Archive

Vivienne Westwood Exhibition นิทรรศการ วิเวียน เวสต์วูด

Description

วันที่จัดแสดง : 22 กรกฏาคม – 24 กันยายน 2549 สถานที่ : ห้องนิทรรศการ 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ Date : 22 July - 24 September 2006 Venue : Gallery 2, TCDC, The Emporium, 6th Floor

Subject

Vivienne Westwood / Fashion / clothing / punk / history / creativity / design / rock / pirate / art / tailoring / tartan / corsets / wear / tcdcarchive

Details

Released 22 July 2006
File Format text/html
Print

Vivienne Westwood Exhibition นิทรรศการ วิเวียน เวสต์วูด

วันที่จัดแสดง : 22 กรกฏาคม – 24 กันยายน 2549

สถานที่ : ห้องนิทรรศการ 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์

Date : 22 July - 24 September 2006

Venue : Gallery 2, TCDC, The Emporium, 6th Floor

บทนำ

คนบางคนปรับตัวเองตามโลก

แต่คนบางคนปรับโลกให้เข้ากับตัวเอง...

และโลกก็หมุนได้ด้วยคนอย่างหลัง

ประเทศอังกฤษในทศวรรษ 1970 วิกฤตเศรษฐกิจก่อให้เกิดอัตราคนว่างงานที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง หนุ่มสาวชนชั้นแรงงานมากมายพลอยได้รับผลกระทบนี้ไปด้วย พวกเขาเกิดความรู้สึกแปลกแยกจากสังคม ด้วยเบื่อวัฒนธรรมของพวกฮิปปี้ ไม่แยแสคำขวัญประเภท "สันติภาพและความรัก" และทนไม่ได้กับดนตรีดิสโก้ หนุ่มสาวขบถเหล่านี้ปฏิเสธที่จะเดินตามคนรุ่นเก่า และหาทางระบายความคับแค้นใจผ่าน ดนตรีพังก์ ที่มีจังหวะกระแทกกระทั้นและเนื้อหากร่นด่าสังคม

วิเวียน เวสต์วูด สาวน้อยชนชั้นกรรมาชีพ ก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่พอใจสภาพแวดล้อมรอบตัว เธอออกแบบแฟชั่นแนวพังก์ ตั้งแต่เสื้อยืดขาดวิ่นที่ยึดไว้ด้วยเข็มกลัด พร้อมกับคำขวัญที่มีเนื้อหาปลุกระดม ตลอดจนแจ็กเก็ตหนังปักหมุด ไปจนถึงอาภรณ์ของพวกที่มีรสนิยมทางเพศโลดโผน เพื่อเป็นช่องทางแสดงออกในการหาพื้นที่ยืนในสังคมอังกฤษซึ่งถูกล้อมกรอบด้วยระบบชนชั้นแน่นหนา

แต่ต่อมา แฟชั่นพังก์ที่ เวสต์วูดได้สร้างสรรค์ไว้ได้กระเพื่อมออกไปจนกลายเป็นวัฒนธรรมกระแสหลัก เธอก็ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ เวสต์วูดค้นหาตัวเองอีกครั้งด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์และศิลปะอย่างจริงจัง เธอดึงรายละเอียดที่น่าสนใจอย่างกระโปรงสุ่มไก่และชุดชั้นในรัดรูปจากอดีตมาใช้ แต่แทนที่จะลอกเลียนมาโดยตรง เวสต์วูดเลือกที่จะนำมาปรับโฉมใหม่และใส่ความแหวกแนวตามแบบฉบับของตัวเองลงไปจนได้ผลงานออกแบบที่ไม่เหมือนใคร คุณสมบัตินี้เองที่นำพาให้วิเวียน เวสต์วูด ก้าวขึ้นสู่การเป็นดีไซน์เนอร์ชั้นนำของโลกจวบจนปัจจุบัน

นิทรรศการ "วิเวียน เวสต์วูด" เป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบและพิพิธภัณฑ์วิกตอเรีย แอนด์อัลเบิร์ต สะท้อนให้เห็นพัฒนาการในผลงานสร้างสรรค์ของเธอ ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสามยุค ตั้งแต่เสื้อผ้าแนวปฏิวัติในยุค 70 เรื่อยมาจนถึงยุค 80 ที่เธอได้สร้างสรรค์แฟชั่น “นีโอโรแมนติก” ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากเครื่องแต่งกายในอดีต จนล่วงเข้าสู่ยุค 90 ถึงปัจจุบัน ที่ฝีมือการออกแบบของเธอพัฒนามาจนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและได้รับการยกย่องไปทั่วโลกนับจากบรรทัดนี้เป็นต้นไป คุณจะได้รู้จักตัวตน ความคิด และชีวิตอันน่าอัศจรรย์ของวิเวียน เวสต์วูด ดีไซน์เนอร์ชั้นนำที่มีส่วนหมุนโลกแฟชั่นมากว่า 30 ปี

Introduction

Some people adapt themselves to the world, while others adapt the world to themselves. The world goes round because of the latter group.

In '70s Britain, the economic recession led to the highest unemployment rates since World War II. Working class youth came out of school to discover that they couldn't find jobs or even opportunities. They felt alienated from their own country. They were tired of hippie culture, indifferent to "peace and love" slogans of the previous generation, and hated disco music. These rebellious young people rejected existing rules, while venting their frustration through punk - a type of fast, loud and aggressive rock music.

Vivienne Westwood, a disaffected working class girl, ran a clothing shop that introduced punk fashions such as ripped T-shirts with safety pins bearing anti-establishment slogans, studded leather jackets and fetish wear, as a way to express herself and build her own community in a British society so divided by class.

When punk was embraced by the mainstream, Westwood carried out extensive research into history and art. Instead of imitation, she parodied aristocratic beauty, converting Victorian crinolines into sexy but childish mini-skirts, and corsets into outerwear. Westwood's unique creativity has taken her to the forefront of the international fashion industry.

A collaboration between Thailand Creative & Design Center and the Victoria & Albert Museum, the "Vivienne Westwood" exhibition reflects the evolution of her designs - from the outrageous punk rock style of the '70s, to the "neo-romantic" designs inspired by classical costumes during the '80s, and then the one-of-a-kind elegant style since the '90s to the present day, which has earned her world acclaim.

Watch the retrospective of Vivienne Westwood, one of the most influential fashion designers of the last 30 years, unfold before your eyes.

ฉันเป็นคนชอบอยู่นอกกรอบโดยสันดาน

นิทรรศการ "วิเวียน เวสต์วูด" เสนอผลงานการออกแบบและเส้นทางอาชีพอันผาดโผนของ วิเวียน เวสต์วูด ผู้มีบทบาท สำคัญต่อกำเนิดของพังก์ร็อกในช่วงทศวรรษ 1970 และได้ชื่อว่าเป็นนักออกแบบที่มีความแตกต่างและทรงอิทธิพล ที่สุดคนหนึ่งในยุคของเรา เธอพูดถึงแฟชั่นว่า "เหมือนทารกที่พอได้อุ้มแล้วก็วางไม่ลง"

เอกลักษณ์งานออกแบบของเวสต์วูดคือ การแหกกฎโดยหยิบยืมจารีตประเพณีดั้งเดิมและล้อเลียนแบบแผนที่ได้รับการยกย่อง อย่างการใช้ผ้าอังกฤษแท้ ๆ เช่น ผ้าขนแกะทอมือ แฮร์ริสทวีด และผ้าลายตาสกอต การชุบชีวิตเสื้อผ้าโบราณอย่างเสื้อยกทรงรัดรูป หรือคอร์เส็ต และกระโปรงทรงสุ่มไก่คริโนลีนให้สามารถสวมใส่ได้จริง ผลงานของเธอมักได้แรงผลักดันจากความช่างสงสัยในสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเธอเรียกกระบวนการนี้ว่า "การเรียนรู้จากการลงมือทำจริง"

ความคิดสร้างสรรค์ของเวสต์วูดแสดงผ่านผลงานกว่า 150 ชุด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากคอลเลกชั่นส่วนตัวและพิพิธภัณฑ์วิกตอเรียแอนด์อัลเบิร์ต หรือ วีแอนด์เอ โดยครอบคลุมความสุดโต่ง ตั้งแต่แฟชันตามท้องถนนในกรุงลอนดอนไปจนถึงเวทีเดินแบบกลางกรุงปารีส และการพลิกโฉมจากเจ้าของร้านขายเสื้อผ้าหัวปฏิวัติมาเป็นราชินีในวงการแฟชั่นที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด

Vivienne Westwood

I have a kind of in-built clock which

always reacts against anything orthodox.

This exhibition celebrates the extraordinary career of Vivienne Westwood. She played a vital role in the emergence of Punk Rock in the 1970s and has gone on to become one of the most original and influential designers of our time. Fashion, she said, was 'a baby I picked up and never put down'.

Her designs combine a fearless unconformity with a sense of tradition. She is renowned for her gentle parody of Establishment styles, her use of very British fabrics such as Harris tweed and tartan, her re-use of historic garments such as the corset and crinoline. Yet, her approach has always been practical, driven by a curiosity about how things work, a process she describes as 'learning through action'.

Westwood's inventiveness is revealed in over 150 exhibits, largely taken from her personal archive and the V&A's collections. It spans the extremes of fashion, from the streets of London to the Parisian catwalks, and her own evolution from subversive shop owner to fashion doyenne.

ช่วงเริ่มต้น

ไม่รู้ว่าเด็กสาวพื้นเพชนชั้นกรรมกรอย่างฉันจะมีปัญญาทำมาหากินอะไรในโลกศิลปะ

วิเวียน อิซาเบล สไวร์ เกิดที่เมืองกลอสสอปเดล มณฑลดาร์บีเชียร์ เมื่อวันที่ 8 เมษายน ปี 1941 แม่ของเธอเป็นช่างทอในโรงงานทอผ้าท้องถิ่น ส่วนพ่อมาจากตระกูลช่างทำรองเท้า หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวของเธอได้ดำเนินกิจการไปรษณีย์ย่อยในหมู่บ้านทินทวิสเทิล จนถึงช่วงปลายทศวรรษ 1950 จึงย้ายเข้าไปอยู่ทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงลอนดอน

หลังจบโรงเรียนมัธยมของรัฐเมื่ออายุ 16 ปี วิเวียนได้ศึกษาต่อที่วิทยาลัยสอนศิลปะแห่งแฮร์โรว์เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ โดยเลือกวิชาแฟชั่นและการทำเครื่องเงิน แต่หลังจากจบภาคการศึกษาแรก เธอก็ลาออกโดยให้เหตุผลว่า "ไม่รู้ว่าเด็กสาวพื้นเพชนชั้นกรรมกรอย่างฉันจะมีปัญญาทำมาหากินอะไรในโลกศิลปะ" เธอกลายเป็นสาวโรงงานและเข้ารับการฝึกอบรมเป็นครูโรงเรียนชั้นประถมในเวลาต่อมา หลังจากแต่งงานกับ เดเรก เวสต์วูด เมื่อปี 1962 ในปีถัดมาเธอก็ให้กำเนิดเบนจามินลูกชายคนแรก

วิเวียนเป็นคนชอบ "แต่งตัวประหลาด" เป็นประจำอยู่แล้ว สมัยเป็นวัยรุ่นช่วงทศวรรษ 1950 เธอแปลงชุดนักเรียนเลียนแบบกระโปรงทรงสอบซึ่งกำลังเป็นที่นิยม และออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าของตัวเองอย่างชุดกระโปรงยาวรัดรูปแบบ "นิวลุก" นอกจากนั้นเธอยังสามารถตัดชุดกระโปรงเข้าทรงแขนกุดตะเข็บเดี่ยวโดยใช้ผ้าเพียงหลาเดียวเท่านั้น

The Early Years

“I didn't know how a working-class girl like me could possibly make a living in the art world”

Vivienne Isabel Swire was born in Glossopdale, Derbyshire, on 8 April 1941. Her mother had been a weaver in the local cotton mills and her father came from a family of shoemakers. After the war, they ran a sub post office in Tintwistle and in the late 1950s moved to north-west London.

Leaving grammar school at 16, Vivienne briefly attended Harrow Art College. She studied fashion and silversmithing, but left after a term because 'I didn't know how a working-class girl like me could possibly make a living in the art world'. She worked in a factory and trained to become a primary school teacher. In 1962 she married Derek Westwood and in 1963 her first son, Benjamin, was born.

Vivienne always enjoyed 'cutting a dash'. As a teenager in the 1950s, she customised her school uniform to emulate the fashionable pencil skirt and made many of her own clothes, including a long, fitted 'New Look' dress. She made sleeveless shifts, with a single seam and darts, from exactly one yard of fabric.

สู่สังเวียนร็อก

วิเวียน เวสต์วูด พบรักกับ มัลคอล์ม แมกลาเรน เมื่อปี 1965 และในปีถัดมาก็ให้กำเนิดลูกชายชื่อ โจเซฟ เฟอร์ดินานด์ คอร์เร จากชีวิตการทำงานด้วยกันตั้งแต่ปี 1970 จนถึงปี 1983 ทั้งสองได้ร่วมกันสร้างวัฒนธรรมพังก์ขึ้น

วิเวียนเล่าว่า “ตอนนั้นมันเหมือนมีประตูอีกหลายบานที่อยากเปิดให้ออกแล้วเขาก็กำกุญแจพวกนั้นอยู่ นอกจากนั้นเขายังมีทัศนคติทางการเมืองที่ชัดเจนมาก ส่วนฉันก็กำลังหาจุดยืนของตัวเองอยู่

แมกลาเรนเกิดเมื่อปี 1946 ที่เมืองสโตกนิววิงตัน ครอบครัวมีธุรกิจเสื้อผ้าที่ประสบความสำเร็จ เขาเรียนโรงเรียนสอนศิลปะตั้งแต่ปี 1964 ถึง 1971 และฝักใฝ่กับความคิดที่จะ "ก่อความวุ่นวายโดยใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือ" เขาคลั่งไคล้แฟชั่นและดนตรี และมองว่าทั้งสองคือส่วนหนึ่งของจิตวิญญาณนอกลู่นอกทางของร็อกแอนด์โรลล์อย่างแยกไม่ออก เขาปฏิเสธแฟชั่นฮิปปี้ตามสมัยนิยม สวมรองเท้าแบบ "แมงดา" และเสื้อโค้ตยาวแบบสวมทับไหล่

ในปี 1971 แมกลาเรนเปิดร้านชื่อ “เล็ต-อิต-ร็อก” ณ เลขที่ 430 ถนนคิงส์โรด ขายเสื้อผ้าย้อนยุค เสื้อผ้าแบบเท็ดดี้บอย และเสื้อผ้าที่วิเวียนออกแบบ ต่อมาเขาเปลี่ยนชื่อร้านเป็น “ทู-ฟาสต์-ทู-ลีฟ-ทู-ยัง-ทู-ดาย” (รวดเร็วจนไม่น่าจะมีชีวิตอยู่ แต่ก็เด็กเกินไปที่จะตาย) และขายเสื้อผ้าที่สั่งทำเป็นพิเศษสำหรับสิงห์นักบิด ในช่วงสิบปีจากนี้ หน้าตาของร้านก็เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ และแต่ละครั้งก็มาพร้อมกับการปรับโฉมอย่างมีสไตล์ของแมกลาเรน

LET IT ROCK

Vivienne Westwood met Malcolm McLaren in 1965, and their son Joseph Ferdinand Corr? was born the following year. Their working relationship, which lasted from 1970 until 1983, launched Punk. Vivienne recalled, ‘I felt there were so many doors to open, and he had the key to all of them. Plus, he had a political attitude and I needed to align myself.’

McLaren was born in 1946 in Stoke Newington, where his family had a successful clothing company. He attended art school between 1964 and 1971 and enjoyed the idea of 'using culture as a way of making trouble'. He was obsessed by fashion and music and saw them as an inseparable part of a rock'n'roll outlaw spirit. Rejecting the dominant hippie look, he wore ‘brothel creeper’ shoes and drape coats.

In 1971, McLaren opened a shop called Let It Rock at 430 King's Road. He sold vintage and repro Teddy Boy clothes, as well as garments made by Vivienne. Tiring of this, he then changed the name to Too Fast to Live, Too Young to Die and sold customised biker gear. Over the next decade the shop underwent further changes of identity, each accompanied by a stylistic makeover by McLaren.

SEX

ในปี 1975 เวสต์วูดและแมกลาเรนเบนเข็มไปยังแฟชั่นของคนอีกกลุ่ม แมกลาเรนตั้งชื่อร้านว่า “เซ็กส์” และเขียนข้อความเหนือประตูด้วยลายมือหวัด ๆ ว่า "งานฝีมือจำเป็นต้องหาเครื่องนุ่งห่ม แต่สัจธรรมรักจะเปลือยกายล่อนจ้อน " ภายในร้านเต็มไปด้วยสีพ่นข้อความสัปดนแขวนม่านที่ทำจากยาง และขายเสื้อผ้าที่เกี่ยวกับเซ็กส์และความรุนแรง

มาร์โค เปียร์โรนี แห่งวงดนตรี อาดัมแอนด์ดิแอนต์ส จำได้ว่าตอนนั้นอังกฤษมีแต่เสื้อผ้าบริ-ไนลอนสีเบจกับสีครีม ร้านนี้เลยไม่ต่างอะไรกับบ่อน้ำกลางทะเลทราย คุณต้องกล้าและบ้าบิ่นมากพอตัวในการที่จะสวมชุดยางเดินถนน และถ้าใครเคยซื้อของที่นั่นก็จะไม่หนีไปซื้อที่ไหนอีกแล้ว เวสต์วูดมองเห็นความงดงามของเสื้อผ้าต้องห้ามเหล่านี้ เธอเล่าว่า “ผู้คนมักตกใจกับเสื้อผ้าทุกชุดที่ฉันใส่ ฉันเลือกสวมเสื้อผ้าเหล่านั้นเพราะรู้สึกว่าตัวเองเหมือนเจ้าหญิงจากอีกพิภพหนึ่ง

บรรยากาศที่น่ากลัวของร้าน "เซ็กส์” มักดึงดูดลูกค้าประหลาด ๆ ทั้งพวกถ้ำมอง พวกนิยมของแปลกและพังก์รุ่นบุกเบิกในย่านคิงส์โรด พนักงานขายของในร้านชื่อ จอร์แดน ก็เป็นคนแปลกไม่เหมือนใคร เธอมักสวมชุดยาง ยีผมจนโป่งเป็นทรงรังผึ้ง และแต่งหน้าอย่างวิลิศมาหราเหมือนจะไปเล่นละคร จนการรถไฟอังกฤษต้องจัดให้จอร์แดนนั่งตู้รถไฟชั้นหนึ่งระหว่างเดินทางจากซัสเซกส์มาทำงานในเมืองทุกวันเพื่อเห็นแก่ความปลอดภัยของเธอเอง

SEX

In 1975 Westwood and McLaren's focus shifted to another fashion minority. McLaren renamed the shop Sex and scrawled above the door 'Craft must have clothes but Truth loves to go naked'. The interior was sprayed with pornographic graffiti, hung with rubber curtains and stocked with sex and bondage wear.

Marco Pirroni, of the group Adam and the Ants, recalled: 'The country was a morass of beige and cream Bri-Nylon and their shop was an oasis. It took great liberalism and bravery to wear rubber in the street. If you shopped there, you didn't go anywhere else.' Westwood saw a kind of loveliness in this forbidden clothing: 'All the clothes I wore people would regard as shocking. I wore them because I just thought that I looked like a princess from another planet.'

Sex was intimidating and it attracted a bizarre clientele, with voyeurs and fetishists mixing with proto-Punk King's Road shoppers. Jordan, the shop assistant, was even more extraordinary. She wore rubber clothes, a beehive hairstyle and theatrical make-up. On her daily commute from Sussex, British Rail put Jordan in a first-class compartment for her own protection.

กบฎ

ปี 1976 แมกลาเรนเปลี่ยนชื่อร้านเป็น "เซดิชันนารีส์ (กบฏ) - เสื้อผ้าสำหรับวีรชน" ภายในร้านตกแต่งคล้ายโลกอนาคต และมีภาพจัตุรัสพิคคาดิลลีวางตีลังกากลับหัวคู่กับนครเดรสเดนในเยอรมนีตะวันออกที่ถูกทำลายพังพินาศ เพดานร้านติดไฟสปอตไลต์ที่ให้แสงผ่านรูที่เจาะไว้อย่างหยาบ ๆ และขังหนูเป็น ๆ ตัวหนึ่งไว้ในกรง

ในช่วงนี้ แมกลาเรนก้าวมาเป็นผู้จัดการวงดนตรีพังก์ เดอะเซ็กส์พิสตอลส์ และเป็นหัวหอกสำคัญของการสร้างตำนาน พังก์ร็อก ซึ่งสมัยนั้นถือเป็นปรากฎการณ์ใหม่ในวงการเพลง "เซดิชันนารีส์" เป็นการผสมผสานระหว่างแฟชั่นแบบโค่นล้มจารีตประเพณีของเวสต์วูด และผลงานที่เกี่ยวกับดนตรีในช่วงหลังของแมกลาเรน การนำเสื้อผ้าอันสะสวยในช่วงทศวรรษ 1950 มาฉีกจนขาดวิ่นส่วนชุดหนังก็ประดับด้วยโซ่และตราของพวกสิห์นักบิด และยังมีสายคาดกับหัวเข็มขัดของพวกคลั่งไคล้ของแเปลก ๆ เวสต์วูด กล่าวว่า "คุณนึกภาพพังก์ร็อกไม่ออกหรอกถ้าไม่มีเสื้อผ้าพวกนี้"

เสื้อผ้าแนว "เซดิชันนารีส์" ราคาค่อนข้างสูงแต่บรรดาผู้คลั่งไคล้ต่างดัดแปลงเสื้อผ้าของตัวเองจนเป็นที่แพร่หลายพังก์ปลุกกระแสความรู้สึกต่อต้านอย่างเปิดเผย ซึ่งส่งผลต่อมาจนถึงปัจจุบัน เวสต์วูดมองแนวคิดนี้ว่าเป็น "ความพยายามอย่างบ้าบิ่นในการเผชิญหน้ากับคนยุคเก่า" แต่ท้ายที่สุดพังก์ก็ไม่สามารถรอดพ้นจากการถูกดูดกลืนและถอนพิษโดยวัฒนธรรมกระแสหลัก เวสต์วูดซึ่งตอนนั้นอายุสี่สิบต้น ๆ จึงเปลี่ยนยุทธวิธีในการทำลายขนบหรือแบบแผนที่สังคมยกย่องอย่างตรงไปตรงมาสู่การต่อสู้ทางความคิด

Seditionaries

In 1976 McLaren renamed the shop Seditionaries - Clothes for Heroes. Its futuristic interior featured images of an upside-down Piccadilly Circus and a ruined Dresden. Spotlights poked through roughly hacked holes in the ceiling and there was a live rat in a cage.

McLaren was now manager of the Sex Pistols and a key figure in the emerging Punk Rock phenomenon. The Seditionaries collection brought together all the subversive elements in Westwood and McLaren's recent work. There were the ripped garments of 1950s pin-ups; the leather, chains and badges of bikers; the straps and buckles of the fetishists. As Westwood said, 'You couldn't imagine the Punk Rock thing without the clothing'.

Seditionaries clothes were never cheap, but the fans improvised their own gear and the look spread rapidly. Punk provoked open hostility and is still potent today. Westwood viewed it as ‘a heroic attempt to confront the older generation’, but inevitably it was absorbed and disarmed by the mainstream. Westwood, then in her early forties, turned her attention to subverting the Establishment from within.

โจรสลัด

ช่วงต้นทศวรรษ 1980 ถือเป็นจุดหักเหของแมกลาเรนและเวสต์วูด ในขณะที่แมกลาเรนหัวปักหัวปำอยู่กับดนตรี เวสต์วูดเริ่มมองตัวเองเป็นนักออกแบบเสื้อผ้าอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก แต่เธอยังค้นหาทิศทางใหม่ ๆ เธอเล่าว่า "เราอยากจะไปให้พ้นจากความรู้สึกมืดมัวเหมือนติดอยู่ในอุโมงค์รถไฟใต้ดินของอังกฤษ" แมกลาเรนชี้ทางว่า "ทำอะไรที่ดูโรแมนติกบ้างสิ ลองศึกษาประวัติศาสตร์"

ทั้งสองแปลงโฉมร้านที่ตั้งอยู่ท้ายย่านเชลซีอีกครั้ง ภายในจำลองเรือโบราณแบบสเปนที่เอียงกระเท่เร่โดยเจาะช่องหน้าต่างบานเล็ก ๆ ปรับเพดานให้เตี้ยลง และทำพื้นเลียนแบบดาดฟ้าเรือที่ลาดเท ส่วนหน้าร้านมีหน้าจั่วทำจากหินชนวนห้อยลงมาและแขวนนาฬิกาเรือนใหญ่บอกเวลา 13 ชั่วโมง ซึ่งเข็มนาฬิกาหมุนถอยหลังอย่างรวดเร็ว

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือที่มาของ ไพเรต (โจรสลัด) เสื้อผ้าคอลเลกชั่นแรกของแมกลาเรนและเวสต์วูดที่ได้ขึ้นเวทีแฟชั่นที่อาคารโอลิมเปียในลอนดอนซึ่งจัดช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 1981 ท่ามกลางเสียงปืนใหญ่และดนตรีแร็ปเสื้อผ้าคอลเลกชั่นนี้ทำให้หวนนึกถึงยุคทองของการโจรกรรม โจรปล้นนักเดินทาง ผู้ชายเจ้าสำรวย และโจรสลัดเช่นเดียวกับคอลเลกชั่นพังก์ เสื้อผ้าชุดนี้เป็นแบบยูนิเซ็กส์ คือใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ไพเรต ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และสร้างชื่อเสียงให้กับแมกลาเรนและเวสต์วูดในฐานะนักออกแบบมืออาชีพซึ่งมีผลงานเป็นที่ต้องการของตลาด

Pirate

The early 1980s marked a turning point in McLaren and Westwood's career. McLaren was immersed in music and Westwood, for the first time, began to see herself as a fashion designer. But she needed a new direction, saying: 'We wanted to get out of that underground tunnel feeling of England, that dark feeling.' McLaren said, 'Do something romantic. Look at history.'

The shop was again remodelled and settled on its final apotheosis of World's End. The interior became a lurching galleon with small windows, a low ceiling and a sloped decking floor. The shopfront had a drooping slate gable and a large clock displaying 13 hours, the hands travelling rapidly back in time.

Out of it came Pirate, McLaren and Westwood's first catwalk collection. It was shown at London Olympia in spring 1981, to a blast of cannon fire and rap music. The clothes evoked the golden age of piracy, an age of highwaymen, dandies and buccaneers. As in Punk, the garments were unisex. The collection immediately entered the mainstream and McLaren and Westwood gained a new reputation, as serious and marketable designers.

กลับสู่โคลนตม

จากการชี้นำของแมกลาเรน เวสต์วูดเริ่มมีมุมมองที่เปิดกว้างมากขึ้น เธอออกแบบคอลเลกชั่นใหม่ ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากภาพคนหลากเชื้อชาติและชนพื้นเมืองในนิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟิก คอลเลกชั่นชุดที่สองชื่อว่า ซาเวจ -เถื่อน (ฤดูใบไม้ผลิ / ฤดูร้อน ปี 1982) เป็นการผสมผสานสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทั้งลวดลายอินเดียนแดงกับเสื้อโค้ตหนัง หมวกทหารต่างชาติสวมกลับหลัง กางเกงซับในแบบยุโรป และกางเกงขาสั้น

คอลเลกชั่น นอสตาลเจีย ออฟ มัด–กลับสู่โคลนตม (ฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว ปี 1982) ประกอบด้วยกระโปรงทรงหลวมที่ขาดรุ่งริ่ง และแจกเก็ตหนังแกะสีโคลน ส่วนคอลเลกชั่น พังกาเชอร์ (ฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน ปี 1983) ให้ความรู้สึกแบบดิบๆ โดยเน้นการเลือกใช้ผ้าใยธรรมชาติแบบพรีวอช (การแช่ผ้าในน้ำก่อนตัดเพื่อกันเส้นใยหดตัว) และผ้าพิมพ์ลายที่เล่นคำว่า "พังก์" และ "กูตูร์" และภาพบางส่วนจากภาพยนตร์เรื่อง “เบลด รันเนอร์” ของริดลีย์ สกอตต์

Nostalgia of Mud

Westwood's horizon opened and expanded. With the help of McLaren, she devised new collections based on ethnic and primitive looks culled from National Geographic magazine. Their second collection was called Savage (Spring/Summer 1982). It combined Native American patterns with leather frock coats, Foreign Legion hats worn back-to-front, 'petti-drawers' and shorts.

Then came Nostalgia of Mud (Autumn/Winter 1982), with its huge tattered skirts and sheepskin jackets in muddy colours. Punkature (Spring/Summer 1983) still had a raw feeling and an emphasis on pre-washed and over printed natural fabrics. It played on the words 'punk' and 'couture', and carried images from Ridley Scott's film Blade Runner.

แม่มด

สำหรับคอลเลกชั่น วิตเชส (แม่มด) แมกลาเรนและเวสต์วูดปลุกมนต์ดำขึ้นมาโดยได้แรงบันดาลใจจาก "สัญลักษณ์ที่เต็มไปด้วยมนต์ขลังและพลังลี้ลับ" ของศิลปินนักพ่นกำแพงกราฟฟิตี้ คีธ แฮริง แห่งนครนิวยอร์ก ซึ่งถูกนำมาพิมพ์ด้วยสีเรืองแสงทับบนพื้นหลังที่ดูคล้ายกระดาษสำหรับทำดอกไม้ไฟ

"แม่มด" โดดเด่นด้วยเสื้อแจกเก็ตและเสื้อโค้ตตัวโคร่ง เสื้อแจกเก็ตติดกระดุมสองแถว และเสื้อกันฝนผ้าฝ้ายสีครีมตัวใหญ่ ทั้งหมดนี้สวมทับเสื้อถักแจคการ์ดรัดรูป กระโปรงทรงสอบ และหมวกทรงแหลม ส่วนรองเท้าผ้าใบ สั่งทำพิเศษให้มีลิ้นรองเท้าสามลิ้น ล้อกับแสงไฟวูบวาบและจังหวะจะโคนของเพลงแร็ป "คล้ายลำดับของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ที่บางครั้งผู้คนอาจรู้สึกสับสนในขณะที่ก้าวเดินไปข้างหน้า"

คอลเลกชั่น "แม่มด" ถือเป็นการจับมือกันทำงานเป็นครั้งสุดท้ายระหว่างแมกลาเรนและเวสต์วูด ทั้งสองฝากผลงานแห่งความสร้างสรรค์และเปิดโลกใหม่ให้กับวงการแฟชันจนถึงทุกวันนี้

Witches

For their Witches collection McLaren and Westwood began to conjure up darker spirits. They found 'a magical, esoteric sign language' in the work of the New York graffiti artist Keith Haring. This was printed in fluorescent colours on backgrounds that resembled firework paper.

Witches featured oversized jackets and coats, double-breasted jackets and huge cream cotton mackintoshes. These were worn with knitted jacquard bodies, tube skirts and pointed hats. The customised trainers had three tongues that emulated the freeze-frame effect of strobe lighting and the jerky sound of rap music: 'Like sequences of things, where people are dislocated somehow at the same time that they're moving.'

The Witches collection was the final collaboration between McLaren and Westwood. Through their creative partnership, they introduced an entirely new fashion vocabulary which is still influential today.

ฮิปโนสและคลินต์ อีสต์วูด

ปี 1984 เวสต์วูดย้ายไปอยู่อิตาลีกับหุ้นส่วนทางธุรกิจคนใหม่ คาร์โล ดามาริโอ ซึ่งปัจจุบันคือกรรมการผู้จัดการของเธอด้วย คอลเลกชั่น “ฮิปโนส” เต็มไปด้วยเสื้อผ้าเท่ ๆ ทำด้วยผ้าใยสังเคราะห์สีชมพูและสีเขียวเรืองแสงสำหรับเล่นกีฬา กลัดด้วยกระดุมยางรูปอวัยวะเพศชาย คอลเลกชั่นนี้ได้แสดงที่กรุงโตเกียวในงานมอบรางวัลแฟชั่นโลก "เบส ออฟ ไฟว์" ซึ่ง ฮานาเอะ มอริ จัดขึ้น ร่วมกับผลงานของแคลวิน ไคลน์, คลอด มอนแทนา และจีอานฟรังโก แฟร์เร

จากนั้นไม่นานก็ตามมาด้วย "คลินต์ อีสต์วูด" คอลเลกชั่นที่โหยหาชีวิตกลางแจ้งซึ่งมักเห็นบ่อยครั้งในภาพยนตร์คาวบอย เวสต์วูดกล่าวว่า "บางครั้งคุณต้องปล่อยความคิดให้หลุดไปสู่โลกจินตนาการซึ่งไม่มีอยู่จริง แล้วตกแต่งมันด้วยการเติมผู้คนที่ดูน่าสนใจ” คอลเลกชั่นนี้ประกอบด้วยเสื้อผ้าซึ่งเต็มไปด้วยตราบริษัทในอิตาลี และแผ่นผ้าเรืองแสงที่ได้แรงบันดาลใจจากป้ายไฟนีออนในกรุงโตเกียว

Hypnos and Clint Eastwood

By 1984 Westwood had moved to Italy with her new business partner and present managing director, Carlo D'Amario. The Hypnos collection featured sleek garments made out of synthetic sports fabric in fluorescent pinks and greens. They were fastened with rubber phallus buttons. The collection was shown in Tokyo at Hanae Mori's 'Best of Five' global fashion awards, along with work by Calvin Klein, Claude Montana and Gianfranco Ferre.

This was soon followed by Clint Eastwood, a collection that hankered after the wide open spaces seen in Western films. 'Sometimes', she said, 'you need to transport your ideas to a world that doesn't exist and then populate it with fantastic looking people.' It included garments smothered in Italian company logos and Day-Glo patches inspired by Tokyo?s neon signs.

มินิ-ครินิและแฮร์ริสทวีด

เสื้อผ้าในคอลเลกชั่น “มินิ-ครินิ” เริ่มมีการเน้นรูปร่างมากขึ้นซึ่งตรงกันข้ามกับเสื้อเสริมไหล่แบบผู้ชาย และการบีบสะโพกให้ดูเล็กลงซึ่งเป็นที่นิยมในช่วงทศวรรษ 1980 จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของเวสต์วูด ทำให้เธอเชื่อว่าเสื้อผ้าคือ "การเปลี่ยนแปลงรูปทรงของร่างกายให้อยู่ภายใต้ข้อจำกัดบางอย่าง" สิ่งที่เธอต้องการในขณะนั้นคือ "ทำเสื้อผ้าที่เข้ารูป"

ด้วยแรงบันดาลใจจากบัลเล่ต์เปตรูชกา เวสต์วูดออกแบบ “มินิ-ครินิ” ซึ่งผสมผสานกระโปรงบัลเล่ต์สั้น ๆ กับคริโนลีนหรือกระโปรงสุ่มไก่ยุควิกตอเรียฉบับย่อ แม้จะดูเซ็กซี่ แต่ “มินิ-ครินิ” ยังเต็มไปด้วยความรู้สึกแบบเด็ก ๆ รูปทรงของเสื้อผ้าทำให้นึกถึงชุดไปงานสมัยก่อน ส่วนลายดาว ลายจุด และลายแถบที่ใช้นั้นได้มาจากการ์ตูนของวอลต์ดิสนีย์

คอลเลกชั่น “แฮร์ริสทวีด” แสดงให้เห็นถึงสายใยที่ตัดไม่ขาดระหว่างเวสต์วูดและผ้าทอดั้งเดิมของอังกฤษและความสนใจในราชวงศ์อังกฤษของเธอที่มากขึ้นเรื่อยๆ คอลเลกชั่นนี้ตั้งชื่อตามผ้าขนแกะทอมือในเกาะแฮร์ริสทางฝั่งตะวันตกของสกอตแลนด์ เสื้อผ้าหลายชุด เช่น ทวินเซ็ต ซึ่งเป็นเสื้อถักเข้าชุดผลิตโดยสเมดลีย์ เสื้อยกทรงรัดรูปคอร์เส็ต "เทพีแห่งเสรีภาพ' และเสื้อนอก "ซาวิล" ที่ตัดเย็บอย่างประณีตล้วนเป็นผลงานคลาสสิกของเวสต์วูดทั้งสิ้น

Mini-Crini and Harris Tweed

The Mini-Crini collection saw an increasingly shaped look, the antithesis of the masculine shoulder pads and tight hip styles that were current in the 1980s. Westwood's historical research had led her to believe that clothes were about 'changing the shape of the body, about having a restriction'. She now wanted to 'make things that fitted'.

Inspired by the ballet Petrushka, Westwood devised a 'mini-crini' that combined the tutu with an abbreviated form of the Victorian crinoline. Though sexy, the mini-crini was also childish. Its shape echoed the old- fashioned party frock, while the stars, polka dots and stripes came out of Disney cartoons.

The Harris Tweed collection celebrated Westwood's love affair with traditional British clothing and also her growing obsession with royalty. It was named after the woollen fabric hand-woven in the Western Isles of Scotland. Many of the garments - the twinsets made by Smedley, the 'Stature of Liberty' corsets, the tailored 'Savile' jackets - became Westwood classics.

อังกฤษต้องนอกรีต

คอลเลกชั่นถัดมารู้จักกันในชื่อ บริเทน มัสต์ โก เพกาน (อังกฤษต้องนอกรีต) เป็นคอลเลกชั่นที่มีความหลากหลายเวสต์วูดนำแนวคิดจากประเพณีดั้งเดิมของอังกฤษมาผนวกกับสไตล์คลาสสิก และ วัฒนธรรมเพกาน หรือพวกนอกรีตที่นับถือเทพเจ้าหลายองค์และบูชาธรรมชาติ โดยการจับเดรปผ้าแบบคลาสสิกด้วยผ้าทวีด ซึ่งเป็นผ้าทอขนสัตว์เนื้อหยาบ การพิมพ์ภาพโป๊เปลือยสมัยกรีกโบราณบนชุดชั้นในของสเมดลีย์ การคละกันอย่างแปลกๆ นี้ชี้ชัดถึงความขัดแย้งในงานของเวสต์วูดซึ่งมีอยู่ตลอดเวลา ความสนใจในจารีตประเพณีและวัฒนธรรม ดั้งเดิมที่เคียงคู่ไปกับอารมณ์ประชดประชันและเสรีภาพทางเพศ

ไทม์แมชีน (ตั้งชื่อตามนวนิยายของ เอช. จี. เวลส์) เวสต์วูดออกแบบชุดสูทด้วยผ้าแฮร์ริสทวีดสำหรับ "มิส มาร์เปิล" (ชื่อนักสืบหญิงตัวละครของอกาธา คริสตี้) โดยออกแบบเสื้อแจกเก็ตที่ทำจากผ้าเป็นชิ้นๆ มาเย็บต่อกันซึ่งได้แรงบันดาลใจจากชุดเสื้อเกราะอัศวินสมัยกลาง “โวยาจ ทู ซีเธอรา” (การเดินทางไปซีเธอรา) ตั้งตามชื่อภาพเขียนของศิลปินชาวฝรั่งเศส วัตโต ซึ่งถือเป็นการย้อนรอยสู่อดีตอีกครั้ง ตามมาด้วย "เพกาน เดอะ ฟิฟท์" ซึ่ง เวสต์วูดหันกลับไปหาศิลปะฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 18 การนำลวดลายจากเครื่องเคลือบดินเผา เนื้อดี "แซฟวร์" มาพิมพ์บน "ทอกา" หรือเสื้อชุดยาวติดกันแบบคลาสสิกที่นิยมสวมในสมัยโรมันทำให้ได้คอลเลกชั่นที่เปรียบได้กับ “กล้องส่องย้อนไปในอดีต”

นับจากนี้ เวสต์วูดมักหยิบยกวรรณคดีและศิลปะชั้นสูงมาใช้ในงานเสมอ ส่วนถัดไปจะแสดงผลงานซึ่งแบ่งตามหัวข้อหลักๆ ในงานของเธอตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 จนถึงปัจจุบัน

Britain Must Go Pagan

The next few collections, which became known as 'Britain Must Go Pagan', were wildly eclectic. Westwood combined traditional British themes with classical and pagan elements. Classical drapery was paired with tweed, Smedley underwear was overprinted with pornographic images from ancient Greece. This strange mix reflected the inherent contradiction in her work, its respect for tradition and culture alongside a love of parody and sexual liberty.

In Time Machine (named after H. G. Wells's novel) Westwood made precise 'Miss Marple' suits in Harris tweed and articulated jackets inspired by medieval armour. Voyage to Cythera, named after a Watteau painting, was another journey into the past. It was followed by Pagan V, in which Westwood turned again to 18th-century France. Printing S?vres patterns onto classical 'togas', she created a collection that 'telescoped time'.

From this point in her career, references to literature and high art pervaded Westwood's work. The next gallery examines themes that have dominated her collections from the 1990s to the present.

บ่มจนได้ที่

นิทรรศการนับจากส่วนนี้เป็นผลงานของวิเวียน เวสต์วูด ตั้งแต่คอลเลกชั่น พอร์เทรต (ภาพเหมือนบุคคล) ในปี 1990 ซึ่งเป็นช่วงที่ฝีมือการออกแบบของเธอเริ่มเป็นที่กล่าวขวัญทั่วโลก จนถึงผลงานล่าสุด ซึ่งมีทั้งชุดสูท ที่เน้นทรวดทรงความเป็นผู้หญิง ชุดกลางวันผ้าทวีดและผ้าลายตาสกอตตัดเย็บอย่างซับซ้อน ชุดผ้าถักหรูหรา และชุดราตรียาวงามสง่า หลายชุดเป็นงานที่เธอทำงานร่วมกับสามีคนที่สองคือ แอนเดรียอัส ครอนธาเลอร์

ในยุคมินิมาลิสต์ (น้อยแต่เหลือล้น) ที่ผู้คนนิยมรูปทรงเรียบง่าย แต่เวสต์วูดกลับเลือกสร้างบรรยากาศแห่งความโรแมนติกและความหยิ่งยโสของคนชั้นสูง ความงามอันเกิดจากความพิถีพิถันที่เธอชื่นชมในงานออกแบบของฝรั่งเศสผนวกกับ "เสน่ห์ง่ายๆ" และการตัดเย็บอย่างไร้ที่ติแบบอังกฤษขนานแท้ เธอลงความเห็นว่า "แฟชั่นที่เรารู้จักกันทุกวันนี้เป็นผลจากการถ่ายเทความคิดระหว่างฝรั่งเศสและอังกฤษ"

เวสต์วูดมองแฟชั่นว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อส่วนบุคคล เป็นสารกระตุ้นทั้งทางกายและใจ ความรู้สึกของคนที่ใส่เสื้อผ้าแต่ละชุดย่อมมีความสำคัญไม่แพ้หน้าตาของเสื้อผ้าภายนอก ดังนั้น เธอจึงบิดเบือน เน้น หรือเฉือนส่วนเกินของรูปร่างตามธรรมชาติ โดยอาศัยโครงสร้างที่เธอได้จากเครื่องแต่งกายในอดีต

Maturity

This part of the exhibition is devoted to Vivienne Westwood's work from the Portrait collection of 1990, when her designs began to receive worldwide acclaim, to her most recent work. It includes ultra-feminine suits, complex day ensembles in tweed and tartan, extravagant knitwear and opulent evening gowns. Many of these were designed in collaboration with her second husband Andreas Kronthaler.

In a period of minimalism, Westwood's creations introduced an air of romance and aristocratic hauteur. This derives from the refinement that she found in French design, but also from the 'easy charm' and impeccable tailoring of English dress. 'Fashion as we know it', she claimed, 'is the result of the exchange of ideas between France and England.'

Westwood sees fashion as personal propaganda, as an agent of arousal both physical and mental. The way clothes feel is as important as the way they look. To this end, she distorts, exaggerates and pares away the natural shape of the body, often using the constructions that she finds in historical costume.

ศิลปะแฟชั่น

เวสต์วูดมักขลุกอยู่กับคอลเลกชั่นงานศิลปะของวอลเลซในลอนดอนเพื่อศึกษาศิลปะฝรั่งเศสยุคศตวรรษที่ 18 เธอได้รับแรงบันดาลใจทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกาย ความกลมกลืนของสีสัน การออกแบบ และความเคลื่อนไหว จากภาพเขียนเหล่านั้น ในงานแฟชั่นโชว์เธอเริ่มใช้นางแบบรูปร่างสูงเปรียวแต่งตัวหรูหรา และสวมรองเท้าส้นตึกสูง 10 นิ้วราวกับยืนอยู่บนแท่นบูชาเพื่อสร้างความรู้สึกประหนึ่งว่านางแบบเหล่านี้เพิ่งก้าวออกมาจากภาพเขียน

The Art of Fashion

Westwood spent many hours in the Wallace Collection in London studying 18th-century French art. She found inspiration in the costume, and also in the harmonies of colour, design and movement that she saw in the paintings. In shows, she began to use statuesque models dressed in sumptuous costumes and poised on 10-inch platform shoes, as if on a pedestal. The idea was that they had just stepped out of a portrait.

ตัด เฉือน รั้ง

แรงบันดาลใจสำหรับคอลเลกชั่นปี 1991 คือการนำเทคนิคตัดผ้าเพื่อใช้ในการตกแต่งเครื่องแต่งกายในอดีต ซึ่งเดิมทีรอยเฉือนผ้าภายนอกนั้นทำเพื่อเผยให้เห็นผ้าซับในไหมสีสดใส แต่เวสต์วูดกลับเผยให้เห็นผิวหนังอันเปล่าเปลือยของผู้สวมใส่ และเพื่อให้ได้ความเข้มแข็งแบบชายชาตรีเหมือนภาพพอร์เทรตสมัยทิวดอร์ที่เธอชื่นชอบ เวสต์วูดจึงเลือกใช้ผ้าฝ้ายเดนิมเฉือนให้ขาดด้วยมือ และทิ้งชายขอบรุ่ยร่าย สำหรับผ้าเนื้อบางเบาเธอดัดแปลงเครื่องปักฉลุลาย โดยไม่สอดเส้นด้ายเพื่อไม่ให้เกิดการปักลวดลายลงบนผืนผ้าแต่ยังคงงานตัดที่ละเอียดประณีตเช่นเดิม

Cut, Slash and Pull

The inspiration for this 1991 collection lay in the historical technique of cutting textiles to create decorative patterns. In the original garments, the slashes exposed bright silk underlinings, but here Westwood reveals bare skin. To give the passionate, masculine vitality that she so admired in Tudor portraits, she used denim with hand-cut gashes and frayed edges. For the lighter fabrics, she adapted a broderie anglaise machine programme, omitting the embroidery but retaining the fine, regular cuts.

วิเวียน เวสต์วูดและพิพิธภัณฑ์วิกตอเรียแอนด์อัลเบิร์ต

คอลเลกชั่นที่พิพิธภัณฑ์วิกตอเรียแอนด์อัลเบิร์ต หรือวีแอนด์เอ เป็นแรงบันดาลใจให้เวสต์วูดมาโดยตลอด ซึ่งไม่เคยลอกเลียนแบบเสื้อผ้าในอดีตโดยตรงถึงแม้จะจำลองรายละเอียดมาอย่างถูกต้องก็ตาม "ฉันดึงรายละเอียดที่น่าสนใจบางอย่างจากอดีตซึ่งมักถูกมองข้ามอย่างกระโปรงทรงสุ่มไก่คริโนลีน แล้วฉันก็ศึกษาอย่างจริงจังจนในที่สุดก็ได้ผลงานที่แปลกแหวกแนวเพราะฉันได้สอดแทรกความคิดของตัวเองเข้าไปจนกลบรายละเอียดเดิม"

"โดยเนื้อแท้แล้ว" เวสต์วูดกล่าวว่า “เวลาที่คุณวิเคราะห์ความงามของเสื้อผ้าแต่ละชุด ฉันเชื่อว่าความรู้สึกติดตาตรึงใจจริง ๆ อยู่ที่ความรู้สึกที่ว่าของชิ้นนี้คุณเคยพบเห็นมาก่อน เหมือนกับน้ำหอมที่คุณมักจะคิดว่า – กลิ่นนี้คุ้นจมูกเหลือเกิน– พอได้กลิ่นปั๊บก็ทำให้นึกถึงอะไรบางอย่างไปด้วย"

Vivienne Westwood and the V&A

The historical costume collection at the V&A has been an inspiration to Westwood, but despite their exactitude, Westwood's creations are never historical facsimiles: 'I take something from the past that has a sort of vitality that has never been exploited - like the crinoline - and get very intense. In the end you do something original because you overlay your own ideas.'

'Essentially,' Westwood says, 'when you analyse where the glamour is in clothes, the romance, it is, I believe, in something that people have seen before. It's like a perfume. You think, "I know that smell. It's reminding me of something else as well." '

การตัดเย็บแบบอังกฤษดั้งเดิม

ผลงานของเวสต์วูดฝังรากลึกอยู่ในการตัดเย็บเทเลอร์แบบอังกฤษ ตั้งแต่เสื้อโค้ตตัวยาวสมัยศตวรรษที่ 18 ไปจนถึงชุดสูท ซาวิล โรว์ และ “ชุดล่าสัตว์สีชมพู” เธอยังคงศึกษาการตัดเย็บอย่างต่อเนื่อง โดยจะใช้เทคนิคดั้งเดิมก่อนเป็นตัวตั้ง แล้วคิดค้นแนวทางที่แปลกใหม่มาคลีคลายปริศนาการตัดเย็บและการจัตวางชิ้นผ้าอันสลับซ้อน สูทของเธอบางชุดจะบางแนบตัวจนแทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน ในขณะที่บางชุดจะเปลี่ยนรูปทรงตามอิริยาบถโดยอาศัยการจับจีบและอัดพลีต

Tailoring

Westwood's work is rooted in English tailoring, from the plain 18th century frock coat to the Savile Row suit and 'pink' hunting jacket. Her investigation of tailoring has continued from collection to collection. Using traditional techniques as a starting point, she has devised innovative solutions to the puzzle-like complexities of cutting and piecing fabric. Some of the suits are closely moulded to the body, while others form dynamic structures with folding and pleating.

ชนชั้นสูงในชนบท

เวสต์วูดให้ความสนใจผ้าทอขนสัตว์ตามแบบฉบับอังกฤษ ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เธอออกแบบชุดต่าง ๆ เธอเน้นการเลือกใช้ผ้าโดยพิจารณาจากคุณสมบัติพิเศษของมัน เธอทำงานร่วมกับโรงทอผ้าอันเก่าแก่หลายแห่งและมักจะสั่งผ้าทอเนื้อพิเศษจากกรุผ้าเก่าของโรงงานเหล่านี้ ชุดที่เธอออกแบบนั้นผสมการใช้ผ้าทวีด ผ้าลายริ้วเล็ก ๆ ผ้าลายตาหมากรุก ผ้าบาราเธียซึ่งเป็นผ้าเนื้อผสมที่มีลายในตัว และผ้าทอขนสัตว์

Country Wear

Westwood's interest in traditional British woollen fabrics inspired a series of ensembles characterized by their textural and tactile qualities. She worked with long-established woollen mills and often commissioned fabrics from their archives. The outfits that she devised combined tweeds, pinstripes, check, barathea and plain wool.

ผ้าลายตาสกอต

เวสต์วูดสนใจในประเพณีดั้งเดิมของสกอตแลนด์ซึ่งเป็นทั้งแรงบันดาลใจและ “วัตถุดิบ” ในการล้อเลียน ซึ่งเห็นได้ชัดตั้งแต่ช่วงพังก์และยังปรากฎในงานอีกหลายคอลเลกชั่น เธอมักจะใช้ผ้าลายตาสกอตหลายรูปแบบมาผสมกัน เสื้อผ้าของเธอเต็มไปด้วยความลุ่มลึก สีสันและความหลากหลายของลายตาสกอตอันเก่าแก่ โดยสั่งผ้าลายตาสกอตซึ่งทอเป็นพิเศษกับโรงงานโลคาร์รอนแห่งสกอตแลนด์ มีชื่อเรียกว่า "แมคแอนเดรียอัส" ตามชื่อของ แอนเดรียอัส ครอนธาเลอร์ สามีคนที่สองของเธอ

Tartan

Westwood's fascination with Scottish traditions, as source of inspiration and subject of parody, began with Punk and has reoccurred frequently in her collections. Using a mix of different tartans, her ensembles exploit the rich depth, colour and diversity of the traditional checked pattern. The tartans were made to order by Locharron of Scotland, who also created a special design for Westwood called the 'McAndreas', after Andreas Kronthaler.

คอร์เส็ต

การดัดแปลงเสื้อยกทรงรัดรูปหรือคอร์เส็ตได้กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวที่โดดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของเวสต์วูดซึ่งให้ทั้งความโรแมนติกและรายละเอียดอย่างแม่นยำตามตำรา คอร์เส็ตของเวสต์วูดยังเป็นชุดแต่งกายแสนสบายอย่างไม่น่าเชื่อ ผ้ายืดที่เลือกใช้ทำให้เคลื่อนไหวได้สะดวก ส่วนแขนที่ถอดได้ก็สามารถแปลงชุดกลางวันให้เป็นชุดย่ำราตรี และแม้ครั้งหนึ่งคอร์เล็ตจะเคยเป็นสัญลักษณ์แห่งการกดขี่ของกรอบประเพณีแต่ทุกวันนี้ได้กลายเป็นเครื่องแต่งกายที่โชว์พลังและการแสดงออกของสตรีเพศได้อย่างดียิ่ง

Corsets

Westwood's reworking of the corset has become one of her most recognisable trademarks. Romantic and historically accurate, the corsets are also surprisingly practical. Stretch fabrics allow ease of movement, and removable sleeves convert a daytime garment to evening wear. Once a symbol of constraint, corsets are now an expression of female sexuality and empowerment.

ชุดราตรี

ตลอดอาชีพการออกแบบเสื้อผ้าของเวสต์วูดซึ่งเน้นเรื่องการแต่งตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุดราตรีที่เน้นความหรูหราฟูฟ่า การนำผ้าดิ้นทองลูเร็กซ์ ริบบิ้น ขนนก ผ้าแพรมันแทฟเฟอต้า และผ้าลูกไม้มาประดับประดาคล้ายเธอได้นำยุคงาม หรือ “แบล เอปอก” อันเป็นยุคที่ศิลปะเฟื่องฟูในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 กลับมาอีกครั้ง ชุดราตรีของเธอโดดเด่นทั้งในด้านรูปลักษณ์ภายนอกและสัญลักษณ์ภายใน เวสต์วูดเชื่อว่า “ชีวิตของคุณจะเปลี่ยนไปมาก ถ้าได้สวมเสื้อผ้าที่น่าประทับใจ"

Evening Wear

Throughout her career Westwood's clothes have often been about 'dressing up'. In her evening wear she has taken this idea to the very limit. Using gold Lurex, ribbons, feathers, taffeta and lace, she has recreated a 'belle ?poque' of unrestrained grandeur. These are gowns of great presence, both physical and symbolic. It is Westwood's belief that 'You have a much better life if you wear impressive clothes.'

เดม วิเวียน เวสต์วูด โอบีอี

“ชีวิตของคุณจะเปลี่ยนไปมาก ถ้าได้สวมเสื้อผ้าที่น่าประทับใจ”

สิ่งสำคัญที่สุดที่วิเวียน เวสต์วูด ให้กับวงการแฟชั่นคือความเชื่อมั่นของเธอที่ว่า เสื้อผ้าสามารถเปลี่ยนความคิดของคนเราได้ เธอมีคำพูดติดปากว่า "สิ่งที่เชื่อมโยงเสื้อผ้าทุกชุดของฉันคือความกล้า"

ชีวิตการทำงานของเธอเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง เสื้อผ้าแต่ละคอลเลกชั่นคือการค้นพบร่องรอยในอดีตผ่านงานวรรณกรรม ดนตรี และศิลปะประยุกต์ บริษัทวิเวียนเวสต์วูดยังคงเป็นบริษัทอิสระที่ไม่ขึ้นกับใครโดยมีวิเวียนควบคุมดูแลในทุกๆ ด้านอย่างใกล้ชิด เธอกลายเป็นราชินีแห่งแฟชั่นอังกฤษและได้รับรางวัลมากมาย รวมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์โอบีอีเมื่อปี 1991 และได้รับพระราชทานยศเป็น เดม ในปี 2006 แต่ทุกวันนี้เธอยังคงใช้จักรยานเป็นพาหนะส่วนตัวในการเดินทาง

จากยุคพังก์ เวสต์วูดก้าวมาไกลถึงจุดนี้ เพราะประโยคที่เธอเคยพูดไว้ระหว่างออกคอลเลกชั่น ไพเรต (โจรสลัด) เมื่อปี 1981 ว่า "ฉันสามารถทำทุกอย่างที่อยากทำได้ ปัญหาอยู่แค่ว่าทำอย่างไรจึงได้ผลงานที่ไม่ซ้ำใคร เมื่อคิดได้อย่างนี้ ฉันก็รู้ตัวว่าฉันสามารถสร้างผลงานต่อไปได้โดยไม่มีที่สิ้นสุด"

Dame Vivienne Westwood OBE

“You have a much better life if you wear impressive clothes.”

Vivienne Westwood's overriding gift to fashion is her conviction that clothing can change the way people think. She has always said, 'The real link that connects all my clothes is this idea of the heroic.'

Her career has been a self education, and her collections have closely followed her own discovery of the past, through literature, music and the applied arts. The Vivienne Westwood company remains independent and Vivienne oversees every aspect of it. She has become the queen of British fashion and received many distinguished awards, including the OBE in 1991, and has been made a Dame in 2006, yet she still cycles everywhere.

Westwood has come a long way from Punk, but as she said at the time of the 1981 Pirate collection, 'I realised I could do anything I liked. It was only a question of how I did it that would make it original. I realised then that I could go on forever.'


Related To This Item

สื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


You May Also Like

แนะนำสื่ออื่นๆ ที่น่าสนใจ


Your Recent Views

สื่ออื่นๆ ที่คุณเพิ่งดู