Archive

Mechanics Alive!! หุ่นไม้...กลไกได้อารมณ์

Description

วันที่จัดแสดง : 27 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2550 สถานที่ : ห้องนิทรรศการ 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบ (TCDC) ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ Date : 27 July - 31 September 2007 Venue : Gallery 2, TCDC, The Emporium 6th Floor

Subject

Mechanics / Mechanic Alive / Design / Mechanical sculpture / creative / imagine / wood / toys

Details

Released 27 July 2007
File Format text/html
Print

Mechanics Alive!! หุ่นไม้...กลไกได้อารมณ์

บทนำ

เมื่อ “กลไก” มาพบกับ “จินตนาการ”

เศษไม้แสนธรรมดาลุกขึ้นมาปลุก “จินตนาการ” ของเราได้อย่างไร

ลองสังเกตการเคลื่อนไหวของผู้คน สัตว์ และสิ่งรอบตัวเราดูสิ แล้วจะพบว่าสิ่งต่างๆ

ล้วนถูกกำหนดด้วยกลไกบางอย่าง

แต่...เราจะใช้กลไกมาเล่าเรื่องอย่างไรดี

เกี่ยวกับนิทรรศการ

หุ่นไม้...กลไกได้อารมณ์

หุ่นไม้กลไกปลุกจินตนาการของเรา... ให้เข้าไปอยู่ในฝันร้ายของชายคนหนึ่งที่ต้องสะดุ้งตื่นในกลางดึกสงัด ได้อย่างไร

ร่วมเดินทางเข้าสู่ดินแดนมหัศจรรย์ของหุ่นไม้ที่จะโยกย้ายท่วงท่าด้วยสารพัดกลไก ซึ่งไม่ได้ทำจากสิ่งอื่นใดนอกจากไม้ แต่กลับสร้างรอยยิ้มให้คุณได้อย่างเหลือเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกอาภัพรักของชายหนุ่มผู้ตอกตะปูกี่ทีก็พลาด ‘อนูบิส’ เทพเจ้าแห่งความตายที่ต้องออกกำลังกายด้วยการซิตอัพเพื่อเสียดสีความต้องการเป็นอมตะของมนุษย์ หรือหญิงสาวที่ยืนยักย้ายส่ายสะโพกที่แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ แม้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ

ชมผลงานของเจ็ดศิลปินนักประดิษฐ์หุ่นกลไกชั้นนำจากอังกฤษที่ผสานความรู้เรื่องหลักการทำงานของกลไกฝีมือในเชิงช่าง เข้ากับจินตนาการอันโลดแล่น เพื่อจุดประกายให้คุณได้มองทะลุพื้นผิวของความบันเทิงลึกลงไปยังกลไกแห่งปัญญาสร้างสรรค์ ในนิทรรศการ “หมุน ขยับ ขยับ หุ่นไม้...กลไกได้อารมณ์” โดยความร่วมมือระหว่างศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ และคาบาเร่ต์ เม็กแคนิเคิล เธียเตอร์ กรุงลอนดอน

Introduction

When mechanics meets imagination, how does a simple wooden mechanical sculpture awaken our imagination? If we observe people, animals and everyday life around us, we will notice that all movement is ruled by certain mechanical principles.

How can we use them to tell our stories? How does a simple wooden mechanical sculpture manage to capture your imagination?

Discover what happens when mechanics meets imagination in the world of automata from the Cabaret Mechanical Theatre. Six renowned automata designers from the UK showcase their wit, satire, and craftsmanship in 38 mechanical stories.

มารู้จัก “คาบาเร่ต์ เม็กแคนิเคิล เธียเตอร์” กันหน่อย

พิพิธภัณฑ์หุ่นกลไก คาบาเร่ต์ เม็กแคนิเคิล เธียเตอร์ เป็นเหมือน “โรงละคร” ของหุ่นเคลื่อนไหว ในปี 1979 ซู แจ็คสัน เปลี่ยนร้านขายงานฝีมือธรรมดาๆ ให้เป็น “คาบาเร่ต์” (ชื่อจากหนังเพลง คาบาเร่ต์ นำแสดงโดย ไลซ่า มินเนลลี) แหล่งรวมผลงานของเหล่าช่างทำหุ่นไม้ประกอบกลไกรุ่นบุกเบิกของอังกฤษอย่าง ปีเตอร์ มาร์คีย์ ที่กลายเป็นแรงขับให้ พอล สปูนเนอร์ ช่างไม้ธรรมดามาลองทำหุ่นกลไกจนมีชื่อเสียงในที่สุด

ปี 1981 ผลงานที่มีชีวิตชีวาทำให้ “คาบาเร่ต์” เล็กๆ ในแคว้นคอร์นวอลล์ ถูกชุบชีวิตกลายเป็น “คาบาเร่ต์ เม็กแคนิเคิล เธียเตอร์” และอีกสี่ปีต่อมาได้เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ย่านศิลปะและวัฒนธรรมแห่งลอนดอนที่โคเวนต์ การ์เดน คอลเลกชั่นหุ่นกลทั้งชุดก็ย้ายไปสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2000 และได้ออกแสดงในนิทรรศการหลายครั้ง รวมทั้งที่พิพิธภัณฑ์ศิลปทัศน์แห่งอเมริกา ในเมืองบัลติมอร์ ปัจจุบันแม้ว่าคาบาเร่ต์ เม็กแคนิเคิล เธียเตอร์ จะไม่ปักหลักที่ไหนอย่างถาวรแต่ก็มีนิทรรศการสัญจรไปทั่วโลก

Cabaret Mechanical Theatre

Cabaret Mechanical Theatre is a Museum of Automata (Mechanical Sculpture). Sue Jackson's Cabaret Mechanical Theatre started life in 1979 when she opened a small crafts shop in Falmouth, Cornwall simply called 'Cabaret', (the name came from the Liza Minnelli film). Sue's friend Peter Markey was one of the first automata makers to sell work at 'Cabaret' and his mechanical pieces encouraged Paul Spooner to begin making mechanical toys, or automata.

In 1981 Sue moved to larger premises in Falmouth and opened 'Cabaret Mechanical Theatre. High acclaim and enthusiasm for the now named, 'Cabaret Mechanical Theatre' (CMT) continued and in 1984 CMT moved to Covent Garden in London. In 2000 the entire collection was moved to the USA where several new exhibitions were created, including one at the American Visionary Art Museum in Baltimore. Today, although CMT does not have a permanent home, the collection continues to grow and touring exhibitions are developed.

ประวัติศิลปิน

พอล สปูนเนอร์

ประติมากรช่างเสียดสีวัย 60 จากเพลสตัน ประดิษฐ์หัวรถจักรไอน้ำกับนาฬิกาแขวนจากไม้ตั้งแต่อายุ 16 ปี หลังจบการศึกษาที่แลงแคสเตอร์ คอลเลจ ออฟ อาร์ต เขาเรียนประติมากรรมประกอบกลไกที่คาร์ดิฟ แคว้นเวลส์ ก่อนย้ายไปอยู่ที่คอร์นวอลล์ในปี 1974 และเริ่มอาชีพนักทำหุ่นกลไกที่ คาบาเร่ต์ เม็กแคนิเคิล เธียเตอร์

ในปี 1996 เขาได้งานรับเชิญให้สร้างหุ่นไม้กลไกสำหรับหลุยส์ วิตตอง ที่นำออกแสดงทั่วโลกชื่อ สาวน้อยป้อนแชมเปญให้แพะ สปูนเนอร์มักพูดว่าการให้เวลากับตัวเอง เช่น นั่งฟังเพลงหรือคิดอะไรเงียบๆ ทำให้เขาเป็นเจ้านายตัวเองได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ปีเตอร์ มาร์คีย์

จิตรกรวัย 70 ปลายๆ ศึกษาสาขาจิตรกรรมที่ สเวนซี อาร์ต คอลเลจ และสอนศิลปะในโรงเรียนมัธยมนานถึง 25 ปี มาร์คีย์ได้รับคำแนะนำให้ลองประดิษฐ์หุ่นนักฟุตบอลเคลื่อนที่ในปี 1980 มาร์คีย์ก็พัฒนาฝีมือเรื่อยมาจนกลายเป็นต้นแบบศิลปินยุคแรกๆ ของ คาบาเร่ต์ เม็กแคนิเคิล เธียเตอร์ ปัจจุบันมาร์คีย์มีนิทรรศการแสดงผลงานหุ่นไม้กลไกควบคู่ไปกับงานแสดงภาพเขียน

เขาเห็นว่าแม้จิตรกรและช่างทำหุ่นไม้จะดูเหมือนเป็นอาชีพที่สันโดษ แต่การวาดภาพ ระบายสี และทำหุ่นกลไกเป็นวิธีแรกๆ ที่สามารถติดต่อสื่อสารกับคนอื่นได้

รอน ฟุลเลอร์

เดิมเป็นนักออกแบบเวทีละคร เขาเกิดในปี 1937 เริ่มศึกษาศิลปะที่โรงเรียนในเมืองพลีมัธและฟอลมัธประเทศอังกฤษ ก่อนไปเรียนต่อด้าน “การออกแบบเวทีละคร” ที่รอยัล คอเลจ ออฟ อาร์ต จากนั้นเข้ารับราชการในกองพันทหารราบและยึดอาชีพครูระยะหนึ่ง

ในปี 1972 ฟุลเลอร์หันมาทำของเล่นและหุ่นไม้ ผลงานสร้างชื่อคือ หุ่นทำถังเบียร์ขนาดใหญ่กว่าคนจริงบนหลังคาสถานบันเทิงข้างจัตุรัสทราฟัลการ์ในอังกฤษ ความช่างเก็บเล็กผสมน้อยและมักถ่อมตัวว่าเป็นแค่นักทำของเล่นไม้พื้นๆ ทำให้เขายังผลิตหุ่นกลไกและของเล่นไม้ที่โรงงานท้ายสวนหลังบ้านและไม่เคยหยุดพัฒนาเทคนิคและฝีมือ

คีธ นิวเสต็ด

กราฟฟิกดีไซเนอร์ หลังจบการศึกษาจาก บาร์กิง คอลเลจ ออฟ อาร์ต แอนด์ เทคโนโลยี นิวสเต็ดเริ่มทำหุ่นกลโดยมีแรงบันดาลใจจากรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับต้นแบบนักทำหุ่นไม้ขยับได้อย่าง แซม สมิธ นิวสเต็ดใช้เทคโนโลยี วัสดุ และวิธีการใหม่ๆ มาทดลองประดิษฐ์หุ่นกลทำให้งานดูล้ำสมัย เช่น โลหะ และเล่าเนื้อหาแนวหนังวิทยาศาสตร์ ผลงานชื่อดังของเขาคือ มนุษย์ต่างดาวบุกโลก แนวคิดจากภาพยนตร์เรื่อง “ดิ อินแวชั่น ออฟ เดอะ บอดี้ สแนตเชอร์ส” ด้วยวัยเพียง 41 ปี นิวสเต็ดกลายเป็นนักทำหุ่นกลไกแถวหน้าของอังกฤษ เพราะความชอบทดลองงานแนวใหม่อยู่เสมอ

แมท สมิธ

ช่างทำหุ่นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง โฟร์ทีน บอล ทอยส์ โรงงานประดิษฐ์หุ่นกลไกที่คนนิยมสะสมเป็นของล้ำค่าไว้ระลึกถึงวัยเด็ก สมิธเกิดในปี 1965 ที่เลสเตอร์ เมืองใหญ่แถบตะวันออกของอังกฤษ หลังจากเรียนศิลปะมาหลายสำนัก เขาจึงเริ่มประดิษฐ์หุ่นไม้กลไกและเข้าเป็นสมาชิกของ คาบาเร่ต์ เม็กแคนิเคิล เธียเตอร์

ในปี 1986 สมิธร่วมมือกับ พอล สปูนเนอร์ ประดิษฐ์ผลงานล้อเลียนชุด เทพเจ้าอนูบิส ทุกวันนี้เขารับทำงานตามสั่งที่โรงงานส่วนตัวเล็กๆ ในเมืองฟอลมัธ สมิธเดินทางไปอบรมเชิงปฏิบัติการและจัดแสดงนิทรรศการหุ่นไม้กลไกมาแล้วทั่วโลก โดยเน้นถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการออกแบบและพื้นฐานกลไกให้นักเรียนและครูนำไปใช้เป็นหลักประดิษฐ์ได้เอง

ไมเคิล ฮาวาร์ด

มีผลงานหุ่นกลไกที่รับแรงบันดาลใจจากศิลปะพื้นเมือง และโดดเด่นจนได้ไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ดังหลายแห่ง เช่น พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซ่ พิพิธภัณฑ์เด็กเบธนอล กรีน ในกรุงลอนดอน และพิพิธภัณฑ์เอดินเบอร์เรอร์ ก่อนจบการศึกษาจาก เชลซี สกูล ออฟ อาร์ต ฮาวาร์ดผ่านงานมาหลากหลายสาขาอาชีพ ตั้งแต่ช่างทันตกรรม คนงานเหมืองแร่ และนักแสดงเปิดหมวก เขาจึงมีมุมมองเรื่องความงามที่แตกต่าง

Designer’s Profile

Paul Spooner

Known for his acerbic humour and an obsessive attention to detail, Paul Spooner is a superstar at Cabaret Mechanical Theatre. “My work as an artist-mechanic amounts to a constant pursuit of elegance and simplicity;” says Spooner, “I haven’t caught up with either yet, because I don’t know how to finish things; except sometimes."

Paul Spooner had mechanical interests from an early age. In 1964, he completed a pre-diploma course at Lancaster College of Art where he made a clock and a steam engine from wood. At Cardiff, from 1966 to 1969, he studied Art and Design, specialising in mechanical sculpture. For many years thereafter, he made weaving looms for his wife Sue, while working mainly as a van driver. It wasn’t until 1981 that he began his famous series, featuring the Egyptian jackal-headed god, Anubis. In 1996, the French luxury brand Louis Vuitton commissioned him to make Girl Feeding a Goat Champagne, to promote a new range of designer luggage.

Peter Markey

Peter Markey (b. 1930) studied painting at Swansea Art College and taught art for 25 years in secondary schools. He left teaching in 1980 and began making wooden automata after someone innocently suggested that he try making his footballer sculptures move. This coincided with the opening of Cabaret Mechanical Theatre in Falmouth where he lived. Markey has had many exhibitions of his mechanical work and paintings. “I have always drawn and painted and made things;” says Markey, “it is a way of keeping in contact with the outside world.”

Ron Fuller

Ron Fuller was born in 1937 and went to art schools in Plymouth and Falmouth before studying Art and Theatre Design at the Royal College of Art. He did his National Service in the Rifle Brigade. After a career in teaching, he began making wooden toys for a living in 1972. He has been involved with Cabaret Mechanical Theatre for over 20 years and has produced a number of designs exclusively for CMT. A larger than life-size cooper that Fuller made can be seen working at a beer barrel on the roof of the pub that overlooks Trafalgar Square.

Keith Newstead

Keith Newstead (b. 1956) studied at Barking College of Art and Technology. Keith had short-lived careers on a paper round in Finland and as a graphic designer. "I became an automatist by accident. I had always been interested in mechanics, but initially decided to make my living as a graphic designer. After working in a design studio, however, I decided it wasn't the life for me and became a motorcycle dispatch rider."

Ten years later, he was inspired by a TV programme about the late Sam Smith, an artist who included an element of movement in his work. Then he started making his own moving pieces, and his automatist life began in Covent Garden at the Cabaret Mechanical Theatre.

Matt Smith

Matt Smith was born in 1965, in Leicester England. After spending some time at various schools and six weeks or so at the Falmouth School of Art, Smith decided that he would rather spend his time “making silly things”. He began making automata in 1980, and then in 1986 Paul Spooner and he formed the Fourteen Balls Toy Company. They sold work through the Cabaret Mechanical Theatre, first in Falmouth, and then in Covent Garden, as well as through private commissions. Smith works from his Falmouth-based studio, and has pieces in private collections, museums and public exhibitions. He also has two travelling exhibitions that are on show at various venues around the world.

Michael Howard

Michael Howard was a dental technician, a miner and a busker, before studying painting at the Chelsea School of Art. Since leaving, he has been a successful full-time automaton maker. He has been represented in several travelling shows of automata, and has received commissions from the Bethnal Green Museum of Childhood in London, Madame Tussaud's and the Edinburgh Museum of Childhood in Scotland.

แมวตัวไหนเป็นเจ้านายกันแน่ ?

รู้ทันกลไกในหุ่นไม้

ฟันเฟืองแต่ละตัวทำงานรับส่งกันเป็นทอด ๆ สร้างสรรค์อารมณ์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าชิ้นไหนจะเป็นพระเอกที่ใช้มา

สร้างมุขเด่น ๆ ให้หุ่นไม้มีชีวิตชีวาขึ้นมา

Who's winding up whom ?

Mechanical Principle

When the small cat points, the big cat looks up. It's important to figure out which part is driving,

and which part is driven.

แมวอุ้มแมว The Barecats

ศิลปิน: พอล สปูนเนอร์ และ แมต สมิธ

Artist: Paul Spooner & Matt Smith

เฟือง

นมพิษ

ศิลปิน: พอล สปูนเนอร์

เจ้าแมวตัวนี้ไม่มีกลไกภายในที่ทำให้ลิ้นขยับ แต่เฟืองต่างหากที่หมุนไปผลักสปริงซึ่งติดกับแผ่นนมบาง ๆ แล้วดันให้ลิ้นแลบ

ขึ้นลงตามกันไป ส่วนเจ้าแมวก็ฟื้นคืนชีพเมื่อเชือกที่ร้อยในตัวแบบหลวม ๆ ถูกดึงให้ตึงอีกครั้ง

Ratchets

Poisoned Milk

Artist: Paul Spooner

What looks like a cat lapping up milk, is in fact milk (made from a piece of leather) being pushed up and down to the cat’s tongue by a ratchet. This saves running a complete mechanism through the cat’s body to the tongue. The ratchet also controls the string, which is released, every now and then, to make the cat collapse.

ลูกเบี้ยว

มังกรเพลิง

ศิลปิน: ซู สโตล์ป

แทนที่จะพุ่งไปข้างหน้า มังกรกลับแลบลิ้นพ่นไฟไปด้านข้างเหมือนกำลังป่วยไม่มีแรงขยับ เทคนิคประหยัดแรงนี้ใช้ ลูกเบี้ยว 2 ตัว สลับกันหมุนผลัก ตัวตาม ด้านบนเพื่อดักทิศทางเหวี่ยงพ่นไฟไปได้ซ้ายขวาเท่านั้น

Cams

Red Dragon

Artist: Sue Stolpe

Every time the dragon opens its mouth, it breathes fire, unexpectedly, to the left and right. The two cams lift and rotate the followers at different tempos, giving an unusual twist to the dragon’s fire-breathing.

ข้อเหวี่ยง

สาวนักเตะขา

ศิลปิน: ปีเตอร์ มาร์คีย์

อยากให้สาวๆ เต้นได้ว่องไวมีชีวิตชีวาต้องใช้ข้อเหวี่ยง เพียงหนึ่งรอบคันหมุน หน้าอกหุ่นนักเต้นจะกระเพื่อมขึ้นลง ส่วนแกนที่ติดอยู่กับข้อเหวี่ยงจะบังคับความสูงและจังหวะเตะขาให้พร้อมเพรียง

Cranks

Kicking Ladies

Artist: Peter Markey

The cabaret dancers get their kick from the two cranks, at the front and back of the piece. A third crank pushes the dancers’ chest up and down.

ข้อต่อ

ม้าบินเพกาซัส

ศิลปิน: คีธ นิวสเต็ด

เพกาซัสกระพือปีกควบไปข้างหน้าเหมือนลอยอยู่บนปุยเมฆ เพราะได้ข้อต่อ ใช้ระบบ ข้อเหวี่ยง-ตัวเลื่อนไถล มาช่วยไม่ให้เกิดการกระตุก ส่วนเส้นลวดก็ดึงปีกม้าให้บินได้พริ้วไหวมากขึ้น

Linkages

Pegasus

Artist:Keith Newstead

How can we make Pegasus gallop and fly at the same time? Linkages, made of strings and wires attached to the base, flap the wings and move the legs, as the horse is pushed up and down by the crank slider.

คาน

คนตัดขนแกะ

ศิลปิน: รอน ฟุลเลอร์

ระบบคานของกรรไกรในมือแกะทำให้เราต้องแอบปิดตาเพราะยิ่งวางคอใกล้จุดศูนย์กลางของกรรไกรเท่าไรก็จะยิ่งตัดขาดได้ง่ายเท่านั้น มาดูกันว่า...คนจะรอดจากเงื้อมมือเจ้าแกะได้หรือไม่

Levers

Sheepshearer

Artist: Ron Fuller

How will the sheepshearer manage to survive? Here, the levers have been transformed into scissors. The sheepshearer pops up and down, and on every 10th turn of the handle, he stays up long enough to have his head chopped off by the scissors. Luckily, the head is attached to a string, so it’s pulled back with the next turn.

ก้านเพลา

คนฝึกสิงโต

ศิลปิน: รอน ฟุลเลอร์

คนฝึกหนีจากคมเขี้ยวสิงโตไปได้ทุกครั้ง เพราะมีก้านเพลาช่วยกำกับทิศทางของซี่เฟืองใต้เวที ทำให้คนเหวี่ยงหัวรอดไปได้ในจังหวะที่เจ้าสิงโตงับลงพอดี

Shafts

Lion Tamer

Artist: Ron Fuller

The central rotating shaft keeps the lion-tamer spinning out of the lion’s bite, always in the nick of time. The shaft is the key to the whole machine running smoothly, as it is often the central mechanism, on which all other mechanical movements are attached.

เฟืองขับและเฟืองทด

หัดว่ายน้ำ

ศิลปิน: พอล สปูนเนอร์

นักว่ายน้ำเหวี่ยงแขนท่าฟรีสไตล์ไม่ยอมหยุดพักเพราะใช้เฟืองขับและเฟืองทด กลไกเดียวกับที่ทำให้ล้อจักรยานเคลื่อนที่ได้ สายพานเป็นตัวดึงให้หมุนอย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ

Drives & Gearing

How to Swim No. 17

Artist: Paul Spooner

Using a spring drive belt, the swimmer appears to be flapping his arms through the water. The twisted belt makes the arm rotate at 90 degrees to the main shaft.

อธิบายผลงาน

ร้าย แต่ผู้ดี

ลูซิเฟอร์ เทพแห่งแสงที่กลายมาเป็นเทวดาตกสวรรค์ถูกล้อเลียนให้ต้องใช้ไม้ขีดไฟเป็นเชื้อเพลิง กัปตันเรือรบ ยู-โบ้ต ยกมือยอมแพ้ เป็นการ “เอาคืน” ที่เยอรมันจมเรือสินค้าของอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเรื่องในคัมภีร์ไบเบิลจนถึงประวัติศาสตร์มักถูกสปูนเนอร์ดัดแปลงเพื่อสร้างอารมณ์ขันแต่แอบกัดเจ็บๆ คันๆ สื่อตลกร้ายแบบอังกฤษ

Automata

The satirist

In Matchstick Nibbler, fallen angel Lucifer tries to reclaim the significance of his name – meaning ‘Light-Bearer’ – by desperately nibbling a matchstick to generate a bit of light. Spooner’s mechanical stories poke fun at perennial myths, like humanity’s fall from grace, and play with history. In Capture Your Own U-Boat, the German sinking of British warships in the Second World War becomes a surrender by the German U-boats themselves.

เสียดสีมัจจุราช

อนูบิส เทพเจ้าเศียรหมาไนแห่งพิธีกรรมมัมมี่ฟาโรห์ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ล้อเลียนความอยากเป็นอมตะที่ฝังลึกในจิตนาการของชาวตะวันตก สปูนเนอร์ให้เทพผู้ส่งคนตายสู่โลกวิญญาณคล้ายกับมัจจุราชแบบไทยมาแสดงความกลัวตายด้วยท่าออกกำลังกายที่แข็งขัน บ้างก็หาความรื่นรมย์นั่งกรีดนิ้วจิบกาแฟในมองมาตร์ย่านศิลปะของฝรั่งเศส อนูบิสถือเป็นการใช้มรดกทางวัฒนธรรมมาเพิ่มสีสัน และสร้างเอกลักษณ์

Humanity’s search for immortality

In his celebrated Anubis series, Spooner takes on humanity’s search for immortality in the guise of Anubis, the ancient Egyptian guardian and judge of souls of the underworld. Spooner depicts the jackal-headed god riding away from the pyramids, sipping coffee in Montmartre, and even striving for gym-perfect abdominal muscles. When gods descend to seek worldly distraction, what has humanity left to believe in?

กระจกสังคม

เรื่องหยุมหยิมในครัวเรือนยังกลายเป็นดาราหุ่นไม้ ความคุ้นเคยสร้างอารมณ์ร่วมให้คล้อยตามความคิดนามธรรม อย่างเช่น สามีภรรยาทะเลาะกัน หนุ่มอาภัพรักตอกตะปูกี่ทีก็พลาดสื่อถึงรักที่ควบคุมไม่ได้ หรือ คนเขมือบสปาเก็ตตี้ในอ่างอาบน้ำสะท้อนชีวิตสมัยใหม่ที่รีบเร่งจนต้องทำทุกอย่างไปพร้อมกัน วิธีตีความจากเรื่องใกล้ตัวนี้ทำให้หุ่นไม้มีเข้าไปโลดแล่นในความคิดได้

Mirror, mirror, on the wall

Like the man in Allegory of Love who hammers a nail and always misses, we have all experienced the eluding of love. Spooner is a master of the ironic twist, creating surreal spoofs of the postmodern condition. A man eats a bathtub of spaghetti in How to Live No. 17 Spaghetti, as if to portray the insatiable cravings of the consumerist culture we live in.

วิเคราะห์การขยับ

สปูนเนอร์ใช้ความถนัดด้านประติมากรรมไม้ที่เน้นรูปแบบสามมิติมาจำลองการขยับเขยื้อนที่คนไม่ทันสังเกตในชีวิตประจำวัน ลำดับการเคลื่อนไหวของมัดกล้ามเนื้อและการกระโดดตามธรรมชาติของจิงโจ้ แสดงให้เห็นฝีมือออกแบบกลไก การแกะสลัก และความช่างสังเกต

Muscle analysis

The fantasy of mechanical sculptures depends on a keen analysis of muscle and skeletal movement. In Hopping Jackal, Spooner imitates a jumping kangaroo, while Wiggling Figure captures the essence of a rotating belly with astonishing simplicity. Spooner realises that basic movements can express emotions and story line poignantly.

ย้อนดูของเล่นดีบุกโบราณ

นักกายกรรมสาวบนหลังม้า และ นักเต้นเท้าไฟ บนฟลอร์เต้นรำ มีลักษณะคล้ายกับ “ของเล่นดีบุกเยอรมัน” ยอดนิยมในศตวรรษที่ 19 ทั้งสีสันและฉากส่วนใหญ่ที่จำลองมาจากคณะละครสัตว์ ความประทับใจสมัยเรียนการออกแบบเวทีละครทำให้ผลงานของฟุลเลอร์เด่นชัดในการเล่าเรื่องบนเวทีการแสดงจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

Wiggling Figure

Memories of German mechanical toys

Fuller’s Equestrienne and Dancing Man are nostalgic pieces, showing the influence of 19th century toy tin figurines. He has always drawn inspiration from toymakers all over the world, in particular the Germans, and his works lie somewhere between turn-of-the-century German mechanical tin-toys, and the painted wooden craft of Sam Smith. Despite his wide experience, Fuller describes himself as a village toymaker. Over the years, he has developed many techniques for producing toys in short production runs, and still works from the toy-makers shed at the bottom of his garden.

สร้างตัวละครด้วยปลายพู่กัน

สีสันที่สดใสสร้างจุดเด่นแทนงานแกะสลักที่ละเอียดและกลไกอันซับซ้อน นักกีตาร์กับแดนเซอร์สาว ใช้การเลื่อยแผ่นไม้ให้พอให้เห็นรูปร่าง เล่าเรื่องตรงไปตรงมา และใช้กลไกเพียงจังหวะเดียวเพื่อยักสะโพกไปมา งานของมาร์คีย์“ดิบ” แต่ไม่ได้คิดน้อย เขาสังเกตสิ่งรอบตัวอย่างถี่ถ้วนก่อนใช้วิธีตัดทอนรายละเอียดจากต้นแบบโดยยึดคติ “เรียบง่ายเป็นดีที่สุด” เพื่อให้คนพูดว่า “นั่นคือหมา คน ต้นไม้ เรือ” และเกิดความสุขได้แบบง่ายๆ

A painter’s storybook

Peter Markey is known for his simplicity of design and use of bright colors. He makes little attempt at realistic representation and never carves the wood he uses. This means that square-shaped wood results in square-headed people and animals. Although his work is based on careful observation, drawing on ordinary objects and events, he always tries to eliminate as much detail as possible. “I want people to say, 'There's a dog, man, tree or boat,' and derive pleasure and interest from looking at them,” says Markey.

เมื่อกลไกเป็นดารานำ

ลักษณะงานกราฟิกที่เป็นภาพสองมิติบวกกับ ทัศนคติว่า ”กลไกที่ซับซ้อนน้อยที่สุดยังดูสง่างามยามเคลื่อนไหว” ส่งอิทธิพลให้นิวสเต็ดพยายามนำส่วนเรื่องราวกับกลไกมาแสดงร่วมกันซึ่งเป็นขั้นตอนและวิธีคิดที่ถือว่าใหม่มากในวงการนักประดิษฐ์หุ่นไม้ ถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าปลาที่กระโจนขึ้นจากแทงค์ใน หนีน้ำมาเจอแมว หรือ ตากลอกไปมาใน นอนนับแกะ ก็เป็นหนึ่งในชิ้นส่วนฟันเฟืองนั่นเอง

Before Goldilocks

Mechanical showmanship

Perhaps because of his background as a graphic designer, Newstead is known for automata which balance narrative and mechanical showmanship. He likes to expose the intriguing beauty of mechanisms. Even “the simplest mechanical device can be quite elegant when in action,” he asserts.

ช่างใหญ่ที่ใครๆ ต้องพึ่งพา

ปลาท่าทางตื่นตกใจ แสดงความเข้าใจออกแบบกลไกให้เลียนแบบธรรมชาติได้เหมือนจริง สมิธไม่ถนัดแต่งเรื่องราวเหนือจินตนาการ แต่มีฝีมือละเอียดและเชี่ยวชาญการทำงานของฟันเฟืองจนมักได้รับเชิญไปสร้างงานให้ศิลปินไอเดียล้นหลายคน เขามักจัดชั้นฝึกทำหุ่นกลไกย่อยๆ โดยยึดงานของตัวเองเป็นต้นแบบ แล้วให้บรรดานักเรียนแต่งเติมลูกเล่นจากกลไกได้ตามใจชอบจนกลายเป็นงานของพวกเขาเอง เมื่อมีหุ่นไม้ตัวไหนชำรุด สมิธจะรับเป็นบรุษพยาบาลให้ อุปกรณ์ซ่อมแซมง่ายๆ อย่างไม้จิ้มฟันจะอยู่ในกระเป๋าเสื้อเขาตลอดเวลา เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที

Back to basics

Matt Smith is a devoted craftsman, and his flawless understanding of how mechanisms work has given contemporary automata a wide expressive range. In Fish, Smith captures with astounding realism the fright and flight of two fish – possibly startled by a predator. At workshops, he starts by making a simple mechanism and getting students to copy it. He then adds more mechanisms until the piece becomes a fairly complex machine. “The students then use whichever part of the mechanism they want, to make a new machine of their own,” says Smith, “I help with the design a little, but the students do all the work themselves.” A dedicated automatist, he always keeps a few toothpicks ready in his pocket for mechanical sculptures in need.

สีสันจากชนเผ่า

งานของไมเคิล ฮาวาร์ด ได้ชื่อว่าแปลกตาเข้าขั้นพิสดาร เขาได้รับอิทธิพลจากแนวคิดแบบ “นาอีฟ อาร์ต” อิทธิพลศิลปะแบบชนพื้นเมืองอเมริกันอินเดียนและอเมริกาใต้ เอกลักษณ์จึงอยู่ที่การลงสีสันจัดจ้านและใช้เครื่องหมายที่มีลักษณะเฉพาะตามความเชื่อชนเผ่า แม้หลายคนรู้สึกขนลุกกับลักษณะพิเศษอย่างลายจุดของ สัตว์ประหลาดตัวจิ๋ว แต่ฮาวาร์ดกลับเห็นว่ามันดูใสสะอาดเป็นมิตรและทำให้คนรู้จักและจดจำผลงานได้

How to be Foreign

Colours of the rainforest

Naive art and primitive fetishes are root influences in Michael Howard's works. Though Howard’s quirky personal world is populated by plump-cheeked, smiling characters, they often have a distinctly sinister air about them. His animals seem strange and dangerous and some people find his work profoundly disturbing. This reaction surprises him, as he sees his own work as quite innocent and friendly. “My pieces often imitate natural phenomena in form and movement,” says Howard, “Their internal mechanism, to a great extent, determines their form and character. And my love of Indian and South American art influences my sense of colour.”

ฝันร้าย

ศิลปิน: พอล สปูนเนอร์

หญิงสาวสะดุ้งตื่นจากฝันที่เต็มไปด้วยปีศาจ เป็นเรื่องราวดัดแปลงให้ล้อกับภาพวาด เดอะ ไนท์แมร์ ของเฮนรี่ ฟืซลี่ ที่เล่าถึงตำนานของตะวันตกยุคกลางเกี่ยวกับ อินคิวบัส ปีศาจที่ลักลอบมีสัมพันธ์กับหญิงสาวขณะนอนหลับเพื่อสืบทายาท จากนั้นจะดูดกินพลังงานจากเหยื่อจนหมด แต่หากโชคดีรอดจากความตาย หญิงผู้นั้นจะรู้สึกว่าเรื่องทั้งหมดเป็นเพียงฝันร้ายเท่านั้น

The Dream

Artist: Paul Spooner

Paul Spooner’s piece is related to Henry Fuseli’s renowned painting The Nightmare. In the painting, Incubus, a male demon in Western medieval legend has sexual intercourse with a female victim in order to spawn other incubi, draining her energy to sustain itself. In the end, the survivor wonders whether or not it was a dream.

เครื่องร่อนถีบจักร

ศิลปิน: คีธ นิวสเต็ด

แนวคิดจากเครื่องทุ่นแรงในการ์ตูนของวิลเลี่ยม ฮีธ โรบินสัน ผสมกับโครงสร้างจาก รถย้อนยุคแบบโลกอนาคต ของโรแลนด์ เอเมตต์ นักสร้างผลงานประกอบกลไกสุดประหลาด กลายเป็นต้นแบบของหุ่นเครื่องร่อนเอนกประสงค์ที่ชาวนาชื่อจังกัสใช้พาเจ้าหมูไปเที่ยวรดน้ำแปลงผักและตากถุงเท้าได้พร้อมๆ กัน

The Junkas Giles Agriplane

Artist: Keith Newstead

Keith Newstead has always been inspired by the labour saving devices of William Heath Robinson and Roland Emmett’s Vintage Car of the Future. In this piece the farmer called Junkas Giles is able to transport his pig, water his crops, and even dry his socks, all at the same time.

นกยูงรำแพน

ศิลปิน: คีธ นิวสเต็ด

นกยูงทองเหลืองรำแพนพร้อมกับขยับหัวไปได้รอบๆ เพราะมีล้อตัวหลัก (ลูกเบี้ยว) เชื่อมกับลูกรอกที่ใช้เชือกไนลอนรั้งให้ปากและหางนกยูงค่อยๆ กางออก กลไกที่ใช้เชือกรั้งไว้ตรงหางทั้งสองข้างเป็นวิธีง่ายๆ แต่ทำให้เรานึกถึงนกยูงตัวผู้ที่รำแพนอวดความสวยได้อย่างเต็มที่ เมื่อจบการแสดงหางของเจ้านกยูงจะพับเก็บได้โดยใช้สปริง

Peacock

Artist: Keith Newstead

Peacock uses four main mechanical principles. There is a large cam which rotates. This is connected to smaller pulleys with nylon thread, which operate the mouth opening and the tail. One movement lifts the whole tail upwards, and then two linkages at either side of the tail make sure that it opens out fully. In order to finish the sequence for the tail to return, a spring is used to close the feathers.

วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

ศิลปิน: สล่า คำจันทร์ ยาโน

ครูช่างแกะสลักไม้แห่งบ้านถ้ำผาตอง จังหวัดเชียงราย ผู้ผสานงานแกพสลักเข้ากับวิถีชีวิตคนไทย

Living by the “Sufficiency” Principle

Artist: Kamchan Tanor

Salah Kamchan, also known as Kamchan Tanor, is a master wood craftsman from Tham Pha Thong village in Chiang Rai. His mechanical sculptures are capturing the whole life cycle of a Thai village.

เวิร์กช้อปในห้องแกลเลอรี


Related To This Item

สื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


You May Also Like

แนะนำสื่ออื่นๆ ที่น่าสนใจ


Your Recent Views

สื่ออื่นๆ ที่คุณเพิ่งดู