พ.ศ. 2510 ขณะที่ประเทศยังเพิ่งเรียนรู้คำว่า "อุตสาหกรรม" สถาปนิกผู้จบการศึกษาจากต่างประเทศรับรูปแบบ "สถาปัตยกรรมโมเดิร์น" ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการปฏิวัติรูปแบบสังคมและเศษฐกิจด้วยระบบอุตสาหกรรมในโลกตะวันตก เข้ามาพยายามประยุกต์ใช้กับเทคนิคการก่อสร้างและวัสดุท้องถิ่นที่มีอยู่อย่างจำกัด

อาคารรูปทรงเรขาคณิตและเทนิคการหล่อคอนกรีดที่กลายเป็นแฟชั่นใหม่แทนการก่ออิฐถือปูนแบบเดิมๆ มาพร้อมกับการจัดวางผังอาคารโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเพื่อประหยัดการใช้พลังงาน และการออกแบบแผงกันแดดให้ตอบรับทิศทางแสงเพื่อนำเสนอทางออกใหม่แทนการใช้ชายคา พื้นผิวเปลือย แสดงเนื้อแท้ของวัสดุเปลี่ยนภาพลักษณ์อาคารให้ดูทันสมัยและเทคโนโลยีคอนกรีตเสริมเหล็กอำนวยความสะดวกในการออกแบบพื้นที่ใช้สอย สถาปัตยกรรมไทยในยุคสมัยนี้สะท้อนความพยายามในการทดลองหาความเป็นไปได้ระหว่างความซาบซึ้งในสถาปัตยกรรมโมเดิร์น ตลอดจนรสนิยมและมุมมองความงามที่เปลี่ยนไปของเหล่าสถาปนิกกับสภาพพื้นที่เขตร้อนของไทย

In the late 1960s, as Thailand grappled with early industrialization, Thai architects returned from Western universities armed with concepts of modern architecture rooted in a post-industrialized Europe. Implementing the ideas was challenging, as the Thai context often lacked the necessary materials and technologies.

New geometrical structures and a fashionable preference for concrete replaced traditional bricks and mortar construction. At the same time, new concerns for climate and energy-saving focused on the design of shading fins, as an alternative to traditional eaves. Unfinished surfaces expressed modernist architectural concerns for material integrity, while reinforced concrete gave greater flexibility to spatial planning.

Thai architecture of the period sought to balance the predominant taste for Western-style modern architecture, against the tropical constraints of the Thai

คอร์บูเซียนริมถนนลาดพร้าว

ตึก 9 โรงเรียนปานะพันธุ์วิทยา (2513)

องอาจ สาตรพันธุ์

จะเป็นอย่างไรหากอาคารคอนกรีตเปลือยอิงหลักห้าประการและสามข้อพึงคิดสำหรับสถาปนิกของกูรูแห่งสถาปัตยกรรมโมเดิร์น เลอ คอร์บูซิเอร์ ปรากฏขึ้นในบริเวณโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งละแวกลาดพร้าวซึ่งเดิมเป็นทุ่งนา

เพื่อตอบโจทย์ความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงอาคารกับสภาพที่ตั้ง บนพื้นที่สามเหลี่ยมค่อนไปทางแคบริมถนนลาดพร้าว องอาจ สาตรพันธุ์ ออกแบบอาคารกลมไม่มีด้านหน้าหลังที่ชัดเจน ภายในจัดสรรเนื้อที่ใช้สอยเป็นสี่เหลี่ยมภายในถูกออกแบบเป็นครีบยื่นลอยจากเสาเพื่อทำหน้าที่เป็นแผงกันแดดและฝนสร้างแสงเงาที่ต่างในแต่ละช่วงเวลา ส่วนพื้นผิวของ ตัวอาคารนั้นแสดงความงามตามเนื้อแท้ของผิววัสดุคอนกรีตเปลือยและอิฐ

ความแปลกของรูปลักษณ์อาคารที่ได้ศึกษาหลักการอย่างจริงจังตามปรมาจารย์ชาวตะวันตก ‘ตึก 9 โรงเรียนปานะพันธุ์วิทยา’ จึงเป็นที่ดึงดูดสายตาของผู้ที่ผ่านไปมาและสร้างภาพใหม่ของโรงเรียนไทยที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน

A Corbusian on Ladprao Road

Building 9, Panabhandhu School (1970)

Ongard Satrabhandhu

What happened when an exposed-concrete building based on Le Corbusier's "five points of a new architecture" and "three reminders to architects" took shape as a private school in Ladprao - an area which used to be rice paddies?

To overcome the constraints of a small, narrow, triangular patch of land on Ladprao Road, Ongard Satrabhandhu designed a circular building, with no clear front or back. Functional areas inside were based on rectangular spaces, suitable for classrooms. Fins were designed for the overlap between the circular and rectangular grids, providing shelter from sun and rain, while creating a play of light and shadow which changed throughout the day. Outside, the building surface displayed the material beauty of exposed concrete and brick.

Based on a close study of Le Corbusier's principles and works, Building 9 of Panabhandhu School was Ongard's tribute to the modernist master. The building became something of a district icon, and gave a modern twist to the stodgy image of Thai schools.

กล่องลูกฟูกในชุมชนแออัด

ที่ทำการสมาคมนิสิตเก่าจุฬา ฯ (2511)

เจน สกลธนารักษ์

ในปีที่ 50 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยมพื้นผิวลูกฟูกปรากฎขึ้นบนพื้นที่ครึ่งไร่ริมถนนพญาไทซึ่งล้อมรอบไปด้วยแหล่งชุมชนแออัด เพื่อใช้เป็นจุดศูนย์รวมสำหรับสมาชิกกลุ่มใหม่ของสังคมที่เรียกตัวเองว่า "ปัญญาชน"

เจน สกลธนารักษ์ ออกแบบ "ที่ทำการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ" เป็นผนังปิดทึบเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวจากรอบนอก แต่ยังคงสามารถรับแสงสว่างและระบายอากาศได้โดยอาศัยการจัดวางระนาบตื้นลึกของผนัง เทคโนโลยีการหล่อคอนกรีตโชว์ผิวลอนลูกฟูกถูกนำมาใช้เพิ่มความน่าสนใจของแสงเงาบนพื้นผิวตัวอาคาร รูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมเล่นระดับซับซ้อนช่วยแบ่งพื้นที่ตามประโยชน์ใช้สอย ทั้งนี้เพื่อใช้เป็น ห้องจัดเลี้ยง หอพัก ห้องกีฬาในร่มห้องประชุม และห้องสมุด

A Corduroy Box by the Slums

Chulalongkorn University Alumni Association

Building (1968)

Jane Sakolthanaraksa

On its 50th anniversary in 1968, Chulalongkorn University unveiled what looked like a corduroy box building, on an 800 square meter plot of land, surrounded by slum dwellings on Phayathai Road. In contrast to its setting, the building was designed for the university's alumni association, as a gathering spot for the nation's new educational elite.

Jane Sakolthanaraksa designed the Chulalongkorn University Alumni Association Building with large wall planes to maintain privacy. Natural light and ventilation was achieved by means of varying layers of wall inset. Corduroy-textured exposed concrete made for an interesting interplay of light and shade on the building's surface.

Within, the multi-level box provided well-allocated interior spaces for a dormitory, conference room, library and an indoor sports facility. Inside and out, the building was an anomaly, when viewed in terms of the wider social and intellectual context of the city at the time.

ร่มต้นใหญ่ เหนือพระนคร

สถานีรถไฟสามเสน (2513)

อภัย ผะเดิมชิต

ในปี พ.ศ. 2513 เมื่อขบวนรถไฟขึ้นเหนือหยุดพักยังสถานีรถไฟสามเสนใหม่ เหล่าผู้โดยสารต้องประหลาดใจที่ศาลาไม้เดิมบริเวณชานชาลาหายไปกลายเป็นร่มคันใหญ่สีขาวแทนเต็มไปหมด

เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์การรถไฟไทยที่ศาลาไม้เล่นคู่สีน้ำตาลเหลืองตามแบบมาตรฐานที่ใช้กันมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เปลี่ยนโฉมเป็นโครงสร้างเทคโนโลยีคอนกรีตเสริมเหล็กสีขาวใหม่เอี่ยมแสดงความก้าวหน้าทางวิศวกรรม ผลจากการปรับแบบล่าสุดโดย อภัย ผะเดิมชิต เพื่อเพิ่มพื้นที่โล่งรองรับจำนวนผู้โดยสารที่พักอาศัยและประกอบธุรกิจทางเหนือของพระนครที่ยิ่งเพิ่มขึ้น

แม้จะเสนอโครงสร้างที่จดจำนวนเสาและออกแบบหลังคาให้ยื่นยาวสูงคลุมขบวนรถไฟขณะเทียบจอดเพื่อป้องกันแดดและฝนให้ผู้โดยสาร แต่เมื่อถึงคราวใช้งานจริงกลับพบปัญหาเรื่องระบายน้ำและเขม่าดำจากควันรถไฟที่จับบริเวณท้องหลังคาจนกลายเป็นสีเทา

Concrete Umbrellas in Old Bangkok

Samsen Railway Station (1970)

Abhai Phadoemchit

When northbound trains stopped at the new Samsen Station in 1970, passengers were awed to see the familiar State Railways of Thailand platform and wooden pavilion replaced by a series of huge white concrete umbrellas.

It was the first time since World War II that station architecture had been changed. The stunning sweep of shell structure on mushroom columns showcased advanced engineering techniques used by Abhai Phadoemchit. Abhai's design opened up platform spaces, to help the station accommodate the growing number of passengers living and working north of the old district.

Although the innovative roof extended over train carriages and protected passengers from sun and rain, it was marred by drainage problems, and train soot which soon turned the white canopy grey.

หล่อนอกที่ บนราชวิถี

โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ (2514)

สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา

หากใครผ่านไปมาบนถนนราชวิถีช่วงระหว่างการก่อสร้าง "โรงเรีนสอนคนตาบอดกรุงเทพ" คงนึกสงสัย เมื่อเห็นกองขึ้นส่วนคอนกรีตรูปทรงต่าง ๆ ที่วางแยกส่วนประกอบกันขึ้นเป็นตัวอาคารในระยะเวลาอันสั้น

ในขณะที่ค่าจ้างแรงงานยังแสนถูก สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา นำเอาระบบก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปและเทคโนโลยีการผลิตเชิงอุตสาหกรรม คือ การหล่อนอกที่ หรือการหล่อชิ้นโครงสร้างจากโรงงานมาใช้ โดยไม่ลืมคำนวณน้ำหนักให้แต่ละขึ้นพอเหมาะกับสองคนยก โครงสร้างแต่ละส่วนแสดงสีที่ต่างกันทั้ง เสา คาน พื้น ไปจนถึงท่อน้ำ

แม้เทคนิคการหล่อนอกที่ยังถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีราคาสูงอยู่ในขณะนั้น เนื่องจากความต้องการของตลาดยังมีน้อยมาก แต่ก็นับว่าเป็นอาคารรุ่นแรก ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบนี้ ส่วนระบบการก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปนั้นเป็นระบบเดียวกับการสร้างเรือนไทยจะต่างกันก็แค่เป็นระบบช่างกับโรงงานเท่านั้น

High-Cost Prefab for the Blind

Bangkok School for the Blind (1971)

Sumet Jumsai Na Ayudhya

Passersby during the construction of the Bangkok School for the Blind on Rajvithi Road were puzzled by the huge piles of prefab concrete sections cluttering the site. But they were equally surprised by how quickly the pieces were assembled into full-fledged structures.

Because of Thailand's cheap labor cost, the industrial prefab system was comparatively expensive to implement. Nonetheless, Sumet Jumsai Na Ayudhya decided to use it in this school project, ordering precast sections from local factories. He designed structural pieces light enough to be carried by two workers, and gave each column, beam, floor, or drain a different color code.

Due to low market demand, the industrial prefab system remained expensive and under-utilized during the era. Ironically, traditional Thai house-building techniques had always been based on a prefab system, though relying on wood craftsmen rather than factory production.

ชาวกรุงสมัยใหม่ (TAKING UP THE 'MODERN' LIFESTYLE)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติขับเคลื่อนให้เกิดประเภทอาคารที่ไล่ตามวิถีชีวิตแบบใหม่ ๆ

ชาวกรุงสมัยใหม่

แผนพัฒนาเศรษฐกิจชาติขับเคลื่อนให้เกิดประเภทอาคารที่ใส่ตามวิถีชีวิตแบบใหม่ ๆ

สภาพการเงินที่ย่ำแย่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2488 -2492) ผลักดันให้รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ปรับแผนเศรษฐกิจให้ทันกระแสโลกสถาปัตยกรรมที่เกิดในช่วงนี้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับกิจกรรมทางสังคมและประโยชน์ใช้สอยทางสังคมและเศรษฐกิจภายใต้ระบบทุนนิยม จากนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ บำรุงความสะอาด" สู่หลักสูตรเร่งรัดเพื่อเปิดรับการลงทุนของเอกชนและต่างชาติทำให้ประเทศต้องตื่นตัวในทางการพัฒนาตั้งแต่ ระบบการศึกษาจนถึงสาธารณูปโภคอันส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนแนวคิด วิถีชีวิต และการบริโภคของชนชั้นนำของสังคม

การเข้าทำงานบริษัทเอกชนมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ารับราชการในกระทรวง โรงภาพยนตร์และศูนย์การค้ากลายเป็นแหล่งพักผ่อนสุดสัปดาห์แทนลานวัด ในขณะที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการอย่าง โรงแรม ร้านอาหาร และสถานเริงรมย์เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด

"ในการบริหารประเทศในครั้งนี้ รัฐบาลว่าจำเป็นที่จะต้องแก้ไขและปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศเป็นเรื่องใหญ่และเป็นอันดับที่หนึ่ง ทั้งนี้เพื่อให้มีรายได้ที่แท้จริงสูงขึ้นซึ่งจะทำให้ระดับการครองชีพของประชนสูงขึ้นด้วย ฉะนั้นรัฐบาลจะได้ปรับปรุงการคลังการเงินของประเทศ ดำเนินการส่งเสริมเกษตรกรรม การสหกรณ์ การอุตสาหกรรม และการค้า ตลอดจน การคมนาคมให้ก้าวหน้า เป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

รัฐบาลนี้จะได้สนใจเป็นพิเศษในการศึกษาของเยาวชน ซึ่งจะได้เป็นกำลังสำคัญของชาติในวันหน้าโดยจะดำเนินการให้เยาวชนได้รับทั้งวิทยาการและจริยศึกษาควบคู่กันไป จะได้จัดตั้งสภาการศึกษาแห่งชาติขึ้น เพื่อวางโครงการศึกษาให้เป็นโครงการถาวรเหมาะแก่ความจำเป็นของชาติและสอดคล้องกับรูปแบบการปกครองของประเทศ...

ในส่วนที่เกี่ยวแก่การช่วยเหลือจากต่างประเทศนั้นรัฐบาลนี้จะพิจารณาเท่าที่เห็นจำเป็น โดยจะไม่ให้กระทบถึงอำนาจอธิปไตยของประเทศชาติ อย่างไรก็ดี รัฐบาลมีเจตนาอันแท้จริงที่จะทำให้ประเทศไทยอยู่ในฐานะช่วยตัวเองได้อย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะทำได้"

How the 1961 National Economic Development Plan laid the groundwork for new lifestyles and modern architecture

The recession after World War II forced Field Marshal Sarit Thanarat's government to reform its national economic plan in line with global market forces. Modern Thai architecture reflected this process, as it tried to accommodate the many social changes in a Bangkok increasingly driven by capitalist consumer lifestyle.

Besides developing a basic infrastructure of 'running water, bright lights, good roads, ample jobs, and hygiene", the nation moved quickly to open up to local and foreign investors. The rush to build up education and public utilities resulted in a changing urban elite with new values and consumption patterns.

Company jobs became as sought-after as civil service positions. Cinemas and shopping centers replaced temple grounds and parks as places for weekend recreation. And the budding tourism industry saw the construction of many new hotels, restaurants and entertainment venues.

เดินห้างดูหนัง

โรงแรมอินทรา (2513)

จิระ ศิลป์กนก

ถนนหลายสายที่ตัดเพิ่มเพื่ออำนวยความสะดวกทำให้คนหันมาโหนรถแทนลงเรือเมล์ บริเวณท่ารถโดยสารบนถนนราชปรารถย่านประตูน้ำที่มีผู้สัญจรไปมาเป็นจำนวนมากจึงเปลี่ยนโฉมเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่

เพื่อผลประโยชน์สูงสุดทางธุรกิจ จิระ ศิลปกนก จัดวางผังพื้นที่ใช้สอยร้านค้าและโรงภาพยนตร์ตลอดจนห้องพักและส่วนบริหารภายใน 'โรงแรมอินทรา' ตามหลักสากล ทางเดินเชื่อมต่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ทำกิจกรรมภายในตลอด 24 ชั่วโมง การทำลายไทย 'ประจำยาม' มาผสมประโยชน์ใช้สอยของแผงกันแดดสร้างเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากตัวอาคารธุรกิจคู่แข่ง

ผลจากความต้องการพัฒนาที่ดินของนายทุนเล็งเลิศ ใบหยก 'โรงแรมรามอินทรา' ถือเป็นอาคารคอมเพล็กซ์รุ่นแรก ๆ ของไทยที่เสนอทางเลือกที่ล้ำกว่ายุคในการเป็นแหล่งนัดพบสำหรับดูหนังและจับจ่ายสินค้าตามวิถีชาวตะวันตก และโรงแรมระดับห้าดาวเพื่อรองรับนักลงทุนและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

Weekend Shopping and the Movies

Indra Hotel Complex (1970)

Chira Silpakanok

The construction of many new roads in the capital during the late 1960s and 70s meant more people began to use buses instead of boats. As more and more commuters passed through the new bus depot on Rajprarop Road in Pratunam, the area quickly became a new commercial center.

The Indra Hotel complex in Pratunam was Bangkok's first integrated commercial leisure center. To maximize its commercial potential, Chira Silpakanok designed the layout of the shopping arcade, cinema, and hotel rooms and facilities, according to contemporary Western models. A walkway connected the hotel with the arcade, allowing access 24 hours a day. The stylish fin shades, inspired by traditional prajamyam motifs, gave the building a design edge over its competitors.

A real estate project of developer Lenglert Baiyoke's, the Indra Hotel offered shopping, eating, and the movies all under one roof - Western-inspired lifestyle options which were slightly out of reach of the disposable income of most of the city inhabitants at the time. Instead, the five-star hotel was a new choice for foreign investors and tourists, and a dining entertainment venue for local elites.

ไปทัศนศึกษา

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (2525)

สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา

รูปทรงสามเหลี่ยมยื่นยาวส่วนหน้าอาคาร 'พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (2525)' ที่ใช้เป็นทั้งกันสาดมหึมาภายนอกและห้องบรรยายภายในสำหรับเด็กที่มาทัศนศึกษา ตอกย้ำความสำเร็จของเทคโนโลยีการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2525 และการออกแบบโดยคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยเป็นหลัก

ในขณะที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำลังเป็นแฟชั่นใหม่ สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ออกแบบศูนย์ศึกษาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กด้วยรูปทรงเรขาคณิตที่ดูสนุกสนานล้ำยุค แสดงโครงสร้างและระบบภายในหลังคาโครงเหล็กแบบโปร่งซึ่งลดการใช้วัสดุในการก่อสร้างแต่ยังสามารถครอบคลุมพื้นที่โล่งกว้างเหมาะสำหรับจัดแสดงวัตถุขนาดใหญ่อย่างยานอากาศจำลอง

'พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ' ชี้ให้เห็นถึงยุคที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการศึกษาสำหรับเยาวชนทุกระดับขึ้น ซึ่งเป็นนโยบายต่อเนื่องของรัฐบาลทุกสมัย

Going on a Field Trip

National Science Museum (1982)

Sumet Jumsai Na Ayudhya

The oversized triangular overhang at the front of the National Science Museum represented a triumph of function and construction technology of the 1980s. The incline plane functioned as theater seating for visiting student groups, and the overhang prompted Buckminster Fuller, the architect's mentor, to ask, "How much does it weigh?",

Sumet Jumsai Na Ayudhya designed this science center for children in fun and futuristic geometrical shapes, reflecting the city's growing interest in science and technology at the time. He kept the interlocking steel roof structure exposed, saving on construction materials, while opening up a large space for the display of oversized objects like spacecraft models.

The Museum marked the beginning of government interest in creating knowledge centers for the nation's youth, a policy which has had inconsistent support since, depending on the viewpoint of successive administrations.

เข้าออฟฟิศ

อาคารซีเอ็มไอซี (2524)

แดน วงศ์ประศาธน์

การขยายตัวของกรุงเทพฯ เปลี่ยนช่วงต้นของถนนสุขุมวิทจากชานเมืองใจกลางเมือง ถนนอโศกที่ตัดเชื่อมระหว่างสุขุมวิทกับเพชรบุรีตัดใหม่และรัชดาภิเษกจึงสะดวกต่อการคมนาคมเอื้อในการเป็นแหล่งที่ตั้งอาคารสำนักงานใหม่ ๆ

แดน วงประศาธน์ ออกแบบสำนักงานขนาดเล็กด้วยรูปลักษณ์อาคารที่เน้นองค์ประกอบทางเทคโนโลยีรูปทรงเรขาคณิตของโครงถักแนวทแยงบริเวณส่วนติดถนนอโศกของ 'อาคารซีเอ็มไอซี' ได้ประโยชน์ทั้งการรองรับน้ำหนักและยังสร้างจุดเด่นให้อาคารด้วย

อาคารประเภทสำนักงานเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองพื้นที่ใช้สอย ตลอดจนวิถีการทำงานแบบใหม่ที่ต้องปรับตามระบบออฟฟิศแบบตะวันตก

The Office Life

CMIC Building (1981)

Dan Wongprasart

The expansion of Bangkok in the 1970s transformed the upper reaches of Sukhumvit Road from suburban fields into a new city center. Asoke Road, at the juncture of Sukhumvit, New Petchburi and Ratchadapisek Roads, became a prime location for new office buildings.

Dan Wongprasart designed the small CMIC office building as a showcase of structural engineering. He created a faade of diagonal trusses, turning the building's concrete support system into its primary architectural feature. It was a bold, modern statement, by the edge of Asoke Road.

The period saw a growth in office buildings like the CMIC, as budding companies, inspired by Western models of entrepreneurship, attracted more and more people to the office life.

ชมงานออกร้าน

อาคารใหม่สวนอัมพร (2515)

กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา

การเติบโตของเศรษฐกิจและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ขนาดเทศกาลและงานแสดงสินค้าต้องขยายตัวตาม อาคารอเนกประสงค์สะท้อนความต้องการศูนย์กลางสำหรับการจัดงานขนาดใหญ่ของเมืองกรุง

กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา นำเทคโนโลยีโครงสร้างหลังคาพับมาใช้ออกแบบ 'อาคารใหม่สวนอัมพร' เพื่อให้ได้พื้นที่โล่งและผนังที่ปรับเปลี่ยนตามลักษณะการจัดงาน ความก้าวหน้าทางวิศวกรรมของโครงสร้างหลังคาที่ยื่นยาว 15 เมตร โดยปราศจากเสาค้ำสร้างความตื่นตาให้ผู้เข้าชมงานกาชาด พื้นที่เดียวกันนี้ยังปรับเปลี่ยนเป็นที่ทรงแบดมินตันของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 และห้องจัดเลี้ยงของสมเด็จพระนางเจ้าฯ

'อาคารใหม่สวนอัมพร' ภายในพระราชฐาน คือ สัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไประหว่างราชสำนักและราษฎร เพราะตอบสนองประโยชน์ใช้สอยทั้งงานราษฎร์งานหลวง รูปทรงที่ทันสมัยดูแปลกตายิ่งขึ้นเมื่ออยู่ท่ามกลางวังและพระที่นั่งแบบโคโลเนียลที่ล้อมรอบ

At the Red Cross Fair

New Suan Amporn Pavilion (1972)

Krisda Arunvongse Na Ayudhya

Economic growth and rising population in the 1970s led to ever larger product fairs and festivals in the city, This soon culminated in a demand for a multi-purpose building suitable for a variety of city events

Visitors to the 1972 Red Cross Fair at the New Suan Amporn Pavilion marveled at its huge, 15 meter, column-free expanse. Using the latest concrete engineering techniques, Krisda Arunvongse Na Ayudhya incorporated a folded plate roof, creating a large stretch of space adaptable for various uses. The brief for the pavilion included serving as an occasional badminton court for the King, and as a reception hall for the Queen's state visitors. Significantly, New Suan Amporn Pavilion was built on royal grounds, yet functioned as both a public use building, and a royal venue. In stark contrast to the surrounding backdrop of Amporn and Ananda Samakhom Throne Halls, the modern structure was a symbol of the evolving relationship between monarchy and the people.

เจ้าสัวขอเสียดฟ้า (NEW TYCOONS REACH FOR THE SKY)

เทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารสูงเสริมภาพพจน์บริษัทและสะท้อนวิสัยทัศน์ของนายทุนหัวก้าวหน้า

(Engineering corporate image and changing the cityscape)

ช่วงสงครามเวียดนาม (พ.ศ. 2508 - 2512 ) เงินดอลล่าร์ที่ไหลมาพร้อมการตั้งฐานทัพทหารสหรัฐฯ ในไทยส่งผลให้สถาบันการเงิน สำนักงานเอกชนและธุรกิจท่องเที่ยวเติบโตอย่างรวดเร็ว

ผลพวงมาจากสภาพคล่องทางการเงิน การแข่งขันและขยายตัวของบริษัทเอกชนทำให้นายทุนรุ่นใหม่ต้องหายุทธวิธีในการสร้างภาพลักษณ์ที่แตกต่างให้กับธุรกิจ ตึกระฟ้าสัญลักษณ์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการก่อสร้างจึงกลายเป็นกระแสใหม่เพราะนอกจากแสดงความทันสมัยยังสร้างความน่าเชื่อถือและรองรับการขยายตัวขององค์กรอีกด้วย

นอกเหนือจากการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจแล้ว การที่เจ้าสัวใหม่เริ่มลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สร้างตึกสูงยังมีส่วนทำให้ภูมิทัศน์เมืองเปลี่ยนไปโดยเฉพาะบนสามถนนสายหลัก คือ สีลม สุขุมวิท และพหลโยธิน

During the Vietnam War (1965-1975), as the United States established military bases in Thailand and US dollars poured in, the country experienced a boom in financial institutions, the tourism industry, and many new sectors of businesses. With this, a new class of Thai-Chinese business tycoons arose, bringing with them a corporate vision that would transform the cityscape.

Spurred on by financial liquidity, owners of local enterprises and conglomerates began focusing on corporate image, as a new competitive factor. High-rise buildings, symbols of advanced engineering, came to represent modern business vision, credibility, as well as the company's growth potential.

As the new tycoons expanded their corporate network, they invested in real estate, and commissioned modern high-rises along Bangkok's three main areas of Silom, Sukhumvit, and Phaholyothin. As the new tycoons expanded their corporate network, they invested in real estate, and commissioned modern high-rises along Bangkok's three main areas of Silom, Sukhumvit, and Phaholyothin.

สร้างตึกให้ซีไอเอเช่า

โชคชัยอินเตอร์ชั่นแนล (2512)

รังสรรค์ ต่อสุวรรณ

ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิทฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ซึ่งเดิมเป็นเพียงทุ่งนาเวิ้งว้าง 'โชคชัยอินเตอร์เนชั่นแนล' อาคารสูงหลังแรกของไทยสร้างขึ้นตามวิสัยทัศน์ของ โชคชัย บูลกุล เพื่อให้สายสืบ 'ซีไอเอ' หรือหน่วยข่าวกรองพิเศษสหรัฐฯ เช่าเป็นสำนักงานช่วงระหว่างสงครามเวียดนาม

ในสมัยที่การคมนาคมของเมืองกรุงยังไม่สะดวก โชคชัยเห็นช่องทางธุรกิจอาคารให้เช่าโดยมีการจัดวางระบบลิฟท์ โทรศัพท์ภายใน ตลอดจนระบบปรับอากาศ การติดต่อและทำงานร่วมกันระหว่างแผนกจึงเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

รังสรรค์ ต่อสุรรรณ กรุกระจกรอบนอกของอาคารตามกระแสสากลโดยไม่ลืมคำนึงถึงการวางผังอาคารตามสถาปัตยกรรมเขตร้อน เพื่อประหยัดพลังงานภายใน กระจกจึงถูกใช้ในส่วนหน้าอาคารทางทิศเหนือและทิศใต้เพียงบางส่วนเท่านั้น

High-Rise Rentals, for the CIA

Chokchai International Building (1969)

Rangsan Torsuwan

Situated along Sukhumvit Road, on what were once rice paddies in eastern Bangkok, Chokchai International Building was the country's first high-rise. Developed by visionary businessman Chokchai Bulakul, the office tower was rented out to the United States Central Intelligence Agency (CIA) during the Vietnam War.

At a time when communication and transport links were underdeveloped in the city, Chokchai saw an opportunity in providing an office tower in which a large business or organization could house all its departments under one roof. Aside from lifts, the 24-floor building was fully air-conditioned and equipped with an efficient internal telephone system.

Although the building featured-glass curtain wall, a fad amongst architects in the West at the time, Rangsan Torsuwan designed the building grid according to fulfil the demands of a tropical climate. To save energy, he limited glazing to parts of the north and south facades only.

สำนักงานใหญ่สไตล์อเมริกัน

สำนักงานใหญ่ธนาคารกสิกรไทย พหลโยธิน (2524)

รังสรรค์ ต่อสุวรรณ

กลับจากดูงานที่สหรัฐอเมริกา บัญชา ล่ำซำ นำแนวคิดก่อสร้าง 'อาคารกระจกกำลังได้รับความนิยมมาใช้สร้างภาพพจน์ความเป็นสากลให้กับสำนักงานใหญ่หลังใหม่ริมถนนพหลโยธิน

ด้วยความทันสมัยของวัสดุกระจกที่ประกอบขึ้นเป็นตึกระฟ้า ตลอดจนการเปิดโล่งพื้นที่และจัดวางประติมากรรมขนาดใหญ่บริเวณด้านหน้า ล้วนเป็นสูตรสำเร็จของอาคารสำนักงานแนวหน้าของอเมริกาสะท้อนวิสัยทัศน์ที่เปิดกว้างในการรับวิธีบริหารองค์กรใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของธนาคารถึงในปัจจุบัน

แม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องปัญหาการสะท้อนแสงของกระจกและความร้อนที่รบกวนบริเวณที่พักอาศัยโดยรอบ แต่ถึงกระนั้น 'สำนักงานใหญ่ธนาคารกสิกรไทย พหลโยธิน' โดยรังสรรค์ ต่อสุวรรณก็ถือได้ว่าเป็นอาคารแรกของไทยที่ใช้เทคโนโลยีนี้ทั้งหลัง

Corporate Headquarters, American Style

Thai Farmers Bank Headquarter, Phaholyothin (1981)

Rangsan Torsuwan

After a business trip to the United States, Thai Farmers Bank president Bancha Lamsam returned with the idea to build a "glass-box" building, immensely popular in major American cities at the time. It was part of his mission to create an international image for the bank's new headquarters on Phaholyothin Road.

Like many stylish American corporate headquarters of the period, the Thai Farmers Bank building was designed as a modern steel and glass skyscraper, with an open plaza fronted by a dramatic piece of contemporary sculpture. The architectural formula signified the bank's progressive vision and innovative management system, both qualities for which the bank is still recognized to this day.

Although architect Rangsan Torsuwan was criticized for designing a building which reflected light and heat upon its neighbors, he was the first to experiment with cladding a whole building-in glass curtain wall.

สัญลักษณ์แหล่งทุน

สำนักงานใหญ่ธนาคารกรุงเทพ สีลม ( 2524 )

กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา

เพียงสามสิบกว่าปีหลังการก่อตั้งธนาคารกรุงเทพโดยเจ้าสัวรุ่นใหญ่ ชิน โสภณพนิช ในปี พ.ศ. 2524 'สำนักงานใหญ่ธนาคารกรุงเทพ สีลม' ซึ่งถือกำเนิดกลางย่านธุรกิจริมถนนสีลม คือ สัญลักษณ์ความรุ่งเรืองของสถาบันการเงินในช่วงนั้น

ธนาคารกรุงเทพนับเป็นสถาบันการเงินที่มีอิทธิพลมากที่สุดของประเทศ เพราะสนับสนุนทิ้งกิจการอุตสาหกรรมและการค้าขาออก ภาพพจน์ที่มั่นคงและน่าเชื่อถือแสดงผ่านความโอ่อ่าของโถงทางเข้าและความสูง 33 ชั้นนำหน้า 'โชคชัยอินเตอร์เนชั่นแนล' ซึ่งครองตำแหน่งตึกสูงที่สุดของไทยมากว่า 15 ปี

กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา มองการณ์ล่วงหน้าออกแบบพื้นที่จอดรถให้เพดานสูงกว่าปกติ เพื่อปรับพื้นที่ใช้เป็นออฟฟิศในอนาคตเมื่อเขตธุรกิจเจริญถึงขีดสุดและการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนสะดวกสบายไม่ต่างจากรถยนต์ส่วนตัว

Financing the Nation

Bangkok Bank Head Office, Silom (1982)

Krisda Arunvongse Na Ayudhya

Founded in 1944 by the legendary Thai-Chinese tycoon Chin Sophonpanich, Bangkok Bank had, by the 1980s, become the country's most influential financial institution. Instrumental in financing the birth of Thailand's major industries and export trade, the bank also played a major role in the country's economic policy planning.

On its 33rd anniversary, the Bangkok Bank commissioned a new 33-storey head office on Silom Road, in the heart of the city's financial district. It was the tallest building in Bangkok in 15 years, since the Chokchai International Building had been built.

Krisda Arunvongse Na Ayudhya's far-sighted design included higher-than-usual ceilings in the car park, so that the space could be transformed into additional offices in the eventuality that, one day, good public transport would reduce the need for private cars.

การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมโมเดิร์น

เหตุใดสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่คนเคยมองว่าน่าเกลียดจึงสมควรได้รับการยกย่องเป็นมรดกทางวัฒนธรรมควรค่าแก่การอนุรักษ์

บทความวิชาการ ยงธนิศร์ พิมลเสถียร

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สถาปนิก นักผังเมือง และผู้ที่อยู่ในแวดวงการออกแบบคงคุ้นเคยกับคำภาษาอังกฤษว่า Modernity, Modern movement หรือ Modernism สำหรับงานสถาปัตยกรรมที่สร้างสรรค์ที่เกี่ยวเนื่องกับคำดังกล่าว คือ Modern architecture หรือที่เคยมีผู้แปลว่า สถาปัตยกรรมแผนใหม่บ้าง สถาปัตยกรรมโมเดิร์นบ้าง สถาปัตยกรรมใหม่บ้าง หรือบางที่เรียกทับศัพท์ว่าสถาปัตยกรรมโมเดิร์นหรือยุคโมเดิร์น แม้ว่าราชบัณฑิตยสถานจะได้บัญญัติศัพท์ไว้แล้วว่า "สถาปัตยกรรมนวยุค" แต่ในบทความนี้จะขอใช้ทับศัพท์ว่า "สถาปัตยกรรมโมเดิร์น" เนื่องจากเห็นว่าสามารถเข้าใจได้ง่าย และคำว่า โมเดิร์น เป็นชื่อ เฉพาะของรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ทราบกันเป็นสากลอยู่แล้ว

ในกลุ่มประเทศตะวันตกในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ได้มีความเคลื่อนไหวทางวิชาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมโมเดิร์นในประเทศไทย ก็ได้เกิดขึ้นเช่นกัน แต่ยังไม่ได้ขยายในวงกว้างคาดว่าในสังคมยังไม่เห็นความสำคัญหรือความจำเป็นในการอนุรักษ์เท่าใดนัก บทความนี้จึงขอร่วมแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมโมเดิร์น ซึ่งมีจำนวนพอสมควรในประเทศในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่

1) ความหมายและลักษณะของสถาปัตยกรรมโมเดิร์น

2) สถาปัตยกรรมโมเดิร์นกับการเป็นมรดกวัฒนธรรม

3) ภัยคุกคามและเทคนิควิธีการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมโมเดิร์น

4) การปกป้องคุ้มครองสถาปัตยกรรมโมเดิร์นในระดับสากล ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจได้ใช้ประกอบในการพิจารณาจัดทำหลักเกณฑ์ข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจว่าสมควรจะอนุรักษ์สถาปัตยกรรมโมเดิร์นหรือไม่ อย่างไรในอนาคต

ความหมายและลักษณะของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นคำว่า สถาปัตยกรรมโมเดิร์น หรือ Modern architecture เป็นคำเรียกเฉพาะ ไม่ใช้ปะปนกับคำว่า สถาปัตยกรรมร่วมสมัย (contemporary architecture ) มีความเกี่ยวข้องกับคำว่า Modernity การกำเนิดของสถาปัตยกรรมโมเดิร์น มีที่มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน บางท่านว่ามาจากการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคิดค้นโลหะเหล็กกล้า คอนกรีตเสริมเหล็กและกระจก ซึ่งส่วนหนึ่งของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปตั้งแต่ปลายศริสต์ศตวรรษที่ 18 บางท่านว่ามาจากรสนิยมที่ต่อต้านความหรูหรา การตกแต่งประดับประดาจนเกินควร จนเกิดรูปแบบสถาปัตยกรรมขึ้นใหม่ในขณะเดียวกันบางท่านก็ว่ามีความเกี่ยวพันกับการเกิดลัทธิ สังคมนิยมและการพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นกระแสหรือเป็นผลพวงจากกระแสต่าง ๆ จะเห็นผลออกมาเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีความแตกต่างจากยุคก่อน ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตรรษที่ 19 ถึง ต้นศตวรรษที่ 20 ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเริ่มชัดเจนว่าเป็นกระแสหลักได้เกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20

ลักษณะของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่เด่นและแตกต่างจากสถาปัตยกรรมยุคก่อนหน้า มีดังนี้

  • การปฏิเสรูปแบบที่อิงหรือมีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์
  • การใช้หลักการที่ว่า วัสดุและหน้าที่ใช้สอยเป็นปัจจัยในการกำหนดรูปแบบ
  • การได้รับอิทธิพลจากเครื่องจักรหรือการเห็นว่าเครื่องจักรกลคือความงามอย่างหนึ่ง
  • การปฏิเสธการตกแต่งประดับประดาอาคาร
  • การกำหนดรูปทรงที่เรียบง่าย ตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออก
  • การเน้นโครงสร้างให้เห็นชัดเจน
  • การมีรูปทรงที่สนองตอบหน้าที่ใช้สอย (รู้จักกันดีในประโยคที่ว่า Form follows function)

การใช้วัสดุสมัยใหม่ในยุคนั้น อาจแบ่งตามหน้าที่ใช้สอยได้คือ ใช้กระจกเป็นส่วนประกอบรูป ด้านอาคารใช้เหล็กเป็นโครงสร้างภายนอก และใช้คอนกรีต (เสริมเหล็ก) เป็นพื้นและโครงสร้างภายในตัวอย่างของงานในยุคนี้ เริ่มในยุโรปโดยเฉพาะในเยอรมันและฝรั่งเศสในช่วง ค.ศ. 1900 และได้แพร่หลายไปทั่วโลก โดยมีสถาบันสอนสถาปัตยกรรม คือ Bauhaus ในเยอรมัน และ Beaux-Arts ในฝรั่งเศสสถาปนิกที่ถือกันว่าเป็นผู้นำในกระแสนี้ได้แก่ Le Corbusier ชาวฝรั่งเศส Ludwig Mies van der Rohe และ Walter Gropius ชาวเยอรมัน ซึ่งภายหลังเคยเป็นผู้อำนวยการของ Bauhaus ด้วย ใน อังกฤษก่อนนั้นมีอาคารที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่รู้จักกันทั่วโลกคือ The Crystal Palace ที่ออกแบบโดย Joseph Paxton ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1851 ต่อมาเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1900-1999) เมือง Liverpool เป็นเมืองอุตสาหกรรมที่มีอาคารในรูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์น เป็นจำนวนมาก (Stratton, 1997, 1) ซึ่งเมืองอุตสาหกรรมอื่น ๆ ก็เป็นเช่นกัน จึงมักมีผู้เรียกสถาปัตยกรรมในยุคนี้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งศตวรรษที่ 20

ในช่วงปี ค.ศ. 1932 สหรัฐอเมริกาได้จัดนิทรรศการสถาปัตยกรรมโมเดิร์น โดย Philip Johnson และ Henry Russell Hitchcock ซึ่งทำให้เห็นว่างานของประเทศต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงจะมีรูปแบบไปในทางเดียวกัน จึงได้เรียกรวม ๆ กันว่า International style หรือที่เรามักแปลว่า แบบสากลเรียบ และต่อมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บุคคลสำคัญของ Bauhaus ได้เดินทางไปอเมริกาและเผยแพร่รูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นอย่างกว้างขวาง ต่อมาในสหรัฐอเมริกาจึงได้แบ่งรูปแบบของสถาปัตยกรรมในช่วง ค.ศ. 1920 - 1945 ออกเป็น 3 รูปแบบย่อย ได้แก่ International style (1920-1945) Art Deco(1925-1940) และ Art Moderne (1930-1945) ซึ่งแตกต่างกันในรายละเอียดการตกแต่งอาคาร (Blumenson, 1981,74-79) แต่ทั้งสามรูปแบบใช้คอนกรีต เหล็ก และกระจก เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างและตกแต่งอาคารเหมือนกัน

ในทางสากลสถาปัตยกรรมโมเดิร์นได้เสื่อมความนิยมลงในช่วง ค.ศ. 1980 เนื่องจากมีข้อวิจารณ์ว่าไม่มีความเป็นมนุษย์ เป็นเหมือนเครื่องจักรที่ให้มนุษย์อยู่อาศัยเท่านั้น นอกจากนั้นยังเกิดความเบื่อหน่ายรูปทรงกล่องเรียบ ๆ และเป็นรูปแบบที่ทำกันทั่วโลกไม่มีความหมาย ทำให้เกิดรูปแบบ Post-Modern และรูปแบบอื่น ๆ ในเวลาต่อมา

สำหรับในประเทศไทย ในช่วงที่เริ่มมีสถาปัตยกรรมโมเดิร์นในยุโรปและอเมริกานั้น ตรงกับช่วงปลายรัชกาลที่ 5 กับรัชกาลที่ 6 (ค.ศ. 1910- 1925) ซึ่งเป็นยุคของการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย โดยยังมีอาคารที่เป็นรูปแบบตะวันตกทั้งหมดที่ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวตะวันตก และอาคารรูปแบบผสมผสานศิลปะไทยกับตะวันตก ในช่วงนั้นได้มีสถาปนิกไทยที่ได้ไปเรียนจากยุโรปกลับมาแล้วบ้าง แต่ยังไม่มีบทบาทเท่าใดนัก แต่ในช่วงรัชกาลที่ 7 (ค.ศ. 1925 -1934) ประเทศไทยประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้รัฐบาลต้องประหยัด ซึ่งมีผลต่อรูปแบบอาคาร รวมทั้งมีสถาปนิกไทยที่สำเร็จการศึกษาจากยุโรปกลับมาและเริ่มมีบทบาทมากขึ้น รูปแบบของสถาปัตยกรรมโมเดิร์น จึงได้เห็นเด่นชัดขึ้นในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (วิมลสิทธิ์ หรยางกูร และคณะ, 2536) อาจกล่าวได้ว่า สถาปัตยกรรมโมเดิร์นในประเทศไทย เกิดขึ้นจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ต้องประหยัด การถ่ายทอดแนวคิดและเทคโนโลยีผ่านทางสถาปนิกไทยที่ร่ำเรียนจากยุโรปซึ่งเป็นต้นกำเนิดแนวคิด และการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองในการเข้าสู่ประเทศประชาธิปไตย

สถาปนิกชาวไทยที่ได้ไปศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมจากตะวันตกในช่วงรัชกาลที่ 7 และกลับมาสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมโมเดิร์น ได้แก่ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ซึ่งได้ทรงออกแบบพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร (ทรงจบจาก Beaux-Arts) ได้ทรงออกแบบอาคารศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ที่ถนนดินสอ (แต่สร้างไม่เต็มรูปแบบเดิม) อาคารโรงละครแห่งชาติ (แต่ไม่ได้สร้างตามแบบ) รวมทั้งอาคารต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นอกจากนั้นยังได้ออกแบบอาคารโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ร่วมกับอาจารย์นารถ โพธิประสาท (จบกาศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมเกียรตินิยมเหรียญทองจากมหาวิทยาลัย Liverpool ประเทศอังกฤษ เดิมรับราชการในกรมโยธาเทศบาลภายหลังเป็นอาจารย์ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกในเอเชียที่มีระบบปรับอากาศ งานออกแบบอื่น ๆ ของอาจารย์นารถที่เป็นแบบสากลเรียบ (International Style) เช่น อาคารกองบัญชาการปราบปรามตำรวจที่สามยอด หมู่อาคารกองบัญชาการตำรวจสันติบาล (เดิม) และอาคารกองบัญชาการกองทัพอากาศที่ดอนเมือง และโรงพยาบาลกลางในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยังมีสถาปนิกไทยอีกท่านที่จบการศึกษาจาก Beaux-Arts คือนายจิตรเสน อภัยวงศ์ (หมิว อภัยวงศ์) ซึ่งได้ออกแบบอาคารสองฝั่งถนนราชดำเนินกลาง อาคารตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารกรมไปรษณีย์โทรเลข บางรัก และอาคารกระทรวงยุติธรรม (โชติ กัลยาณมิตร พ.ศ. 2525, 56-57) อาคารเหล่านี้ส่วนหนึ่งยังคงเห็นอยู่ในปัจจุบันแต่หลายอาคารก็ได้มีการรื้อทิ้ง หรือเปลี่ยนรูปแบบไปแล้ว

ในช่วงต่อมาหรือรัชกาลที่ 8 และต้นรัชกาลปัจจุบันสถาปนิกที่มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสถาปัตยกรรมคือ ตร. วทัญญ ณ กลาง (เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างสูงในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม) ซึ่งเป็นผู้ออกแบบอาคารเมืองไทยประกันชีวิต อาคารหอพักนักศึกษาที่ วิทยาลัยเทนิคกรุงเทพ ซึ่งเป็นตัวอย่างของการใช้แนวคิดสถาปัตยกรรมโมเดิร์นในการกำหนดความสูงของชั้นอาคาร และ ความจำเป็นในหน้าที่ใช้สอยรวมทั้งการคำนวณเพื่อใช้ในการออกแบบแผงกันแดดของอาคาร หรืออาคารคุรุสัมมนาคาร ที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นอาคารที่เป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีทางวิศวกรรมผสมผสานกับการใช้วัสดุในท้องถิ่น นอกจากนั้น ยังมีหม่อมหลวงสันธยาอิศรเสนา ผู้ออกแบบพระตำหนักภูพาน จังหวัดสกลนคร พระตำหนักทักษิณราชนิเวศ จังหวัดนราธิวาส ที่ทำการ บคส. พหลโยธิน หมู่อาคารที่ทำการบริษัทปูนซีเมนต์ไทย บางชื่อและโรงพิมพ์ธนบัตร กระทรวงการคลัง สถาปนิกอีกผู้หนึ่ง คือดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้ออกแบบโรงเรียนสอนคนตาบอด ถนนราชวิถี พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เอกมัย มีผู้กล่าวว่า ดร. วทัญญฯ เป็นผู้ นำแนวคิดเทคโนโลยีโมเดิร์นเข้าสู่วงการสถาปัตยกรรมในประเทศไทย ส่วนดร. สุเมธฯ เป็นผู้ทำให้เกิดการผสมผสานอย่างพอดีระหว่างความงามของสถาปัตยกรรมกับโครงสร้างทางวิศวกรรม (โชติ กัลยาณมิตร, พ.ศ. 2525, 58-59)

การสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่มีในจังหวัดภูมิภาค มีตัวอย่างจังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีจนมีการวางแผนเมืองให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางการทหารระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยย้ายฐานยุทโธปกรณ์มาจากกรุงเทพฯ มาลพบุรี จนแม้หลังสงครามสงบแล้ว เกิดความขัดแย้งทางการเมืองจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้มีบัญชาให้สร้างเมืองลพบุรีใหม่ มีการวางผังและสร้างอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นจำนวนมาก เช่น โรงแรมทหารบก ( ปัจจุบันคือโรงแรมวิบูลศรี) อาคารราชการในสถานศึกษา และอาคารพาณิชย์ (ธนากร ตาระกา, 2550 , 85-86)

การศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมโมเดิร์นในประเทศไทยยังมีอยู่เป็นจำนวนน้อย แต่เท่าที่ได้ประมวลมาอย่างสังเขปดังข้างต้น ทำให้ทราบว่าในประเทศไทยก็ไม่ได้มีการพัฒนาที่ล่าช้ากว่าประเทศต้นกำเนิดเท่าใดนัก ซึ่งน่าจะมีการศึกษาในรายละเอียดต่อไปโดยเฉพาะในเรื่องของนวัตกรรมการใช้วัสดุและการก่อสร้างในยุคนั้น การผสมผสานกับแนวทางของไทย รวมทั้งการจัดทำระเบียนอาคารและสถาปนิกผู้ออกแบบ เพื่อให้ได้ทราบถึงที่มาและพัฒนาการซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาสถาปัตยกรรมและชุมชนเมืองอย่างมาก ปัจจุบันงานสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่ได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว บางแห่งก็กำลังจะถูก รื้อถอนเพื่อพัฒนาให้เป็นอาคารสูงหรือเปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่น จึงน่าที่จะได้มีการรวบรวมไว้ก่อนที่อาคารเหล่านี้จะสูญสลายไปหมด อย่างน้อยก็เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์การพัฒนาชาติไทย

สถาปัตยกรรมโมเดิร์นกับการเป็นมรดกวัฒนธรรมไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัย การจะตัดสินใจว่าจะอนุรักษ์อะไรมักจะมีประเด็นปัญหาให้ถกเถียงอยู่เสมอสถาปัตยกรรมโมเดิร์นก็เช่นกัน หากจะมีความเคลื่อนไหวให้มีการอนุรักษ์ หลายคนคงไม่เห็นด้วย ในขณะที่หลายคนอาจเห็นว่าน่าจะอนุรักษ์ โดยทั่วไปสิ่งที่จะอนุรักษ์นั้นจะต้องมีคุณค่า (value) และความสำคัญ (significance) ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีแนวคิดวิธีการในการรับรู้คุณค่าความสำคัญต่างกันโดยทั่วไปการวิเคราะห์และตัดสินใจด้านคุณค่าจะใช้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพราะหากให้มติมหาชน อาจทำให้ไม่เหลืออะไรให้อนุรักษ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาและประชาชนสนใจแต่เรื่องเศรษฐกิจและการทำมาหากิน แต่ในทางกลับกันหากประชาชนต้องการอนุรักษ์ท้องถิ่นของตนแต่รัฐบาลหรือผู้เชี่ยวชาญไม่เห็นความสำคัญ

PRESERVATION OF MODERN ARCHITECTURE

Preservation of Modern Architecture The neglected heritage of modern architecture, and why it needs to be preserved

Essay:Yongtanit Pimonsathean,

Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University

Architects, city planners and other professionals in the design industry are certainly familiar with terms and expressions such as Modernity, Modernism and the Modern Movement. Those in architectural circles specifically will likewise know well the common term Modern architecture.

In the late 1980s, academicians in many Western countries began efforts to preserve Modern architecture. Thailand experienced a similar movement, but to a limited extent. General society at the time remained largely unaware of the importance of preserving Modern architecture, This article discusses the many efforts to preserve Modern architecture in Thailand, focusing on the following aspects:

1) definition and characteristics of Modern architecture,

2) Modern architecture as cultural heritage,

3) hindrances to and techniques of preserving Modern architecture, and

4) international protection of Modern architecture. The author hopes that all parties directly involved with Modern architecture and other interested persons will find this article useful as background information towards the formulation and eventual implementation of any rules or regulations to preserve Modern architecture in the future.

Definition and characteristics of Modern architecture

"Modern architecture" is a specialized term that must not be confused with the more general designation "contemporary architecture". Modern architecture is related to modernity , The evolution of Modern architecture involved many factors. Some experts believe that Modern architecture resulted primarily from technological and engineering advances, particularly in iron, steel, reinforced concrete and glass. These advances were part of the Industrial Revolution in Europe in the late 18th century. Meanwhile, others assert that Modern architecture was a reaction against eclecticism and excessively lavish styles. There is also a general belief that Modern architecture was a century's reflection on socialism and democratic development. Whatever the origins and causes, Modern architecture encompasses distinctive features that contrast sharply with preceding styles, from the period beginning in the mid-19th century to the early 20th century. The unique characteristics of Modern architecture emerge and eventually become mainstream in the latter half of the 20th

Compared to the prevailing styles that preceded the movement, Modern architecture possessed the following characteristics:

  • Rejection of history-based references
  • Adoption of the principle that forms are determined by functions and materials
  • Adoption of the machine aesthetic
  • Simplification of forms and elimination of unnecessary details
  • Adoption of structural emphasis over ornamental emphasis as had been common in the past century
  • Form made to follow function

The application of the then new building materials was based on function. For example, glass might be used to decorate a building, with iron likely serving as the outer structure, while reinforced concrete served as the floor and inner structure. Evidence of this approach can be seen in structures throughout the 1900s in Germany and France. The concept was widespread worldwide thanks to two architecture institutes, namely the Staatliches Bauhaus in Germany and the Ecole des Beaux-Arts in France. Leading architects of the early Modern architecture included France's Le Corbusier and the Germany's Ludwig Mies van der Rohe and Walter Gropius, both former directors of the Bauhaus. The evolution was noticeable in England as well. The Crystal Palace - designed by Joseph Paxton - was a world-famous innovation constructed in 1851, In the 20th century, like many other industrial towns Liverpool hosted a large number of buildings in the Modern style (Stratton, 1997,1).

In 1932 Philip Johnson and Henry Russell Hitchcock organized an exhibition of Modern architecture in the US, featuring a large collection of works from different countries. The distinctive characteristics of the works came to be denoted by the term "International Style". During World War II representatives of the Bauhaus traveled to the US in order to promote Modern architecture. In the years that followed, American architectural styles from 1920 to 1945 were divided into three sub-groups: International Style (1920-1945), Art Deco (1925-1940) and Art Moderne (1930-1945). The categorization was based on differences of building decoration (Blumenson, 1981, 74-79). However, all three styles shared one fact: concrete, iron and glass were major materials for both construction and decoration.

At the international level, by the 1980s Modern architecture had lost much popularity following criticism that the style was dehumanizing. In other words, the approach produced buildings as machines in which human beings could reside. Many people complained they had become bored with boxy, unadorned buildings. And buildings in this style were ubiquitous. Moreover, the style had become universal to the point of lacking unity. The decline of Modern architecture paved the way for the Post-Modern and many other trends.

While Modern architecture gained popularity in Europe and America, Thailand was in the era of Kings Rama V (1868-1910) and Rama VI (1910-1925). Modernization of the country was the main concern of the government then, and this was undertaken partly with an eye to foreign principles as evidenced by the fact that all Western-style buildings constructed during this period were designed by Western architects, although some buildings did reflect a combination of Western and Thai styles. And though there were at the time a number of overseas-educated Thai architects in the kingdom, they did not play a significant role in the country's architecture throughout this period.

During the King Rama VII era (1925-1934) Thailand was hard hit by the world economic recession resulting from World War I. The government had to cut back on most projects including building construction. About this time, after returning to Thailand, European-educated Thai architects began to play more important roles. As a result, the influence of Modern architecture became more visible in Thailand after the country shifted from absolute monarchy to constitutional monarchy in 1932 (Vimolsit Horayangura, B.E. 2536).

Thus it can be said that Modern architecture in Thailand resulted from economic necessity, from a transmission of European concepts and technology via European-educated Thai architects and from a political change to a more democratic system.

Among Thai architects who graduated from the West during the Rama VII era and contributed to Modern architecture in Thailand was MC Itthithepsan Kridakorn. His designs included Piamsook Residence in Klaikangwon Palace in Hua Hin district, Prachuab Kiri Khan province. Another important figure was MC Samaichalerm Kridakorn, a Beaux-Arts graduate who designed the headquarter offices of the Bangkok Metropolitan Administration on Dinsor Road (some parts of his design, however, were omitted from the completed buildings). MC Samaichalerm also produced a design for Thailand's National Theatre, although the building that resulted was not based entirely on his design. He also designed many buildings for the Chiang Mai University campus. His masterpiece was a co-design of the Sala Chalermkrung Theater (Picture 3) with Nart Bhotiprasart, who graduated with Gold Medal honors from Liverpool University, England and worked at the Civil Engineering Department before assuming a teaching post at the Faculty of Architecture, Chulalongkorn University. Sala Chalermkrung Theater was the first air-conditioned cinema in Asia. Other works of Nart evinced the International Style, including the Bangkok Metropolitan Police building, Royal Thai Air Force headquarters, Central Hospital, among others. Another architect of this era was Jitrasen Aphaiwongse (Mew Aphaiwongse). A Beaux-Arts graduate, Jitrasen designed groups of buildings along Rajdamnoen Avenue; the Dome Building on the campus of Thammasat University; the Post, Telegraph and Telegramme Office in Bangrak district; and the Justice Ministry headquarter offices (Choti Kalyanamitr, B.E. 2525, 56-57). Some of these buildings still stand while others have since been demolished or altered beyond recognition.

From the period of King Rama VIII to the early reign of King Rama IX, an important figure who contributed to architectural change in Thailand was Dr Vathanyu Na Thalang, an architect himself and former director of the National Housing Authority. (He still plays an active role in preserving architectural and cultural heritage.) Among the buildings designed by Dr Vathanyu are the Thai Life Insurance Building and a dormitory for Bangkok Technical College. The dormitory was a fine example of an architectural design having to comply with height-limit regulations and functional requirements, with the distinctive feature of sunshade panels. Yet another masterful design by Vathanyu was the Teacher Seminar Building in Rajamangala Institute of Technology's Nakhon Ratchasima campus, an exemplary instance of advancements in engineering technology combined with use of local materials. (Picture 6) Another important figure was ML Santhaya Israsena, who designed the Phuphan Palace in Sakon Nakhon province and the Thaksin Rajanivet Palace in Narathiwat province. His works also included the headquarters of Building Materials Company Limited on Phahon Yothin Road, a group of buildings for the Siam Cement Group in Bangsue District and the Finance Ministry mint. An important architect from the period was Dr. Sumet Jumsai Na Ayudhya, who designed the School for the Blind on Rajavithee Road (Picture 7), the Science Museum (Bangkok Planetarium), and so forth. Some experts assert it was Dr Vathanyu who brought modern technology into Thailand's architectural circle, and others have lauded Dr Sumet for having combined architectural beauty with sound engineering structure. (Choti Kalyanamitr, B.E. 2525, 58-59)

Modern architecture was also influenced by political matters in Thailand, with evidence seen in a number of buildings in various provinces, for example in Lopburi which had been an important area since the Dvaravati era. During World War II it served as a military centre and thus city planning measures had to suit the needs of military forces, with a large number of weapons and equipment transported to this central province. After the end of World War II, political conflict continued in Thailand. Field Marshal Plaek Pibulsonggram, then Prime Minister, ordered a new city be established in Lopburi. Submitted city plans and building designs were based on Modern architecture, for example the Army Hotel (now Vibulsri Hotel) and a large number of government and commercial buildings. (Thanakorn Taraka, B.E. 2550, 85-86)

Research materials on Modern architecture are quite limited, but they do show that the evolution of Modern architecture in Thailand progressed as quickly as it did in the originating countries. The topic would certainly benefit, however, from more studies revealing local innovations that resulted from the availability of new materials and new construction technologies, specifically those ways in which elements of traditional Thai architecture were made to adapt and conform to new materials and techniques. It is also necessary to develop a register of buildings and their designing architects. Such studies and registration efforts will surely enhance our understanding of Thai architecture and the urban communities where the structures reside. Today, it is a sad fact that many buildings in the Modern style designed by Thai architects have already been lost, with more set for demolition soon so as to make way for high-rises and other buildings. Immediate preservation of these buildings in jeopardy is therefore essential, or it will be too late.


Related To This Item

สื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


You May Also Like

แนะนำสื่ออื่นๆ ที่น่าสนใจ


Your Recent Views

สื่ออื่นๆ ที่คุณเพิ่งดู