วันที่จัดแสดง : 4 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2549 สถานที่ : ห้องนิทรรศการ 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ Date: 22 July - 24 September 2006 Venue: Gallery 2, TCDC, The Emporium, 6th Floor
Design / Japnese / Japan / Industrial Design / tcdcarchive
ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จในการจัดตั้ง Thailand Creative & Design Center (TCDC) ในครั้งนี้ ซึ่งเกิดขึ้นจากดำริของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ที่ต้องการใช้เป็นศูนย์กลางในการที่รัฐบาลจะส่งเสริมการดีไซน์เพื่อให้นำไปสู่ความสำเร็จของระบบเศรษฐกิจที่สร้างคุณค่า (Value Creation Economy) และยังรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ประเทศญี่ปุ่นได้รับเลือกเป็นรายแรกจากต่างประเทศให้มาเปิดนิทรรศการในครั้งนี้ตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1950 รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มดำเนินนโยบายส่งเสริมการดีไซน์อย่างเป็นกิจลักษณะ โดยจุดประสงค์หลักเพื่อเป็นมาตรการจัดการส่งเสริมการส่งออกภายหลังจากนั้นก็ได้มีการดำเนินนโยบายต่าง ๆ อีกหลายอย่างตามมา เช่น การให้รางวัลดีไซน์ดีเด่น การจัดให้มีปีแห่งการดีไซน์ การจัดประกวดดีไซน์นานาชาติ เป็นต้น ทั้งหมดนี้อยู่บนฐานความตระหนักที่ว่าดีไซน์นั้นคือบ่อเกิดแห่งความสามารถในการแข่งขันเชิงอุตสาหกรรมและJETRO เองก็มีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในกิจกรรมเหล่านี้มาโดยตลอด
ชาวญี่ปุ่นได้ให้กำเนิดสิ่งของหรือรูปทรงที่มีความเป็นเลิศมาโดยตลอดตั้งแต่ครั้งอดีตกาลมาแล้วดีไชน์ของญี่ปุ่นเติบโตมาจากรากฐานอันยาวนานท่ามกลางประเพณีดั้งเดิมและธรรมชาติอันงดงามในสี่ฤดูกาลที่หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนตลอดปี หล่อหลอมให้เกิดทัศนคติผูกพันต่อธรรมชาติและสามารถรู้สึกได้ทั้งจากภายในและเมื่อมองจากภายนอก
อย่างไรก็ตามหนทางของดีไซน์ญี่ปุ่นก็มิใช่ว่าจะเดินมาด้วยความราบรื่น ตรงกันข้ามทุกครั้งที่ชีวิตความเป็นอยู่หรือค่านิยมของชาวญี่ปุ่นต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงไม่ว่าจะเป็นครั้งที่เผชิญหน้ากับอารยธรรมตะวันตกในยุคเมจิหรือวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางของยุโรปและอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่สองดีไซน์ของญี่ปุ่นก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโฉมหน้าให้เข้ากับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลาแต่กระนั้นก็ตาม "โครงสร้าง" และ "จารีต" ที่อยู่ในเบื้องลึกนั้นยังคงสืบเนื่องต่อมาโดยตลอดสิ่งที่อยู่คู่กับดีไซน์ญี่ปุ่นมาตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานคือ "จิตใจที่ใฝ่ในดีไซน์" สิ่งนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “สายพันธุกรรมของดีไซน์ญี่ปุ่น” ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
นิทรรศการ "DNA of Japanese Design" ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ต้องการที่จะพิจารณาถึงเนื้อแท้ของดีไซน์ญี่ปุ่นโดยการวิเคราะห์คุณสมบัติของการดีไซน์เชิงอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลงไปถึงระดับโครงสร้างและเสาะแสวงหา DNA ที่ฝังตัวอยู่ภายในนั้น ข้าพเจ้าขอเชิญชวนให้ทุกท่านเข้ามาพบเห็นหลังฉากของการสรรค์สร้างสิ่งของต่าง ๆ ของญี่ปุ่นเชื่อว่าท่านจะสามารถค้นพบความลับของดีไซน์ญี่ปุ่นได้อย่างแน่แท้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่านิทรรศการนี้จะมีส่วนช่วยให้ชาวไทยทุกท่านเข้าใจดีไซน์ญี่ปุ่นวัฒนธรมญี่ปุ่นและชาวญี่ปุ่นได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ๆ ไปขอขอบคุณเป็นอย่างสูงต่อรัฐบาลไทยที่กรุณามอบโอกาสที่ดีเช่นนี้ให้กับเรา รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่มีส่วนลงทุนลงแรงสรรค์สร้างนิทรรศการที่มีความท้าทายเป็นอย่างยิ่งนี้ให้สำเร็จเป็นจริงขึ้นมา
It is my sincere pleasure to offer my heartfelt congratulations on the establishment of the Thailand Creative & Design Center, an initiative of Prime Minister Thaksin Shinawatra and part of the Thai government's efforts to promote design and achieve a "value creation economy." Japan is deeply honored to have been chosen as the focus for the center's first foreign design exhibition.
Japan began full-scale design promotion in the late 1950s, partly to stimulate exports. Later, having recognized that design is an important factor in building industrial competitiveness, Japan established the "Good Design Award" and "Design Year" programs. Japan also hosted international design competitions and implemented a variety of promotional measures, in which JETRO was involved from the start.
The Japanese have long produced many excellent forms and objects. Traditions developed over many centuries, a love of nature-cultivated by the characteristic beauty of each of Japan's four seasons-and an aesthetic consciousness that grew out of Japan's unique culture, have all given a distinct presence and identity to the country's design. However, Japanese design did not arise in a vacuum-nor did it follow a straightforward course.
During the Meiji Era, Japan was strongly influenced by western civilization. And after World War Il, exposure to Western lifestyles and cultures dramatically changed the values and way of life of Japanese people. These experiences inevitably influenced Japanese design; but the structure, methods and philosophy at the root remained intact.
Japanese design is the product of a unique "design mind", fostered through Japan's long history. In this mind are the unchanging "genes" of Japanese design. This "DNA of Japanese Design" exhibition unravels and exposes the special properties of Japanese industrial design at a structural level-it digs deep into our DNA of design to contemplate its essence. Please take this opportunity to get a behind-the-scenes look at Japanese manufacturing. I fell certain you will glimpse some of the secrets of Japanese design.
I hope this exhibition proves to be an opportunity for the people of Thailand to gain a deeper understanding of Japan's unique design, culture and people. I offer my deep gratitude to the Thai government for making this possible, as well as to those who helped make this challenging exhibition a reality.
แนวคิดในเรื่องการดีไซน์เชิงอุตสาหกรรม (Industrial Design หรือ ID) ได้รับการนำเข้ามาสู่ประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นกิจลักษณะและวงการอุตสาหกรรมเริ่มนำแนวคิดนี้ไปใช้อย่างกว้างขวางในกิจกรรมเชิงธุรกิจก็เมื่อราวคริสต์ทศวรรษที่ 1950 โดยสืบเนื่องจากเมื่อเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง แนวคิดในเรื่องการดีไซน์สมัยใหม่ได้เข้ามาพร้อมกับที่มีสิ่งของมากมายที่หลั่งไหลเข้ามาจากสหรัฐอเมริกาขณะนั้นอุตสาหกรรมและสังคมญี่ปุ่นหลังสงครามอยู่ในสภาพที่ล่มสลาย ID ได้กลายเป็นกลจักรสำคัญในการฟื้นฟูและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นให้พัฒนาขึ้นจนหลุดพ้นจากความยากจนเข้าสู่ความสมบูรณ์พูนสุขในที่สุด
ดีไชน์เนอร์ของบริษัทญี่ปุ่นผ่านการลองผิดลองถูกซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่ก็มิได้หยุดหย่อนที่จะพัฒนาดีไซน์ให้ดียิ่งขึ้น ๆ ไปจนขณะนั้นคงไม่มีใครคลางแคลงใจว่าเหตุผลหนึ่งที่สินค้าญี่ปุ่นจำนวนมากได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลกก็คือการมีดีไซน์ที่คุณภาพยอดเยี่ยมนั่นเอง ดีไซน์นั้นย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับกาลเวลาที่แน่นอนว่า ID ของญี่ปุ่นก็หาได้เป็นข้อยกเว้นไม่ เริ่มตั้งแต่สมัยของศิลปหัตถกรรมที่มีมาก่อนยุคของอุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่ ต่อเนื่องมาสู่ยุคการเติบโตทางเศรษฐกิจระดับสูงหลังสงครามโลกครั้งที่สองมาสู่สังคมอุตสาหกรรมจนกระทั่งมาถึงยุคของสังคมแห่งข่าวสารขั้นสูง
ในปัจจุบันนี้ทั้งดีไซเนอร์และบริษัทญี่ปุ่นเองต่างก็สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และดีไซน์ใหม่ ๆ ออกมาสู่สังคมอย่างไม่ขาดสายและเมื่อบรรจบเข้ากับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจึงทำให้ผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่นวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลาไม่เคยมีแม้แต่วันเดียวที่จะย่ำอยู่กับที่แต่แม้ว่าแบบแผนลีลาของรูปแบบความสามารถหรือสมรรถนะจะเปลี่ยนไปเท่าใดรสนิยมและสุนทรียภาพเป็นสิ่งที่สืบทอดต่อไปโดยไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งนี้น่าเรียกได้ว่าเป็น DNA ของ "วัฒนธรรมการสรรค์สร้าง" ของญี่ปุ่นก็ว่าได้ จวบจนถึงปัจจุบันคุณสมบัตินี้ก็ยังคงอยู่ในสายเลือดของดีไซเนอร์ญี่ปุ่น ทุกวันนี้กล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่าความเป็นนักสร้างสรรค์บวกกับความใส่ใจในความงามของญี่ปุ่นแม้จะเปลี่ยนรูปไปเรื่อย ๆ แต่ยังคงไว้ซึ่งวิญญาณเดิมในยุคปัจจุบันการที่จะรู้จักโครงสร้างและลักษณะเด่นของดีไซน์ของญี่ปุ่นนั้นจะต้องเข้าใจทั้งวัฒนธรรมและประเพณีมุมมองที่มีต่อธรรมชาติความใส่ใจความงามของญี่ปุ่นที่อยู่เบื้องหลัง พร้อมกันนี้จะต้องเข้าใจ "สายพันธุกรรมความเป็นนักสรรค์สร้าง" ของญี่ปุ่นด้วยเช่นกันขอเชิญท่านเยี่ยมชมภูมิหลังของดีไซน์ของญี่ปุ่นภายในสถานที่แห่งนี้อันท่วมท้นไปด้วยข้อมูลหลากชนิดที่เคลื่อนไหวไหลสะพัดและสะสมอยู่ในนี้ได้ตั้งแต่บัดนี้
It was in the 1950's that the concept of industrial design (ID) was actually introduced to Japan, and when Japanese industry started to adopt the concept widely in corporate activities. A modern concept of design accompanied the imports of American goods into Japan after World War Il. In Japan's industry and society, both devastated by war, ID was an engine for recovery and industrial growth, and helped the country escape poverty and move towards a richer and more modern life.
Through repeated trial and error, Japanese corporations and designers worked relentlessly to improve design. Japanese products are items of choice in countries around the world, and I think few would doubt that superb design quality of these products was behind their popularity. Design changes with the times. And Japanese ID is no exception. Since the era of handicraft prior to the emergence of modern industry, then throughout the postwar high economic growth when Japan succeeded in industrialization, and lastly to the present, the era of the advanced information society, Japanese companies and designers have been creating new products and new designs. Today, Japanese products continue to evolve, pacing with technological advance-ments. Each day represents a new starting point.
However, even if form, style, functionality and performance of Japanese products changed dramatically over the years, the likes and sensibilities that flowed beneath stayed the same and were handed down from generation to generation. What was handed down was the "DNA" of Japan's monozukuri mind ( a pursuit of perfection and industriousness in making a thing), and this is still alive amongst Japanese designers. In other words, the monozukuri mind and the sense of beauty behind Japan's design and manufacturing exist today in different forms.
To understand the structure and characteristics of Japanese design, one must understand this "DNA" as well as the culture, tradition, perception of nature, and the sense of beauty that stand behind.
I hope the dynamic space of the exhibition filled with a medley of tips will allow you to get a sense of what lies beneath Japanese design.
สิ่งที่เรียงรายกันอยู่ภายในโซนนี้ก็คือ "สายพันธุกรรม" จำนวน 15 ชนิด ซึ่งคัดสรรออกมาจากบุคลิกภาพเฉพาะตัวที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมการสรรค์สร้างของญี่ปุ่นที่มีมาแต่โบราณกาลบรรดา DNA เหล่านี้น่าจะเรียกได้ว่าเป็นรสนิยมและสุนทรียภาพของชาวญี่ปุ่นต่อวัฒนธรรมการสรรค์สร้างที่มีมาแต่เดิมไม่ว่าจะนับตั้งแต่ยุคสมัยที่ช่างผู้ชำนาญการใช้ฝีมือในการสรรค์สร้าง มาจนถึงยุคปัจจุบันที่มีการใช้เทคโนโลยีอันล้ำสมัยในการผลิตสินค้าที่ก้าวหน้าในระดับสูง สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนธารน้ำที่ไหลอยู่ที่เบื้องลึกของความเป็นดีไซน์แบบญี่ปุ่น
ในจำนวนแผงนิทรรศการทั้ง 15 ชุดนี้ มีการแสดงถึงยุคสมัยของสิ่งของที่ทำขึ้นที่แตกต่างกันออกไปถึง 3 ยุคเพื่ออธิบายถึง DNA ของการดีไซน์ในแต่ละยุคแม้ว่าลักษณะการนำไปใช้และรูปแบบจะแตกต่างกันออกไปมากแต่ในระดับรากฐานดีไซน์เหล่านี้ล้วนถูกร้อยรัดด้วย DNA ร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่
In this exhibition are 15 "genes" extracted from unique personalities that characterize Japanese manufacturing from old times.
This DNA represents the thoughts and sensibilities that the Japanese possess in regards to manufacturing. They have been conveyed over the times as the undercurrent of Japanese design, from when craftsmen produced things by hand to today when cutting-edge technology drives the production of advanced products.
Displayed in each of the 15 display units, in order to explain the unique DNA of each, are three objects made from different time periods. The use, performance, and form differ greatly, but they all possess a common DNA at their core.
บรรดาสิ่งของที่สร้างขึ้นด้วยมือในสมัยเอโตะ (ศตวรรษที่ 17, 19) เป็นยุคโบราณอันไกลโพ้นก่อนหน้าที่จะเริ่มมีการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมสมัยใหม่
Items made by hand during the Edo Period (17th-19th century) long before modern industrial production started.
สิ่งของที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อแนวคิดเรื่อง ID เข้ามาแพร่หลายในญี่ปุ่นประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1950 เรื่อยมาจนถึงราวทศวรรษที่ 1980
Items made in between the 1950's and the1980's during the time after the end of World War II when the concept of ID was spreading full-scale.
สิ่งของใหม่ล่าสุดที่สร้างขึ้นเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
The latest items made after entering the 21st-century.
เมื่อคนสัมผัสกับสิ่งของสัญญาณของคลื่นจากสิ่งของจะส่งผ่านผิวหนังเข้ามาให้เรารับรู้ได้ไม่ว่าจะเป็นของที่ร้อนเย็นนิ่มแข็ง เคลื่อนไหวได้หรือเคลื่อนไหวไม่ได้เมื่อเราสัมผัสกับสิ่งของความสามารถในความเป็นเครื่องใช้ไม้สอยของสิ่งของนั้นก็จะค่อย ๆ ปรากฏให้เราเห็นชัดเจนขึ้น เครื่องหินซึ่งน่าจะเป็นดีไซน์ในยุคแรกของมนุษยชาตินั้นมีหน้าที่ความสามารถที่ชัดเจน เมื่อสัมผัสก็จะเข้าใจความหมายของเครื่องมือนั้นเครื่องหินที่มีไว้สำหรับทุบทำลายสิ่งของเมื่อนำไม้มาติดเป็นด้ามก็เพิ่มสมรรถนะในการทำลายขึ้นไปอีก
ดีไซน์ที่เป็นเลิศย่อมจะสามารถสื่อถึงหน้าที่ความสามารถได้ในพริบตาไม่จำเป็นต้องมีภาษาหรือบุคคลที่สามมาคอยอธิบาย ผมคิดว่านี่แหละคือดีไซน์ยิ่งหน้าที่ความสามารถมีความชัดเจนมากเท่าไรก็ยิ่งมีรูปทรงงดงาม ทุกวันนี้ผมยังคงเสาะแสวงหาดีไซน์ที่มีอินเตอร์เฟสที่ยอดเยี่ยมอยู่
Graduated from the Industrial Design Department, Faculty of Engineering, Chiba University. Established the Sumikawa Design in 1992after leaving Sony Corporation. Applies his vast experience, living aboard in 54 countries, to a broad array of design. Designs everything from medical, communications, and measuring devices, to bath and living products.
When you touch something the vibration of that thing is passed into your body via a signal through the skin. You know if it's warm, cold, soft, hard, and if it moves or does not. When you touch something the function of that tool becomes clear. The function of a stone tool, considered as human-kind's very first design, was very clear. As soon as you touch it you know what that tool used for. With a wooden handle attached, the stone tool used for destruction possessed even more destructive power than before. Excellent design means that the function of the thing is instantly conveyed to you. It has to conveyed to you without words or explanation from a third party. That is what design shall be. And, the clearer the function of an item is, the more beautiful the shape is. I always search for designs that has clear interface.
ดีไซน์คือความเป็นไปได้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดมีทั้งดีไซน์ที่ทำให้ชีวิตของเราสะดวกสบายขึ้น ดีไซน์สำหรับขายของ ดีไซน์ที่ช่วย ให้เรื่องที่เข้าใจยากกลายเป็นเรื่องง่าย ดีไซน์ที่ช่วยให้ใช้ของได้ง่ายขึ้นและดีไซน์ที่ช่วยให้ชีวิตสนุกสนานแช่มชื่น นับวัน เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นและเราสามารถทำความเข้าใจกับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวของเราได้เมื่อนั้นความเป็นไปได้ใหม่ ๆของดีไซน์ก็จะถูกค้นพบมากยิ่ง ๆ ขึ้น สิ่งสำคัญก็คือแม้ว่าโลกและคำนิยมของคนจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ก็ตามแต่ เราก็ควรจะต้องแสวงหาคำตอบอยู่เสมอว่าดีไซน์ให้อะไรกับเราได้บ้างคิดว่าคงไม่มีคำตอบสุดท้ายว่า "ดีไซน์นี้" สมบูรณ์ดีพอเพราะการคิดเกี่ยวกับดีไซน์ก็เหมือนกับการตั้งคำถามว่า "ความสมบูรณ์พูนสุขนั้นคืออะไร" นั่นเอง
Born in Tokyo in 1955. Graduated from Tokyo National University of Fine and Music in 1979, majoring in Design. Completed graduate course at the same university in 1981. Established Taku Satoh Design Office in 1984, after leaving Dentsu Inc. Created product designs for "Nikka Pure Malt", "Lotte Chewing Gum (Mint series)", "Lotte XYLITOL Gum", "Taisho Pharmaceutical's ZENA " nutritious drink, MEIJI Dairies' "Oishii Gyunyu" milk, and "NTT CoCo-Mo FOMA p701iD" cellular phone , etc. Creative VI for "BS Asahi" (TV Station), "21st Century Museum of Contemporary Art, Kanazawa", "Tokyo Metropolitan University" and THE MITAKE ISSEY FOUNDATION". Involved in planning and art directing of "Nihongo de Asobo" (Let's Play in Japanese), a TV program on NHK educational channel, and in "Analysis of the Massproduct Design" project ("dissect- ing" mass-produced merchandise from perspective of design).
There is design that makes our life easier, design intended to sell things that makes difficult things easy to understand, design that makes things easy to use, and design that makes us feel good. Through the evolution of technology and understanding of the environment that envelops us, more and new design possibilities will be discovered. The important thing is to continue to search for what design can do for us as the world and people's sense of values change. I do not think "satisfactory" design exists. I think that thinking about design is the same as thinking about "what is richness".
อาหารหนึ่งจานต้องผ่านการคัดสรรวัตถุดิบแล้วนำมาปรุงวางลงในจานเสิร์ฟและผ่านการบริการเพื่อนำส่งถึงผู้ที่รอคอยอยู่ หากเป็นอาหารหนึ่งจานที่มีรสชาติโอชาเหนือความคาดหมายเมื่อได้ลิ้มรสอาหารนั้นประสบการณ์ทั้งหมดที่ผ่านมาจนถึงวินาทีนั้นก็จะส่งผลให้ร่างกายตอบสนองอย่างหฤหรรษ์จนไม่ว่าใครก็อยากจะมีส่วนร่วมรับรู้ประสบการณ์เช่นนี้
เวลาปรุงอาหารเราต้องลองคิดดูว่าคนที่ต้องการบริโภคอาหารนั้นคือใคร ต้องการที่ไหน เพื่ออะไร นึกถึงอาหารอะไรและเหตุใดจึงอยากบริโภค เมื่อได้ไตร่ตรองแล้วจึงเฟ้นหาวัตถุดิบวิธีการปรุงและเวลาที่เหมาะสมที่จะจัดให้บริโภค ในทำนองเดียวกันการดีไซน์ผลิตภัณฑ์ก็ต้องรีบเข้ามามีบทบาทเป็นแก่นกลางของกระบวนการสนองความต้องการในรูปแบบที่เบ็ดเสร็จคล้าย ๆ กันนี้ให้ได้ด้วยการมองให้เห็นภาพรวม ใช้ความรู้และสติปัญญาตลอดจนไอเดียและจินตนาการให้เกิด ประโยชน์สูงสุดสังคมยุคที่ข้อมูลข่าวสารที่อิ่มตัวในขณะนี้เป็นบ่อเกิดของความต้องการที่สลับซับซ้อนมากขึ้นเรียกได้ว่าเป็นยุคสมัยที่การสนองความต้องการทางร่างกายอย่างเดียวไม่เพียงพอเสียแล้ว
คนเราต้องการความพึงพอใจในด้านจิตใจและสัมผัสทั้ง 5 มากขึ้น ดีไซน์มีความจำเป็นในการแสดงความเป็นมิตรให้เห็นเป็นรูปธรรมหน้าที่ของข้าพเจ้าก็คือการเสนองานดีไซน์ที่เกื้อหนุนสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นให้ได้
Born in Tokyo in 1965. Worked at Masayuki Kurokawa Architect & Associates, Inc. after graduating from Kuwasawa Design School in 1988. Established Tetsutaro Design in 1977. Part-time instructor of the id Design Course at Nihon University College of Art from 2005. Involved in design planning related to living space, such as information devices and appliances, general merchandise, furniture, building materials, etc. Received G Mark Award for "InterCooler GTX (note PC cooling stand/2001)". Organized a design unit, "TEAM-N", with Tomoyasu Naito in 2000, and is involved in the development of original products such as "Birds-Foot"
You prepare ingredients, cook them, and deliver to people waiting anxiously through appropriate service. Everybody wants to participate in, or involved in, experiencing the moment when your whole body, with all past experience, recognizes that the food filling up your mouth is the dish that exceeds your expectations. From an overall aspect we must think of what type of person wants to eat what type of dish in what type of place for what reason, and how they want you to deliver it using what type of ingredients prepared in what manner. Our most pressing duty is to propose a comprehensive solution using knowledge, wisdom, ideas, and images. This is the core role of producing design. An information-oriented society produces higher grade desires and it is an era where people want to be satisfied not just physically but also emotionally with all our senses. I believe that my mission is to offer design work, which contributes in realization of this hospitality.
ดีไซน์ในอุดมคติของดิฉันคือสิ่งของที่ไม่ใช่เพียงสิ่งของหากแต่เป็น "ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้มีความผูกพันและใช้ไปนาน ๆ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต" เพราะดีไซน์อย่างไรก็สามารถสร้างสิ่งของเครื่องใช้อะไรก็ได้แต่หากมิใช่ดีไซน์ที่ถูกต้องก็ จะไม่สามารถเป็นสะพานเชื่อมระหว่างคนกับสิ่งของได้ดี ดีไซน์ที่ยอดเยี่ยมต้องสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง คนกับสิ่งของได้ นั่นก็หมายถึงเกิดความผูกพันความปราโมทย์ยินดียามเมื่อได้ใช้และจิตใจที่หวงแหนจนให้ความสำคัญกับสิ่งของนั้นมาก
นี่คือบทบาทที่การดีไซน์ได้รับมอบหมายให้ทำมากไปกว่าเพียงแค่แสวงหาความสวยเก๋และทันสมัยมิใช่หรือ? สิ่งที่คิดคำนึงอยู่ทุกวันในเวลานี้ก็คือก่อนจะคิดถึงตัวเองในบทบาทของดีไซเนอร์ในฐานะเป็นคนหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ในกระบวนการผลิตและใช้ทรัพยากรของโลกอันมีอยู่จำกัดมาใช้ทำเป็นสิ่งของดิฉันอยากจะแสดงความรับผิดชอบด้วยการนำเสนอดีไซน์ที่ถูกต้องเหมาะสม
Graduated from the Department of Industrial, Interior and Craft Design, Musashino Art University in 1990. Established Design Studio S in 1994 after Toshiba Corporation. Design everything from electronics to articles for daily living in the ID area. Recent designs include the "Combi Baby Label series", "Muji Bead Pouf", "Zojirushi Corporation ZUTTO", "Omron Electronic Thermometer" "AU by KDDI Mobile telephone Sweets". Received "Good Design Award '' for five times in the past, and now acting as a Good Design Award judge and a part-time instructor at Tama Art University from 2006.
My ideal is that things should be "products that become a part of our life as we use with affection" You can design things anyway you want to but if the things are not designed correctly, then there would be no connection between "people and things". Whether the connection be affection, the joy from using it, or the feeling that you want to take good care of it, I consider that design which creates a relationship between "people and things", is an excellent design. The role of design, I believe, does not solely lie in how stylish and modern the design is, but mainly in the idea of connecting people and things.
By creating correct design, I, myself not just as a designer, but also as a person involved in manufacturing, hope to fulfill my responsibility of using natural resources for producing things.
การดีไซน์ผลิตภัณฑ์คือการดึงเอาความปรารถณาความหวังความฝันและภาพของชีวิตที่ควรจะเป็นออกมาจากจิตใต้สำนึกของผู้ใช้แต่ละคนนำเอามากรองผ่านฟิลเตอร์ของดีไซเนอร์เพื่อให้กลายเป็นสิ่งของที่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับได้ทั่วไป ฟิลเตอร์สำหรับดีไซเนอร์อันหนึ่งของดิฉันก็คือความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งของ ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ที่สวมใส่กับตัว" ซึ่งหลายปีมานี้ ดิฉันใช้เวลาไปกับการคิดถึงเรื่องนี้เป็นหลักสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันมักจะเป็นสิ่งที่เราใช้มือสัมผัสหรือไม่ก็ใช้รองรับก้นเวลานั่งลง เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับร่างกายทั้งสิ้นความสัมพันธ์นี้อาจจะมองได้ว่าเป็น "ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ที่สวมใส่กับตัว" เมื่อทำความเข้าใจเช่นนี้ กระเป๋าถือก็มิใช่เป็นเพียงเครื่องประดับตามแฟชั่นเท่านั้น หากแต่ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่ได้ดีโดยที่สายสะพายไหล่ทั้งสองเส้นต้องไม่หลุดแยกจากกันเมื่อผู้ใช้สะพาย หรือกระทั่งรองเท้าแตะแม้จะตัดแบบมาจากวัสดุเพียงแผ่นเดียว ก็ต้องสามารถรองรับเท้าและให้สัมผัสในการสวมใส่ที่สบายเหมือนดังเป็นรองเท้าที่มีโครงสร้างใหม่
ดิฉันคิดว่าก่อนที่จะคิดเรื่องดีไซน์สิ่งสำคัญคือเราควรต้องตระหนักให้ดีว่าตนเองคือผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมสมัยใหม่ดีไซน์จึงเป็นผลของการนำเสนอความสัมพันธ์
Born in Tokyo. Graduated from Tokyo National University of Fine Arts and Music in 1990, and established Hirota Design Studio in 1996. Exhibited at Milano Salone and held a personal exhibition in Milano in 1997. Premiered NAOCA collection at Premier Class (Paris) from 1998 to 2000. Exhibited at Tokyo Designers Block in 2001. Received Gold-medal at International Luggage Design Competition Toyooka(1994), received Gold-medal at Design Forum (1999), selected as JIDA Design Museum Selection (2004), etc.
Product design finds the hidden desires,wishes and dreams of the user and the form that living should be, and sublimates itself through the designer's filters. I have been thinking for these few years about "products to put on", or the relationship between people and things, as one of these designer's filters. In our everyday life we touch things and devote ourselves to the things to sit down on. In other words, there exists a direct relationship between people and things. By interpreting this relationship as "product to put on", a bag ceases to be just a fashion accessory but becomes a product with two handles that stay together even if you carry it on your shoulder. Slippers cut from one sheet of material become comfortable footwear with a new structure that has a function to hold ankles. Before I design something, I consider it important to recognize myself as a person living in a modern society. I think that designing results in the proposition of relationship among people and relationship between people and things.
ชาวญี่ปุนนิยมชมชอบสิ่งที่เล็กและละเอียดบรรจงมาตั้งแต่สมัยโบราณ การแสดงออกซึ่งฝีมืออันประณีตละเอียดอ่อนโดยผ่านการประติษฐ์ งานฝีมือถือว่าเป็นศิลปะฟื้นบ้านของญี่ปุ่นอย่างหนึ่ง วัฒนธรรมนี้ยังคงมีอยู่สืบทอดเรื่อยมาตลอดยุค ของอุตสาหกรรมสมัยใหม่มาจนถึงยุคปัจจุบันนี้เมื่อใดก็ตามที่มีของใหม่ปรากฏขึ้นทันทีนั้นก็จะมีความพยายามเพื่อที่จะทำให้ของสิ่งนั้นมีขนาดเล็กลง น้ำหนักเบาลง ทว่าเป้าหมายมิใช่เพียงแค่จะทำให้เล็กลงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่จะต้องทำให้สิ่งที่เล็กลงนั้นมีสมรรถนะสูงขึ้นด้วย ในเวลาเดียวกันผลที่ได้ก็คือสิ่งของที่มีขนาดเล็กและสมรรถนะสูงนั้นได้กลายเป็นเครื่องมือที่สะดวกและใช้ง่ายอีกทั้งยังเปิดประตูสู่ความเป็นได้ใหม่ ๆ อีกมาก
From old times the Japanese have liked small, precise things. Fine tooling and the detailed expression produced by extraordinary craftsmen are two of the hallmarks of traditional Japanese crafts. This culture has been passed on over the years until present day even through the age of modern industry. The moment something new appears, the Japanese strive to make it smaller and lighter, but it is not the only goal.nThe Japanese aim to improve its performance while making it smaller. And as a result, this item that has evolved to be small and yet have high performance, expands the convenience and possibilities as a tool.
กล่องยาพกพาติดตัว นักรบจะเอาห้อยไว้ที่เอว กล่องยาที่สวยงามทรูหราเป็นของใช้ที่แสดงถึงความเป็นตัวของตัวเองของบุคคลนั้น ๆ ได้
Inro is a portable pill case, typically worn on the waist by Samurai warriors. Its luxurious and intricate design variations made it an important tool for expressing one's individuality.
1960 sony corporation วิทยุทรานซิสเตอร์ขนาดเท่าซองบุหรี่ ในสมัยนั้นวิทยุทรานซิสเตอร์เคยเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลักอย่างหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นยุคหลังสงครามโลก
1960 sony corporation This transistor radio is about the size of package of cigarettes. In those days, the transistor radio was an industrial product that symbolized post-war Japan.
2004 CASIO COMPUTER CO., Ltd กล้องดิจิตอลสมรรถนะสูงแบบบาง ผลิตออกมาบาง 22.9 มม. ทั้งที่บรรจุเลนส์เลื่อนได้กำลังขยาย 3 เท่า
2004 CASIO COMPUTER CO.,Ld This is a thin, yet high-performance digital camera. The camera, measuring just 22.9mm, houses a 3x optical zoom sliding lens.
อีกอย่างหนึ่งที่ชาวญี่ปุ่นถนัด คือ การนำเอาฟังก์ชัน (ความสามารถ) ที่หลากหลายเข้ามาผนึกรวมอยู่ในแพคแกจเดียวกัน อย่างลงตัวเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานและพกพาทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนตัวอย่าง เช่น โทรทัศน์และเครื่องเล่นเทปวิทยุ ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นเครื่องใช้คนละจำพวกกันก็ถูกนำมาผสานรวมอยู่ในเครื่องเดียวกัน ผู้ใช้สามารถพกพานำโทรทัศน์ไปให้ความบันเทิงได้ ณ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจกลางแจ้ง กลายเป็นมิติใหม่ของการดูโทรทัศน์ นอกจากนี้เรายังพบว่าโทรศัพท์มือถือซึ่งเรียกได้ว่าเป็นตัวแทนของผลิตภัณฑ์ ที่หลากความสามารถในยุคปัจจุบันนี้มีความสามารถเกินกว่าโทรศัพท์ธรรมดา ไปไกลมากเพราะว่าเป็นกล้องถ่ายรูปดิจิตอล กล้องวิดีโอโทรทัศน์ เครื่องเล่นเพลง คอมพิวเตอร์ และบัตรเครดิต ฯลฯ โทรศัพท์มือถือได้วิวัฒนาการมาไกลจนมีความสามารถนับ ๆ ไม่ถ้วน จนเหมาะที่จะเรียกว่า ได้เปลี่ยนโฉมมาเป็นอุปกรณ์พกพาชนิดใหม่ไปแล้ว
The Japanese are very good at combining multiple functions into a single object, creating an innovative product, which is both convenient and portable. The Television/Radio Cassette Recorder, which fuses two items that were in different categories, enables the user to enjoy watching television in a new way in outdoor recreation spaces. The mobile telephone, which could be considered the most representative of modern multifunction products, has greatly exceeded the functionality of a telephone. It has evolved into what could be called a new mobile terminal that incorporates endless functions such as a digital camera, video camera, TV, music player, Pc terminal, and credit card, etc.
ปัจจุบันอาจเรียกว่าชุดปิกนิก คิดค้นให้เก็บรวบรวมและเคลื่อนย้ายหน้าที่การใช้งานทุกอย่างที่จำเป็นในการรับประทานอาหารนอกสถานที่ เช่น กับข้าว ตะเกียบ เป็นต้น
Chaseki Kumiawase Shinobibako can be linked to today's picnic kit. The portable kit can contain food ingredients, picnic-ware and other items required for outdoor dining.
Jackal 1977 Sony Corporation ผลิตภัณฑ์เอนกประสงค์ที่ผนวกโทรทัศน์เข้าไปกับเครื่องเล่นเทปวิทยุที่สมัยนั้นได้รับความนิยมอย่างมากเป็นการเสนอแนวคิด "พกพาโทรทัศน์"
Jackal 1977 Sony Corporation Jackal is a multi-function unit that integrates TV into a radio cassette player, which was a popular device at the time. It advocated" portable TV viewing".
2005 KDDI Corporation/ CASIO COMPUTER CO.,LTD ตัวถังกันน้ำและและแรงกระทบได้ประกอบด้วยหน้าที่การใช้งานหลาย ๆ เช่น มีกล้องดิจิตอล 1.28 ล้านพิกเชล อุปกรณ์นำร่อง GPS เข็มทิศอิเล็กทรอนิก นำทางไปยังจุดหมายด้วยเสียงพูด เป็นต้น
2005 KDDI Corporation/ CASIO COMPUTER CO..LTD The waterproof and also shockproof body carries functions such as a 1,280,000-pixxel digital camera, GPS navigation, electronic compass, etc. A voice guide leads you to your destination.
แต่ไหนแต่ไรมาแล้วชาวญี่ปุ่นมักชอบดัดแปลงสิ่งของเครื่องใช้ให้สามารถพกพาติดตัวไปไหนต่อไหนได้สะดวก ในสมัยเอโดะ (ศตวรรษที่ 17 - 19 มีสิ่งที่เรียกว่า "ยาทาเตะ" หมายถึงกล่องบรรจุพู่กันและหมึกที่นักเดินทางมักจะพกพาติดตัว โดยการห้อยไว้ที่เอวช่วยให้นักเดินทางสามารถนั่งลง เขียนจดหมายที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ การทำให้สิ่งของเครื่องใช้สามารถพกพาได้หรือแนบติดตัวได้ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งของในรูปแบบใหม่ เครื่องเล่นเทป "วอล์คแมน" ที่เกิดขึ้นจากวัฒนธรรมนี้เมื่อปี ค.ศ. 1979 ได้นำเสนอวิถีชีวิตแบบใหม่ที่ช่วยให้เราอยู่กับดนตรีได้ตลอด 24 ชั่วโมงไม่ว่าจะนั่งอยู่ในบ้านหรือเดินอยู่นอกบ้าน ในปัจจุบันนี้ก็มีผลิตภัณฑ์ชนิดพกพาอีกหลายต่อหลายอย่าง เช่น เครื่องป้องกันตัวจากอาชญากรรมชนิดพกพาหรือเครื่องเล่นเกม เป็นต้น
Improving items so that you can attach them to your person and carry them with you has been done since old times. The "Yatate," a portable ink and brush case that travelers in the Edo Period (17 th - 19 th century) carried around with them just by attaching it to their waists, enabled a traveler to write a letter anywhere they went. Mobility integration has created a new relationship between "human" and "object". The Walkman (1979), which was born of this culture, offered a new lifestyle that enabled the user to enjoy music 24 hours a day wherever they went, including walking outside. More and more mobile products such as portable anticrime terminals and game devices are being produced nowadays.
เครื่องเขียนพกติดตัวประกอบด้วยที่ใส่พู่กันและแท่นหมึก เป็นเครื่องใช้จำเป็นในการเดินทางในสมัยเอโดะออกแบบให้ห้อยไว้ที่เอวได้
Yatate is a portable writing kit that combines a brush case and an inkpot. In the Edo Period, the kit was re-designed so that it can be carried on the waist, making it an essential travel item.
1979 Sony Corporation ผลิตภัณฑ์ที่ปฏิวัติรูปแบบโดยสิ้นเชิงเพื่อการสร้างวิถีชีวิตใหม่ ๆ “มีเพลงติดตัว” “พกพาเพลง” เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมาก
1979 Sony Corporation Walkman was an epoch-making product that created a new lifestyle of "wearing music" and "carrying music". It became a major hit.
2001 SECOM CO., LTD ระบุตำแหน่งของผู้พกพาอย่างแม่นยำด้วย GPS เมื่อมีเหตุเกิดและกดปุ่มพนักงานรักษาความปลอดภัยจะรีบมาที่สถานที่นั้น ๆ ได้ทันที
2001 SECOM CO.,LTD KokoSECOM uses GPS to identity the location of the terminal carrying person with high precision. Security staff will rush to the scene at a press of the button in emergency.
1996-BANDAI Co., Ltd เกมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเสมือนจริงในจอผลึกเหลวได้รับความนิยมตรงที่สามารถดูแลสัตว์เลี้ยงเสมือนจริงได้ตลอดเวลาโดยการพกพาติดตัวผู้เล่น
1996-BANDAI Co.,Ltd Tamagotchi is a portable game device, in which you can care for a virtual pet on the LDC screen. The secret of the popularity is its portability and the fact that user can look after the pet anytime, anywhere
มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่ได้เปลี่ยนแนวคิดแบบดั้งเดิมว่าด้วยการคบหาระหว่างคนสิ่งของไปอย่างสิ้นเชิงทำให้เวลาและพื้นที่ซึ่งยังไม่เคยใช้ได้มาก่อนสามารถนำมาใช้ได้เกิดเป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ระหว่างคนกับสิ่งของ ผลิตภัณฑ์ที่ชื่อว่า "เดนสึเกะ" ที่ออกมาในปี ค.ศ. 1973 ช่วยให้ผู้ใช้สามารถบันทึกเสียงด้วยคุณภาพสูงได้โดยไม่เลือกสถานที่ซึ่งก่อนหน้านี้ทำได้แต่ในห้องอัดเสียงเท่านั้น นอกจากนี้ "วิดีโอวอล์คแมน" ที่ออกมาในปี ค.ศ. 1988 ก็ช่วยให้สามารถนำภาพเคลื่อนไหวออกไปสู่พื้นที่นอกบ้านได้ภาพวิดีโอซึ่งแต่ก่อนหน้านั้นต้องดูด้วยเครื่องเล่นภายในบ้านหรือที่ทำงานก็กลายเป็นสิ่งที่นำไปดูที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้สินค้าอีกจำพวกหนึ่งในระยะหลัง ๆ นี้ที่กล่าวได้ว่าสืบทอดมาตามแนวนี้ก็ได้แก่ บรรดาเครื่องดนตรีไร้เสียงที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถฝึกฝนด้วยตัวเองได้ในเวลาที่ไม่น่าจะทำได้เช่นในเขตที่อยู่อาศัยอันหนาแน่นในยามราตรี
There are many products being born that create a new relationship between people and things by enabling them to utilize time and space in ways never before. In 1973 the birth of the "Denduke" enabled people to record high-quality sounds outside musical studios. In addition, the "Video walkman" (1988) enabled users to bring their videos with them anywhere they liked. Before then, videos could only be viewed at home, or on office VCRs. This idea of expanding space and time still exists in the production of the silent instrument series, with which users can play in the middle of the night or in densely populated areas.
ภายในเผาถ่านใช้สำหรับให้ความอบอุ่นหรือต้มน้ำร้อนเรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ทำความอบอุ่นเคลื่อนที่ นำกระถางนี้ไปที่ไหนก็สามารถได้รับความอบอุ่นที่นั่น
Hibachi is a portable heating device that burns charcoal inside for heating and water-boiling purposes. People used to carry this around for instant warmth.
"วอล์คแมน" สำหรับภาพจากการสามารถ "พกพาภาพ" ไปไหนมาไหนได้ ทำให้สามารถชมภาพวิดีโอที่ไหนก็ได้เมื่อไรก็ได้
Video Walkman is a video version of "Walkman". It allows users to "carry video footages around" for instant playback anywhere and anytime.
เครื่องเล่นเทปแบบพกพาที่มีคุณสมบัติบันทึกเสียงสเตริโออย่างครบถ้วนสามารถบันทึกเสียงคุณภาพสูงได้โดยไม่เลือกสถานที่
Densuke is a portable cassette tape recorder with full-spec stereo recording capability. It removes place constraints in conducting high-quality sound recording.
หนึ่งในเครื่องเล่นดนตรีอิเล็คทรอนิกส์ ทำให้สามารถฝึกซ้อมได้ไม่เลือกเวลาและสถานที่โดยให้มีเสียงออกทางหูฟัง
Silent Violin is one of a series of electronic musical instruments. The sound can be heard with headphones so that the instrument can be practiced any time and anywhere
คงเป็นเพราะว่าส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธนิกายเซนทำให้ชาวญี่ปุ่นมักนิยมชมชอบที่จะตัดทอนเครื่องตกแต่งที่เกินจำเป็นออกไป เหลือแต่ความงดงามแบบเรียบง่ายและน้อยส่วนที่สุด รสนิยมในความงามลักษณะนี้ปรากฎให้เห็นอยู่แพร่หลายอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะในสาขาศิลปะ เช่น ภาพเขียน หรือลายหนังสือพู่กัน อีกทั้งเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันไปจนถึงสถาปัตยกรรมและสวนแต่งสินค้ายี่ห้อ "มุจิรุชิเรียวฮิน" ที่ละทิ้งการตกแต่งที่เปล่าประโยชน์และการดีไซน์ที่เกินจำเป็น หากแต่มุ่งนำเสนอกลุ่มสินค้าที่มีคุณภาพสูงเพื่อวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ก็เรียกได้ว่าเป็นการตอบสนองต่อรสนิยมในแนวนี้ของชาวญี่ปุ่น
ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันนี้ยังได้รับความนิยมจากตลาดโลกนอกประเทศญี่ปุ่นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าทั่วโลกที่นิยมวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเช่นกัน ตัวอย่างสินค้าที่ได้รับความนิยมในระยะหลังนี้ได้แก่ "โทฟุ" (ปี ค.ศ. 2000) และสินค้าอื่น ๆ อีกจำนวนมากที่ขายดีไซน์อันเฉียบคมและตัดทอนส่วนแต่งให้เหลือน้อยที่สุด
As a reflection on Zen in part, the Japanese are inclined to pursue simple and minimal beauty that does away with ornamentation. This sense of beauty greatly permeates the world of manufacturing and stretches from its origins in different fields of art, such as painting and writing, to daily living products, and even construction, and landscaping. It can be said that the "Muji" brand, which offers a simple lifestyle full of fine products free from excess design and wasteful ornamentation, is in response to this Japanese way of thinking. But the brand has entered foreign markets and is widely supported by people of the world who long for a simple lifestyle. Among recent products exist many minimal and sharp designs best represented by "ToFu" (2000)
เซนโนะริคิว (ศตวรรษที่ 16) ผู้ก่อตั้งรากฐานของวัฒนธรรมการดื่มน้ำชา ได้เลิกใช้ถ้วยน้ำชาที่ตกแต่งอย่างสวยงามและเสนอใช้ถ้วยน้ำชาที่เรียบง่ายแต่เคร่งขรึม
Senrikyu (16th century), who laid the foundation for the traditional art of tea ceremony, advocated the use of a plain, tense yet introspective design for tea bowls, instead of fancy and decorative ones.
แบรนด์เนมที่เผยแพร่แนวคิดผลิตภัณฑ์ที่เรียบง่ายสวยงามโดยเน้นที่ลักษณะเฉพาะของวัตถุดิบและการผลิตที่ไม่ใช้ทรัพยากรอย่างสูญเปล่าปัจจุบันขยายสาขาออกไปต่างประเทศด้วย
Muji is a brand developed under the concept of providing goods in simple yet beautiful designs that take advantage of the characteristics of materials used without wasting resources. The brand is also marketed overseas.
2000 Yamagiwa Corporation รูปทรงที่เรียบง่ายเท่าที่จำเป็นประกอบด้วยก้อนพลาสติกอะคริลิกและโคมอลูมิเนียมเท่านั้น ให้ความรู้สึกเคร่งขรึมอย่างมีเอกลักษณ์
2000 Yamagiwa Corporation ToFu has a simple and minimal design, consisting only of an acrylic block and aluminum lighting, to create a distinctive sense of serene tension.
ความต้องการที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยอาศัยสิ่งของเป็นตัวกลางก็เป็นลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของดีไซน์ของญี่ปุ่น ภายในห้องประกอบพิธีชงน้ำชาแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นอุปกรณ์ชงชามีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวกลางเชื่อมต่อการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เครื่องเล่นเกมคอมพิวเตอร์แบบพกพารุ่นบุกเบิกยี่ห้อ "เกมบอย" (ค.ศ.1989) โดยตัวของมันเองก็เป็นตัวกลางระหว่างผู้เล่นกับเกม แต่ที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือปุ่มควบคุมที่มีรูปร่างเหมือนเครื่องบวกซึ่งนับได้ว่าเป็นการออกแบบที่เปลี่ยนโฉมหน้าของการติดต่อสื่อสารระหว่างคนกับซอฟท์แวร์ไปอย่างมาก "ฮิการุกีต้าร์ (กีต้าร์แปล่งแสง)" (ค.ศ. 2002) ซึ่งได้รับการออกแบบมาให้คนทั่วไปไม่ว่าใครก็สามารถใช้เล่นดนตรีได้โดยง่ายก็เรียกได้ว่าเป็นตัวกลางระหว่างคนกับดนตรีนั่นเอง
Another characteristic of Japanese design is the desire to communicate through items. In traditional Japanese tea rooms, the tea set plays an important role as an interface for communication. The portable game device pioneer "Gameboy" (1989) is an interface between humans and games, and what should be especially mentioned is the cross-shaped control buttons, a revolutionary invention that enables complicated movements with one hand. This cross-shaped controller greatly changed the way people communicate with software. The 'Hikaru Guitar" (2002) is an item that allows anybody to easily experience the joy of playing musical instruments and is a literal interface between humans and music.
ห้องน้ำชาเป็นสถานที่สำหรับสื่อสารใจระหว่างเจ้าบ้านและแขกไปพร้อม ๆ กับการเพลิดเพลินกับน้ำชา ภาชนะน้ำชาและอุปกรณ์ที่ใช้เป็นเครื่องมือใช้เป็นสื่อกลางของการสนทนา
The tea room was a place of communication where the head of the household can enjoy conversation with guests over a bowl of tea. Tea ware and tea making tools used also served the role as conversation medium.
มีจำหน่ายทั่วโลกเมื่อปี 2000 สามารถทำยอดขายได้ถึง 100 ล้านเครื่อง เครื่องบังคับรูปกากบาทได้ช่วยเพิ่มความสามารถในการบังคับเกมและความเป็นไปได้ของเกมได้อย่างมาก
Game Boy has been released worldwide and sold over 100 million units by2000. The innovative cross-shaped controller expanded the operability and potential of video games.
สามารถเล่นกีต้าร์ได้เพียวกตสวิทช์แสงที่กระพริบโดยอัตโนมัติตามข้อมูลเพลงนอกจากเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแล้วยังสามารถใช้เป็นอินเตอร์เฟสสัญญาณเข้า :MIDI
3ased on music data given, EZ-EG automatically illuminates cord positions so that even the most novice of guitar players can play cords. It can be connected to PC and also serves as and input interface for midi signals.
ลักษณะเด่นอันหนึ่งของผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นก็คือการพัฒนาเทคโนโลยีที่มุ่งไปสู่การทำงานแบบอัตโนมัติและประหยัดพลังาน เพื่อลดความยุ่งยากและเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้นักออกแบบญี่ปุ่นพยายามปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทุก ๆ วันให้สามารถทำงานโดยอัตโนมัติและประหยัดพลังงาน ตั้งแต่สินค้าที่ใกล้ตัว เช่น รถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านไปจนถึงอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้เพื่อการผลิตภายในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอันหนึ่งก็คือหม้อหุงข้าวไฟฟ้า รูปแบบและหลักการพื้นฐานในการทำงานของหม้อหุงข้าวไฟฟ้านั้นไม่ได้แตกต่างไปจากสมัยที่ยังใช้เตาถ่านหุงข้าวแต่สมรรถนะในการทำงานเพื่อให้ได้ข้าวที่อร่อยอย่างสะดวกสบายนั้นพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากตามกาลสมัยผู้คนเคยกระทั่งกล่าวถึงหม้อหุงข้าวไฟฟ้าว่า "ช่วยปลดแอกแม่บ้านให้เป็นอิสระ" เพราะก่อนหน้าที่จะมีหม้อหุงข้าวไฟฟ้านั้นก่อนอาหารแม่บ้านจะต้องอยู่เฝ้าหม้อหุงข้าวที่บ้านไม่สามารถไปไหนได้ เมื่อสามารถหุงข้าวโดยการตั้งเวลาอัตโนมัติได้จึงทำให้แม่บ้านถูกปลดปล่อยพ้นจากพันธนาการนี้ดีไซน์ของญี่ปุ่นมักจะมุ่งปรับปรุงสมรรถนะในความเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ของสินค้าให้สูงขึ้นอยู่เสมอ
One of the characteristics of Japan's industrial products is that they provide automation/labor-saving with the power of technology and increase convenience while doing away with users' labor continue on a daily basis in regards to anything from familiar items, such as car and home appliance products, to large-scale industrial production equipment. A typical example is the rice cooker. The fundamental principle and style has not changed from the days when the rice was cooked in a kiln, but the performance that enables the convenient cooking of delicious rice has evolved greatly with the times. It is even said that "the electric rice cooker liberated the housewife". In the days before the electric rice cooker, a housewife was not able to leave the house before mealtime, but those bonds were broken by the rice cooker with a timer. Japanese design is relentless in its pursuit to improve the performance of these types of tools.
ก่อนที่แก๊สจะแพร่หลายทั่วไปการหุงข้าวและทำกับข้าวในแต่ละวันทำกันด้วยเตาทำอาหารนี้และหม้อ
Until the use of city gas became widespread, Japanese households cooked rice and other foods in Kamado oven.
1955 TOSHIBA CORPORATION สินค้าเชิงปฏิวัติที่ช่วยทุ่นแรงของแม่บ้านการออกแบบนี้กลายเป็นต้นแบบของหม้อหุงข้าวไฟฟ้าต่อมา
1955 TOSHIBA CORPORATION This was an epoch-making product that dramatically reduced housewives' housework burden. The design still provides the basis for today's electric rice cookers.
2004 ZOJIRUSHI CORPORATION หม้อหุงข้าวอิเล็ทรอนิกส์ทันสมัยรูปร่างสวยเรียบง่ายแต่มีความสามารถมากมายด้วยระบบควบคุมแบบคอมพิวเตอร์บริเวณแผงควบคุมก็ใช้ง่ายและเรียบง่าย
2004 ZOJIRUSHI CORPORATION ZUTTO is a cutting-edge electronic rice cooker that houses diverse computer-controlled functions in a simple and beautiful casing. Operations are also simple and easy.
ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่นก็คือจะนำเอาทักษะความสามารถพิเศษที่อยู่ในมือของคนกลุ่มเดียวที่เป็นมืออาชีพปลดปล่อยออกสู่คนทั่วไปให้ใคร ๆ ก็สามารถทำได้หรือเรียกได้ว่าเป็นการ "ปลดปล่อยทักษะความสามารถออกสู่คนหมู่มาก" ผลที่เกิดขึ้นก็คือทำให้คนอีกจำนวนมากได้รับความพึงพอใจใหม่ ๆ หรือมีวิถีชีวิตใหม่เข้ามาจรรโลงชีวิตมากขึ้น เมื่อราว 40 ปีก่อนมีการจำหน่ายกล้องถ่ายภาพยนต์ขนาดเล็กที่ใช้ฟิล์ม 8 มม. มีชื่อเรียกว่า "ฟูจิกาซิงเกิล8" (ค.ศ. 1965) โดยมีสโลแกนว่า "ฉันก็ถ่ายหนังได้!" ซึ่งก็จริงตามนั้นคือสินค้าตัวนี้ช่วยให้ใคร ๆ ก็สามารถถ่ายภาพยนต์ได้อย่างง่าย ๆ ภาพลักษณ์ในยุคนั้นที่เคยนึกกันว่าการบันทึกภาพเคลื่อนไหวเป็นเรื่องที่อยู่ในโลกของมืออาชีพเท่านั้นถกเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงเมื่อผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ปรากฏตัวขึ้นและได้กลายเป็นชนวนให้การถ่ายภาพยนต์ด้วยตนเองแพร่หลายไปสู่ครอบครัวชาวบ้านทั่วไปหรือแม้แต่จักรเย็บผ้าในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยระบบการควบคุมด้วยอิเล็คทรอนิกส์ก็มีความสามารถในการเย็บปักถักร้อยที่แม้แต่มืออาชีพก็ยังต้องอาย
When implementing technological development and manufactured product development in Japan, one theme of approaching the goal may be described as: to make the public access to the technique restricted only to the professionals. This theme can be called "making expertise accessible by the public''. With this approach, people can now spend a new typed of pastime and obtain a new lifestyle. The "Fujica single 8" (1965), a compact portable 8mm camera that was launched on the market 40 years ago, enabled anyone to easily make movies just as its catchphrase, "Even I can make a movie !" proclaimed. Although the image of moviemaking had been restricted to the world of professionals, the emergence of this product dramatically changed the image of moviemaking and popularized video to the everyday consumer. Present-day sewing machines, which could also be called a little bundle of electronic control, enable complicated stitching that would put a professional to shame.
เครื่องดนตรีที่แสดงถึงการเบ่งบานของวัฒนธรรมชาวบ้านในสมัยเอโดะการละเล่นชื่นชมการดนตรีซึ่งเดิมมีอยู่เพียงในชั้นของราชวงศ์และนักรบ ได้แพร่ขยายมายังประชาชนทั่วไป
Shamisen is a musical instrument that represents the popular culture that flourished in the Edo Period. It provided the joy of playing musical instruments, previously restricted to only aristocrats and Samurai classes. to commoners.
เเม้แต่ผู้หญิงหรือเด็กก็สามารถถ่ายภาพยนตร์ฟิล์ม 8 มม. ได้อย่างง่ายดายด้วยเครื่องถ่ายนี้เมื่อใส่แม็กกาชีนเข้าไปจะสามารถถ่ายต่อเนื่องได้ 50 ฟุต.
The debut of Single 8 allowed even technological novices to shoot video footage on 8mm film. Once a cartridge is fitted, the unit can conduct continuous shooting for 50 feet of film.
จักรเย็บผ้าที่สามารถถักลวดลายซับซ้อนที่เดิมต้องใช้เย็บโดยมืออาชีพได้อย่างง่ายดายเทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกได้ทำให้ได้รับ "ความพึงพอใจในการสร้างสรรค์ผลงาน"
Innovice facilitates complicated and advanced embroidery work that would normally require professional skills. Electronic technology is used to deliver the "joy of creating".
การสร้างความหลากหลายที่สามารถสนองรสนิยมความต้องการที่แตกต่างกันมากมายของผู้ใช้ก็เป็นลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของดีไซน์ญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้วที่ได้มีการคิดค้นเครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องประดับ ฯลฯ ที่มีความหลากหลายนับไม่ถ้วนประเพณีนี้ยังคงมีสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันโดยมีการพัฒนาให้เกิดความหลากลายในผลิตภัณฑต่าง ๆ นับตั้งแต่ รถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านไปจนถึงเครื่องเขียน เป็นต้น "จีช็อค" ที่เริ่มผลิตมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1983 ก็มีการเพิ่มความหลากหลายมาเรื่อยจนในขณะนี้มีรุ่นการผลิตนับได้ถึง 2914 ประเภทแล้วและยังคงมีโมเดลใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาอยู่เรื่อยๆ ในสายการผลิต
Another characteristic of Japanese design is that it produces many variations to fit many tastes. It has produced literally counties variations of mainly personal items and accessories from ole times. This tradition continues on even today and we can see variations of anything from car and home appliance products to stationery. The "G-Shock", since it had started in 1983, continues to produce new variations and has already produced 2914 versions, and even today new models are being added to the lineup.
หลากหลายดีไซน์นับไม่ถ้วนที่ได้ถูกทำขึ้นมาจากความชอบที่แตกต่างกันตามรสนิยมฐานันดรบทบาทท้องถิ่นของผู้ใช้นั้น ๆ ว่ากันว่ามีต้นกำเนิดชื่อเรียกจากภาษาเขมร "คุเชร (บ้อง)"
Kiseru smoking pipes come in counties designs according to users' personal taste, titles, positions, and local trends. The term Kiseru is said to originate from the Cambodian word "Khsier".
กำเนิดขึ้นมาในปี 1983 ด้วยแนวคิด "ความบึกบึน" จากนั้นมาก็มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นตลอดมาด้วยการให้มีความสามารถใช้งานต่าง ๆ เข้าไป
G-shock continues to expand its variations with the theme of "tough" timepiece, adding a multitude of functions. Since its debut in 1983, the brand has released 2914 versions.
กล้องดิจิตอลสมรรถนะสูงขนาดเล็กที่กำเนิดขึ้นมาในปี 2000 จนถึงปัจจุบันนี้ได้ผลิตออกมามากกว่า 20 รุ่นโดยให้มีความสามารถการใช้งานต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
IXY DIGITAL is a high-performance compact digital camera, released first in 2000. The brand has since evolved, taking on new functions and improved performance, to release over 20 models thus far.
ดีไซน์ญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการขยายกลุ่มของผู้ใช้เป้าหมายทำให้ใครก็สามารถใช้เครื่องมือเครื่องใช้ได้โดยง่าย จักรยานยนต์ขนาดเล็กที่มีชื่อว่า "พัซซอล" (ค.ศ. 1977) ได้ถูกออกแบบให้ส่วนวางเท้าเกลี้ยงเกลาไม่เกะกะและดูเก๋จนกลายเป็นสินค้ายอดนิยมเพราะช่วยให้ผู้หญิงที่สวมกระโปรงสามารถทุบขาระหว่างขี่จักรยานยนต์ได้ทำให้แลดูสวยงาม ผลิตภัณฑ์นี้ได้สลายภาพลักษณ์ของจักรยานยนต์ที่เคยเป็น "พาหนะของผู้ชาย" ที่ต้องขึ้นนั่งคร่อมกลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้สตรีและนำไปสู่การบุกเบิกตลาดใหม่ ๆ ของสินค้านี้ในทางกลับกันผลิตภัณฑ์ "ฮาจิเมเตะโฮลด์" ซึ่งเป็นสายรัดตัวสำหรับใช้อุ้มสะพายเด็กได้ปรากฏตัวในปี ค.ศ. 2003 โดยมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้คำนึงรวมไปถึงการช่วยปลดปล่อยผู้ชายด้วยไม่ใช้เพียงแต่เป็นเครื่องใช้ของผู้หญิงเท่านั้น แนวความคิดเช่นนี้ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการดีไซน์ที่เป็นสากสก็เป็นอีกหนึ่งปรัชญาความคิดที่อยู่ที่กันบึ้งของดีไซน์ญี่ปุ่น
Japanese designers are also good at making a tool easy-to-use by everyone, increasing the number of possible users. The fashionable compact motorbike called the "Passol" (1977), designed with much space around feet, was a huge hit amongst women wearing skirts, enabling them to ride eloquently with their legs closed. Since there used to be an image of a motorbike as a "vehicle for men" that you have to straddle to ride, the Passol attracted women and led to the pioneering of a new market. The Hajimete Hold" which appeared in 2003 was intended to introduce to men the sling, an item that had been thought as for women. This is one of the thoughts that underlines Japanese design, and shall be called the origin of universal design.
อุปกรณ์จุดไฟก่อนยุคไม้ขีดไฟ มีการใช้อย่างแพร่หลายในหมู่ชาวบ้านในสมัยเอโดะทำจากโลหะเหล็กกล้าที่ชุบแข็งด้วยเทคโนโลยีระดับสูง
Hiuchi-ishi is a type of flint, used in days before the invention of matches. Its use spread to general population in the Edo Period. It was used with a steel piece produced with advanced technology.
1977 YAMAHA Motor CO., LTD. การบุกเบิกผู้ใช้สตรีด้วยคำขวัญ "ซอฟท์มอเตอร์ไซค์" เป็นการจุดเริ่มต้นความนิยมสกู้ตเตอร์อย่างถล่มทลายในทศวรรษที่ 1980
1977 YAMAHA Motor CO., LTD. Promoted with a catch copy of "soft motorcycle", PSDDOL cultivated new female users, triggering a scooter boom in the 80s.
ตอบสนองความสามารถการใช้งานต่างๆได้ครอบคลุมในการออกไปข้างนอกบ้านกับเด็กทารกโดยไม่ยึดติดอยู่กับแนวความคิดของ "สายรัดอุ้มเต็ก" แบบเดิมมีการออกแบบให้ผู้ชายก็สามารถใช้ได้
Hajimete Hold offers a wide range of functions required when outing with young babies. Its design transcends the conventional image of "baby sling", so that even men can use it without hesitation.
ชาวญี่ปุ่นซึ่งมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติสี่ฤดูอันงดงาม ที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดปีย่อมมีจิตใจที่เคารพยกย่องและให้ความสำคัญต่อธรรมชาติอยู่เอง ความต้องการที่จะ "มีชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่รู้สึกได้ถึงธรรมชาติ" อันเกิดจากสภาพแวดล้อมที่กล่าวมานี้ได้หล่อหลอมให้เกิดความรู้สึกนึกคิดที่จะนำเอาธรรมชาติมาแปรให้เป็นสัญลักษณ์โดยการจำลองสร้างรูปแบบหรือย่อส่วนแล้วผสมผสานเข้าไว้ในดีไซน์ด้วยดังปรากฎให้เห็นในสถาปัตยกรรมการจัดสวนไปจนถึงของเล่นและขนมต่าง ๆ การแสดงออกซึ่งดีไซน์ของญี่ปุ่นที่ก้าวพ้นระดับของการคัดลอก ธรรมชาติมาล้วน ๆ ไปสู่ระดับที่มีความสูงส่งในเชิงจิตวิญญาณ เช่นนี้นั้นมีบังเกิดขึ้นแล้วเป็นจำนวนมากที่รวบรวมเอาทิวทัศน์และบรรยากาศของสี่ฤดูกาลมาอยู่ในรูปของสัญลักษณ์ในตัวขนม เป็นต้น ดีไซน์ของโทรศัพท์มือถือ "อินโฟบาร์" ที่ออกจำหน่ายในปี ค.ศ. 2003 ก็เกิดขึ้นจากการนำเอาสัญลักษณ์เชิงนามธรรมของปลาคาร์พซิกิโกยมาทำให้ได้รับความสนใจอย่างมาก
The Japanese who live in beautiful surroundings that change with four seasons have come to awe revere nature. The desire to "live amongst nature" which was born these surroundings fostered the sense of incorporating symbols, patterns and forms reminiscent of nature in miniature forms in the design of anything from buildings and gardens, to toys and confectionery. This has led to the birth of many design expressions abundant in spirituality that transcend the level of a pure copy of nature. From among them are the rock garden at Ryoanji Temple which bears forth a philosophical miniature "space" made of only stones, and the various types of Japanese confectionery that symbolize the scenery and atmosphere of the four seasons. In 2003, an abstract design motif of a "nishiki-goi" (colored carp) was used on the "Infobar" of a mobile telephone and has received great attention.
รูปแบบหนึ่งของสวนตามแบบวัฒนธรรมดั้งเดิม เป็นการสะท้อนธรรมชาติ เช่น ภูเขา หุบเขา แม่น้ำ ลำธาร เกาะกลางทะเลในเชิงมโนคติ และเชิงนามธรรม
Karesansui is one of Japan's traditional garden styles. It features elements that reflect nature, e.g. mountains, valleys, rivers, streams and islands in the ocean, to create a conceptualistic and transcendental world.
Toraya Confectionery Co., Ltd ขนมญี่ปุ่นบอกถึงการมาถึงของฤดูกาล โยกัง คือขนม ในแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น มีการแสดงอารมณ์ของฤดูกาลเข้าไปในขนมด้วย สีสันสวยงามของฤดูกาล 4 ฤดูที่เปลี่ยนแปลงไป
Toraya Confectionery Co., Ltd Japanese confectioneries reflect change of seasons. /This traditional sweet confection called Yokan incorporates elements that represent four seasons to deliver a seasonal feel.
2003 KDDI CORPORATION โมเดลที่ได้รับความนิยมด้วยดีไซน์ที่แตกต่างไปจากโทรศัพท์มือถือทั่วไปโดยสิ้นเชิงหนึ่งในนั้นได้นำปลาคาร์พพันธุ์นิชิกิโคอิมาก
2003 KFFI CORPORATION INFOBAR attracted consumer attention with its distinctive design that draws a line from those of conventional mobile phones. One of the design patterns used colorful Nishikigoi carp as its inspiration.
ชาวญี่ปุ่นชอบที่จะผนวกรวมเอาหน่วยการทำงานที่เหมือนๆกันจำนวนมากเข้ามาขมวดไว้ด้วยกันเพื่อให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การชมวตรวมในลักษณะนี้มีความหมายมากกว่าเพียงมิติของการจัดเรียงของสิ่งต่างๆให้มาอยู่ด้วยกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยหากแต่หมายถึงการรวมองค์ประกอบที่มีเป้าหมายร่วมกันเข้าด้วยกันอย่างคล้องจองเกิดขึ้นเป็นระบบการทำงานที่เป็นหนึ่งเดียว แนวความคิดนี้เป็นเสาที่ค้ำจุนชีวิตของชาวญี่ปุ่นมาแต่โบราณเช่น "กล่องอุปกรณีเย็บผ้า" ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อบรรจุเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการเย็บผ้าเข้าด้วยกันอย่างลงตัวเหมาะกับหน้าที่ของแต่ละชิ้นส่วน หรือ "กล่องยา" ที่รวมเอายาสามัญประจำบ้านทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันเป็นชุดพร้อมใช้งานและจะมีผู้ค้านำส่งให้ถึงประตูบ้าน นอกจากนี้ก็มีกระเป๋านักเรียนญี่ปุ่นที่ เรียกกันว่า "รันโดเซรุ" ที่ได้รับการออกแบบมาให้บรรจุตำราเรียนและเครื่องเขียนอย่างมีประสิทธิภาพเด็กนักเรียนสามารถสะพายหลังเดินไปโรงเรียนได้โดยมือทั้งสองข้างยังว่างก็นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีอันหนึ่งของผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น
The Japanese like to accumulate many things that have the same function and purpose and put them together into one small efficient package. This transcends the idea of just being organized and represents the ability to take many elements with common functions and efficiently combine them into one system. This idea has been the pillar of Japanese life for many centuries and is exemplified by the "sewing box" which was made to functionally store sewing tools, and the '"medicine box" which was delivered to households by a vendor and sets up all the medicines needed for daily living in a convenient package. The "Randoseru", a school backpack which enables elementary school children to efficiently store their text-books and study materials while enabling them to keep their hands free while carrying it, is another example of a product that supports the Japanese lifestyle.
ในสมัยเอโตะ พ่อค้ายาที่เดินทางเวียนมาปีละ 1-2 ครั้งจะรวบรวมยาที่จำเป็นไว้อย่าง ครบถ้วนในกล้องยานี้ซึ่งทำหน้าที่เป็นถาดรับยาสามัญที่เก็บอย่างเป็นระบบ
In the Edo Period, medicine merchants called at households once or twice a year, and supplemented any used drugs. A medicine chest was a receptacle for systematic set-up of commonly used drugs.
กระเป๋าสำหรับไปโรงเรียนของเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาของญี่ปุ่นนอกจากทำให้ มือทั้งสองช้างเป็นอิสระแล้วยังเก็บหนังสือเรียนและอุปกรณ์เครื่องเขียนได้อย่างเป็น ระบบ
This is a typical school bag used among Japanese elementary school students. It allows children to use both hands freely, and provides systematic storage of textbooks and stationeries.
สินค้าที่จัดแพคเก็จอย่างกระทัดรัด มีอุปกรณ์เครื่องเขียนขนาดเล็กอยู่ 7 ชนิด ได้รับความนิยมมากๆ จากวัยรุ่นผู้หญิง
Several mini-size stationery items are packaged together. It was a major hit among young women.
2003 Japan Airlines Corporation ที่นั่งชั้นธุรกิจของเที่ยวบินระหว่างประเทศ มีการจัดวางฟังก์ชั่นใช้งานต่างๆ ไว้อย่างมีประสิทธิภาพและสวยงามอยู่ภายในมิติที่เป็นส่วนตัว รูปร่างเหมือนเปลือกหอย
2003 Japan Airlines Corporation This is a seat available on the business class section of international flights. The shell-shaped seat provides private space, and features a range of functions, which are positioned aesthetically yet systematically.
แต่ไหนแต่ไรมา ชาวญี่ปุ่นมักจะทอลองแสวงหาความเป็ฯไปไดเใหม่ๆ ด้วยการหาทางดึงเอาสิ่งที่ดีที่สุดออกมาจากภายในวัสดุพื้นบ้านที่ใช้มาตั้งแต่ดั้งเดิม รวมทั้งเทคนิคพื้นบ้านที่ผ่านการขัดเกลาสะสมมาเป็นเวลานาน นกตัวอย่างเช่น กระดาษ จากคำกล่าวที่ว่า “บ้านญี่ปุ่นทำขึ้นมาจากไม้และกระดาษ” จะเห็นว่าชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับกระดาษสาที่เป็นผลมาจากความโดดเด่นยอดเยี่ยมของวัสดุและเทคนิคพื้นบ้าน กระทั่งนำมาใช้ประโยชน์หลากหลายในชีวิตประจำวันตั้งแต่ที่อยู่อาศัย ไปจนถึงร่ม เมื่อครึ่งศตวรรษก่อน มีศิลปินเชื้อสายญี่ปุ่นชื่อว่า อิชามุ โนงุจิ ได้ออกแบบอุปกรณ์ให้แสงสว่างที่เรียกว่า “อาการิ” (ค.ศ. 1951) ซึ่งเป็นที่จับใจผู้คนจำนวนมาก เพราะดีไซน์ที่ล้ำสมัยพร้อมทั้งการใช้กระดาษสาญี่ปุ่นที่มีลักษณะโปร่งแสงและให้แสงที่นุ่มนวลผ่านออกมา กลายเป็นผลิตภัณฑ์ยอดนิยม ที่แม้แต่ในขณะนี้ก็ยังมีการผลิตอยู่
ในอีกด้านหนึ่ง พาวิลเลียนญี่ปุ่นที่นำออกแสดงในงานมห่กรรมแสดงสินค้านานาชาติที่เมืองฮันโนเวอร์ในประเทศเยอรมนีเมื่อปี ค.ศ. 2000 ก็ใช้สถาปัตยกรรมที่ท้าทายความสามารถมาก เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่ก่อตัวขึ้นจากกระบอกกระดาษสาญี่ปุ่น นอกจากแบบที่ให้ความสวยงามแล้วยังสร้างความประทับใจอย่างสูงด้วยการส่งสารถึงผู้เข้าชมให้เอาใจใส่สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
The Japanese have continually tried to find new possibilities by making the most of the characteristics of traditional materials being familiar to people since old times and traditional techniques perfected over generations. An example is paper. Just as it is often said that, "Japanese homes are made of wood and paper", the Japanese, who value the excellent traditional material this is Japanese paper and the traditional technology of making it, use paper in various ways to make anything from houses to umbrellas. The " AKARI" series(1951) of lights proposed by Isamu Noguchi, an artist of Japanese descent who lived half a century ago, employs a novel design and continues to be a bestseller today by capturing the hearts of many people with its soft light emanating from behind transparent Japanese paper. Meanwhile, the Japanese pavilion at the Expo 2000 in Hannover, Germany, conveyed a message about the environment with great impact through the beautiful form of challenging structures made from paper tubes.
ร่มแบบดั้งเดิมที่มีโครงไม้ไผ่ฉลุขึงกระดาษญี่ปุ่นด้วยกาว มักมีสีสันฉูดฉาดเข้ากันได้ดีกับชุดกิโมโน
Japan's traditional umbrella is made of a bamboo frame and Japanese Washi paper. Its color variations make it the perfect accessory for women in Kimono.
“ประติมากรรมงานแสดง” ที่เกิดจากการนำคุณสมบัติของวัสดุมาใช้ประโยชน์ สะท้อนคุณค่าด้านความสวยงามของญี่ปุ่นโบราณได้เป็นอย่างดี
AKARI is "sculpture of light", perfected through respecting and taking advantage of the characteristics of materials. It reflects Japan's traditional sense of aesthetics.
ศษสลาสร้างขึ้นจากท่อกระดาษสา เป็นวัสดุก่อสร้างโดยนำคุณสมบัติของกระดาษมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี หลังทำลายอาคารแล้ว ทั้งหมดถูกนำไปรีไซเคิล
This Japan Pavilion was made of paper tubes. Paper's natural properties were skilfully drawn out for use as a structural building material. All tubes were put to recycling after the Pavilion was dismantled.
มีการนำเอาวัสดุที่มีให้เห็นอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่ไม่เป็นที่คุ้นเคยในวงการดีไซน์ผลิตภัณฑ์มาทดลองใช้เพื่อท้าทายความคิดใหม่ๆ และเมื่อสามารถดึงเอาคุณสมบัติใหม่ของวัสดุเหล่านี้ออกมาใช้อย่างได้ผล จึงทำให้เกิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ขึ้นอีกมากมาย ผู้ออกแบบชุดผลิตภัณฑ์ “GOM” ที่เริ่มมีขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1978 ได้จับตามองไปที่ยาง ซึ่งเดิมใช้อยู่แต่เพียงในผลิตภัณฑ์จำเพราะบางประเภท เช่น ล้อรถยนต์ หรือสายยาง ผู้ออกแบบกลับใช้ความสามารถอันยอดเยี่ยมในการออกแบบทำให้ภาพลักษณ์ที่มีมาแต่เดิมของวัสดุที่เรียกว่ายาง ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
“เทซึกะโฮม” ค.ศ. 2003 สร้างขึ้นจากโฟมซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีราคาถูกและแปรรูปได้ง่าย เป็นการนำเอาคุณสมบัติของโฟมที่นุ่มและสามารถนำมาขึ้นรูปได้โดยง่ายให้มีส่วนโค้งทั้งทางกว้าง ยาว หนามาออกแบบให้เกิดเป็นรูปทรงที่สวยงาม มีราคาถูกและผลิตได้ในปริมาณมากมาย เป็นผลงานอันก้าวล้ำนำหน้า ที่สมเหตุสมผลแม้ในมิติทางเศรษฐศาสตร์ด้วย
Many new possibilities are being born by utilizing materials in different ways that are quite common but had never been used in the world of product design. The"GOM" series, which began in 1978 repainted the image of rubber through designs with superior potential. So far rubber had been used in a limited number of product fields such tires and tubes. The "Tezuka Foam" (2003), a sofa made of Styrofoam a (a cheap easily processed packaging material) is an advanced product that can be freely formed into soft cubic surfaces. The Tezuka Foam provides economic efficiency that purports mass manufacturing at low cost.
กล่าวกันว่า ช่างแกะสลักพระพุทธรูป ได้เริ่มทำขึ้นเป็นการฆ่าเวลา แตกต่างกับของชาวตะวันตกที่เอาไว้ให้ดูสวยงามอย่างเดียว โดยฟันปลอมที่ทำจากไม้เนื้อแข็งชนิดหนึ่ง (Boxwood) เวลาใช้จะดูดติดกับขากรรไกร และสามารถเคี้ยวอาหารได้จริง
It is believed that wooden false teeth started as a side business for Buddha statue sculptors. Unlike western-made false teeth with emphasis on appearance, these ones, carved out of boxwood, gripped to the gum to enable hard biting.
1978 - ปัจจุบัน FUSO RUBBER INDUSTRY CO.,LTD เลือกวัสดุยางที่เดิมไม่ได้รับความสนใจเท่าใด มาใช้และสร้างเสน่ห์ขึ้นมาด้วยความสามารถในการออกแบบ
1978 to present FUSO RUBBER INDUSTRY CO.,LTD Rubber, which had attracted little attention previously, was brought to the limelight with outstanding designs.
2003 TEZUKA ARCHITECTS โซฟาแบบใหม่ที่ได้นำเสนอข้อดีของวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มีราคาถูกมาใช้อย่างเต็มประโยชน์ สามารถแปลงรูปร่างได้ต่างๆ เมื่อเชื่อมต่อยูนิต ขนาดความกว้าง 30 ซม.
2003 TEZUKA ARCHITECTS TEZUKA Foam draws the best out of affordable packing materials to advocate an unprecedented concept for sofas. The units, each measuring 30 cm wide, can combined together to flexibly alter its shapes.
ตั้งแต่อดีตกาลมาแล้วที่ชาวญี่ปุ่นได้พัฒนาศิลปะการห่อของอย่างสวยงามด้วยกระตาษแผ่นเดียวหรือผ้าผืนเตียวรวมทั้งการขึ้นรูปที่สวยงามโดดเด่น ตัวอย่างที่ดีอันหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงสุนทรียภาพในการดีไชน์ของญี่ปุ่นก็คือการนำเอาสิ่งที่เป็นแผ่นแบนเรียบมาขึ้นรูปให้จับต้องได้เป็นรูปทรงสามมิติเช่น"โอริงามิ" ซึ่งเป็นศิลปะการพับกระดาษแผ่นเดียวให้เป็นรูปร่างสิ่งต่างๆ "โอริงาตะ" ซึ่งเป็นเทคนิดการห่อของขวัญที่จะมอบให้แก่ผู้อื่นอย่างสวยงามประณีต "โอบิ" ที่ใช้ผ้ายาวๆผืนเดียวรัดรอบเอวของสตรีที่แต่งชุดกิโมโนให้สวยงามไปจนถึง "โรชิกิ" ที่เป็นผ้าสำหรับห่อพกพาของติดตัวได้อย่างรัดกุมเป็นตัน ผลงานชุด "ผ้าผืนเดียว" อันลือลั่นของมิยาเกะอิซเซที่ใช้แนวคิดของผ้าผืนเดียวนำมาขี้นรปอย่างสวยงามและเต็มไปด้วยความเคลื่อนไหวนับได้ว่าเป็นผลงานที่ปฏิวัติและช็อควงการแฟชั่นเลยทีเดียวแม้ในปัจจุบันนี้ก็มี "วันพืชสลิปเปอร์" (ค.ศ.2004) ที่ได้จากการเย็บผืนวัสดุชิ้นเดียวเข้าด้วยกันนับเป็นตัวอย่างการนำเสนอ ความคิดการออกแบบแนวใหม่ๆที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด
Japanese have practiced the art of taking one piece of paper, or one piece of cloth, and wrapping something elegantly, or creating a beautiful shape, since old times. Examples of this art shall be; "orikata", creating a three dimensional object with one piece of paper, "orikata", a method for wrapping presents in beautiful way, the "obi", a single belt that beautifully binds a woman's kimono, and the "furoshiki", a single piece of cloth used to wrap objects in a safe and strong manner. The series of works by Issey Miyake, which caught the fashion industry by storm by using the concept of "one piece of cloth" to create innovative and dynamic shapes of beauty, is a famous example. But new inventions, such as the "one piece slipper" (2004) that is created from literally one piece of fabric, continue to appear.
เครื่องมือห่อสัมภาระแบบญี่ปุ่นตั้งเติมใช้ผ้าผืนเดียวในการห่อหุ้มสิ่งของรูปทรงสามมิติได้อย่างอิสระตามรูปร่างของสิ่งของนั้น
Furoshiki is Japan 's traditional wrapping tool. One piece of fabric can adapt to the shape of various objects, and wrap them up accordingly.
วิธีการใช้ผ้าห่อสัมภาระได้อย่างสวยงามกระดาษญี่ปุ่นที่มีโทนสีสงบทำให้นึกภาพห้องน้ำชาที่ สงบเงียบและตัวอักษรของชื่อสินค้าก็ทำให้นึกถึงภาพตัวอักษรที่เขียนบนแผ่นเขียนคำที่แขวนในห้องน้ำชา
The product is quaintly wrapped in the manner of traditional Furoshiki wrapping cloth. Japanese Washi paper in delicate tones symbolizes the tranquility of a tea room, while the typography of the product name reminds you of Japanese calligraphy on a kakejiku hanging scroll, often seen in a traditional tea room.
เพียงใช้หนังผืนเดียวเย็บเข้าด้วยกันก็ให้รูปร่างที่สมบูรณ์และหนักแน่นห่อหุ้มเท้าให้ดูสวยงามในขณะที่ให้ทั้งความรู้สึกเบาและมีปริมาตร
A single piece of leather is sewn together to create a shape with a strong sense of presence. It is light yet has a just right bulk to gently wrap around your feet.
สื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
แนะนำสื่ออื่นๆ ที่น่าสนใจ
สื่ออื่นๆ ที่คุณเพิ่งดู