Archive

Quick Bites: Design for Better Eating กินไปเรื่อย: เจาะวิถีอร่อยริมทาง

Description

วันที่จัดแสดง : 1 เมษายน – 7 มิถุนายน 2552 สถานที่ : ห้องนิทรรศการ 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ Date : 21 October - 20 December 2009 Venue : Gallery 2, TCDC, The Emporium, 6th Floor

Subject

Food / Street Food / Packaging / Design / Packaging Design / tcdcarchive

Details

Released 1 April 2009
File Format text/html
Print

Quick Bites: Design for Better Eating กินไปเรื่อย: เจาะวิถีอร่อยริมทาง

วันที่จัดแสดง : 1 เมษายน – 7 มิถุนายน 2552

สถานที่ : ห้องนิทรรศการ 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์

นิทรรศการที่จะตีแผ่ผลสำรวจความในใจจากปากคนกรุงนักกิน และพ่อค้าแม่ขายหาบเร่แผงลอยทั่วกรุงที่มีต่อวิถีอร่อยริมทาง เพื่อร่วมหาทางออกในการยกระดับวิถีกินให้ดียิ่งขึ้น ตื่นตาตื่นใจกับความฉลาดของนักขายประจำบาทวิถีในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ไว้หากิน และกลยุทธ์การตลาดระดับชาวบ้านที่คุณต้องตะลึง

ร่วมค้นหาที่มาและพัฒนาการของหาบเร่ไทยในยุคดั้งเดิม กว่าจะมาถึงยุคดิลิเวอร์รี่แบบไทยๆ พร้อมชมวิวัฒนาการของหาบเร่ตะวันตกที่เข้ากับวิถีอร่อยริมทางอย่างสร้างสรรค์และลงตัว จนคนไทยยังอดใจรับมาใช้ไม่ได้ แล้วคุณจะเข้าใจว่า “ต้นทุนต่ำ แต่อัจฉริยภาพแห่งการทำมาหากินสูงมีอยู่ในธุรกิจหาบเร่ของไทยนี่เอง”

บทนำ

เชื่อหรือไม่ คนกรุงเทพฯ กินอาหารหาบเร่แผงลอยในมูลค่าหมุนเวียนกว่า 150 ล้านบาทต่อวัน หรือ 54,750 ล้านบาทต่อปี

เพราะเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่และผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยตลอด 24 ชั่วโมง "วิถีคนเมือง" กับ "วิถีการกิน" จึงแยกกันไม่ออก ต้นตำรับสู้แล้วรวยดั้งเดิมแบบ "หาบเร่ แม่เอ๊ย" ได้พัฒนามาเป็นสารพัด "บริการกระจายอาหารเงินล้าน" อย่างทุกวันนี้ ธุรกิจ "อร่อยริมทาง" ล้วนบอกเล่าถึงความคิดสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของพ่อค้าแม่ขายไทย ที่ได้ประดิษฐ์ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่คุ้นเคย ไปจนถึงกลยุทธ์การตลาดระดับชาวบ้าน กระทั่งรูปแบบรถเข็นที่พัฒนามาหลายยุคสมัย ผลสำรวจความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขายคนกรุง 1,600 คน ในนิทรรศการกินไปเรื่อย จะผลักดันให้เกิดวิถีกินริมบาทรูปแบบใหม่อย่างไร

Date: 21 October - 20 December 2009

Venue: Gallery 2, TCDC, The Emporium, 6th Floor

INTRODUCTION

Every year, the street stalls of Bangkok generate a turnover of more than 52.7 billion baht, quelling the hunger and quenching the thirst of the city's inhabitants. Behind them are some of the city's most successful small business stories.

This eat-all-day obsession has created Bangkok's renowned 24/7 city-wide "buffet" of street vendor food, and along with it countless eating, packaging and catering innovations. Low cost, and adapted from everyday objects, these designs for better eating show off Thai common sense and quirkiness. From the tin can to the thermos, see how Thai vendors take on global packaging icons from the past 200 years for their own, idiosyncratic uses.

นิทรรศการส่วนที่ 1: กรุงเทพฯ เมืองบุฟเฟต์

ถ้าเอาหาบเร่แผงลอยมาเรียงต่อกัน กรุงเทพฯ คงเปรียบเสมือนเมืองเครือข่ายบุฟเฟต์ที่หนาแน่นที่สุดในโลก ตั้งแต่ริมถนนจนถึงในตรอกซอกซอย เปิดบริการไปเรื่อย 5 มื้อตลอดวัน

เครือข่ายบุฟเฟต์เริ่มบริการตั้งแต่มื้อรับอรุณด้วยปาท่องโก๋ น้ำเต้าหู้ โจ๊ก หมูปิ้ง ขนมครก ชา-กาแฟเรื่อยไปจนกระทั่งชุดสำรับสำหรับใส่บาตร

พวงเครื่องปรุงและใบสั่งอาหารที่กำหนดตั้งแต่เส้นน้อย ขลุกขลิก ไม่พริก ไม่งอก ฯลฯ สะท้อนการกินแบบ "รสชาติตามใจฉัน" ที่สอดแทรกอยู่ทั่วทุกแห่งใน "เมืองตามสั่ง" ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงมื้อเที่ยงของทุกย่านอาคารออฟฟิศ

ของว่างยามบ่ายที่ตัดแบ่งให้พอดีคำ มีไม้จิ้มส่วนตัว ง่ายต่อการกินหมู่ แบบกินไปพลาง จ้อไปพลาง กลายเป็นการสร้างวัฒนธรรม "เสียบ จิ้ม ทิ่ม แทง" ที่ช่วยประสานระคนเสียดสีสังคมในออฟฟิศของ คนทำงานทั่วไป

Exhibition Section 1: The city as buffet

Line up Bangkok's network of street side food vendors side by side, from sidewalks along major thoroughfares to the narrowest alleyways, and you could see the entire city as one continuous "buffet" which caters the street eating experience five times a day.

Breakfast service starts at sunrise with fresh fried Chinese pastry, soymilk, rice porridge, grilled pork on skewers, coconut milk desserts, coffee and tea. You can even pick up morning alms offerings, ready-cooked and sealed in plastic bags.

The notorious "my wife plays cards" diners from the time of King Rama VI was the last resort of hungry husbands whose wives had deserted the kitchen in favor of the card table. Today's working mothers depend on these ready-cooked "bag-meals" to save time in the kitchen.

"Toh-roong", or "til-dawn" food vending for those who work on the graveyard shift began in the decade just after World War ||, when Thailand's entertainment industry started to flourish. Food vendors set up shop around movie theaters, dance halls, Chinese opera and even risque strip shows.

ตลอดเวลา

อะไรคือเบื้องหลังการกินตลอดเวลาของคนกรุงกว่า 10 ล้านคน บริษัท กูรู กูตู ได้จับภาพวิถีกิน 24 ชั่วโมง ใน 4 เมืองใหญ่ จากมื้อเช้าถึงมื้อดึก ครัวริมบาทวิถีเริ่มเป็นศูนย์กลางของจักรวาลแห่งการกิน

ไม่ว่าใครกำลังจะขึ้นเขียงบนเวทีการเมือง หรือจะยอมอดเปรี้ยวไว้กินหวานในเรื่องของความรัก จนถึงเซ็งเป็ดกับชีวิตในออฟฟิศ ภาษาการกินช่วยสื่อสารให้เข้าใจได้โดยไม่ต้องอธิบายให้มากความ

จากมัสมั่นแกงแก้วตาในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในรัซกาลที่ 2 สู่ต้มยำอกหักใน จ.รอคอย เพลงของกวีศรีชาวไร่อย่างน้าหมูพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ จนถึงเกาเหลาในการ์ตูนล้อการเมือง ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน ของชัย ราชวัตร ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน อาหารการกินฝังรากลึกลงในวัฒนธรรม

การใช้ภาษาของไทยให้สื่อได้ทุกอารมณ์ ทุกความรู้สึก ในทุกช่วงเวลาของชีวิต

24/7

What hidden creativities lie behind the round-the-clock cravings of the city's ten-million-plus residents? In 24/7, Guru Gudo films the nation's eating culture in a 24-hour, 4-city marathon. From breakfast to breakfast, the curbside kitchen is the center of the Thai food universe.

"Which of our politicians is on the cutting board (chopping board) today?" "In love, sometimes you need to take the sour with the sweet (the good with the bad)." "Are you feeling bored as a duck (fed up) with things in the office?" Expressions like these that are based on the vocabulary of food and the kitchen really do say it all.

King Rama II composed a famous poem in praise of massaman curry. Country poet Pongthep Kradonchamnan penned a song about a tom yam so good it broke men's hearts. Political satirist Chai Ratchawat made frequent mention of kao lao (a kind of Chinese soup) in his cartoon Poo Yai Ma Kab Thung Maa Mern (The Village Head of Nowheresville). Like the language, Thailand's literature and popular culture have always been filled with references to food. Food is the perfect metaphor for expressing all the common emotions we experience throughout all the stages of life.

นิทรรศการส่วนที่ 2: แม่ค้านักประดิษฐ์

เพราะทุนน้อยและไม่มีกระทั่งที่ตั้งร้านถาวร แม่ค้าอาหารริมทางจึงสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ที่ปรับเปลี่ยน จากของรอบตัว เน้นสะดวก ราคาถูก และเข้ากับวิถีทำมาหากิน ทำให้เกิดทั้งบรรจุภัณฑ์ห่อมัดหิ้ว อาหารและเครื่องดื่มหลายรูปแบบ สารพัดอุปกรณ์ช่วยครัวเคลื่อนที่ รวมไปถึงเครื่องมือเรียกลูกค้า แบบต้นทุนต่ำ

Exhibition Section 2: Street innovators

Constantly on the move, with limited funds, street food vendors are ingenious if naive innovators. To meet their packaging, food prep and advertising needs, they have adapted everyday objects and utensils into thought provoking food and drink containers, handy cooking implements, and homegrown sales kits.

กินง่าย ขายง่าย หิ้วง่าย

Easy to eat, sell, and carry

ปรุงรสแต่งกลิ่น

วิธีห่อมัดด้วยวัสดุธรรมชาติแต่โบราณถึงปัจจุบัน มีเจตนารมย์เพื่อปรุงอาหารแบบปิ้งย่างหมกนึ่งอย่างไทยแถมยังแต่งกลิ่นให้หอมน่ากิน แม่ค้าใช้ใบตองห่อข้าวเหนียวผัดน้ำกะทิแล้วมัดด้วยตอก เมื่อนำไปนึ่งก็ได้ข้าวต้มมัดฟุ้งกลิ่นใบตอง

Adding flavor and aroma

The long tradition of wrapping food in natural materials was to lend distinctive flavor and aroma to the many roasted and steamed dishes in Thai cuisine. Stir-fry sticky rice in coconut milk, then steam it in banana leaf, and the resulting aroma is unmatched.

กำหนดจำนวน ช่วยจำแนก

การห่อมัดและกลัดใบไม้ขึ้นเป็นบรรจุภัณฑ์นี้ยังช่วยแบ่งปริมาณอาหารให้ทราบว่าควรจะกินเท่าไหร่และขายกี่ชิ้นในแต่ละครั้ง ตะโก้ในกระทงใบเตยสี่มุมกลัดไม้กลัด ก็กำหนดขนาดเป็นคำ ๆ ไว้อย่างเรียบร้อย การทำสัญลักษณ์ทั้งการตัดปลายเดี่ยวหรือขดเป็นวง ช่วยบอกชนิตอาหารได้ทันทีไม่สับสน เพียงมองก็ทราบทันทีว่าเป็นขนมสอดไส้ ขนมกล้วย หรือขนมตาล นับจำนวนห่อก็ง่ายเพราะเป็นเลขคู่ ทำให้ขายได้มากขึ้น

Sales and semiotics

Traditional food wrappings also help vendors set sales portions, differentiate food offerings, and manage daily volume. Tako coconut creams are sold in bite-sized banana leaf cups. Even the banana strip around the wrap - with tips cut straight, at an angle, or twisted in an arc - has the function of telling the customer what stuffing is inside. The semiotics is simple, informative and seductive.

เทคโนโลยีชาวบ้าน

ลงถุงได้ไม่เลอะเทอะ

เขียงตัดผลไม้ที่ทำง่าย ๆ แค่ตัดแผ่นอะลูมิเนียมให้โค้งพอดีปากถุงพลาสติก ก็ช่วยใส่ผลไม้ลงถุงได้สะอาด กระป๋องนมผงตราหมีคือกระบอกใส่อาหาร ง้างปากถุงพลาสติกให้ใส่โจ๊กได้ไม่หกเลอะเทอะ

หม้ออุ่นร้อนอัตโนมัติแบบไม่ต้องเสียบปลั๊ก

เพื่อให้ข้าวเหนียวร้อนอยู่เสมอ กระติกที่ปกติไว้ใส่น้ำแข็งจึงถูกนำมาใช้ใส่ข้าวเหนียวนึ่งให้พร้อมขาย ได้ตลอดเวลา รองด้วยผ้าขาวบางก็ช่วยเก็บความชุ่มชื้นไม่ให้ข้าวเหนียวแห้งแข็ง

Cooked-up technologies

Spill-free pouring

All it takes to invent a cutting curve-tray for fruit from an aluminum sheet is to curl up the end so that it sweeps the fruit neatly into the mouth of a plastic bag, An empty can of (Bear Brand) powdered milk functions as a handy food container. Just put a plastic bag over the rim and you can ladle in congee without spilling,

Microwave was never this easy

The ice cooler is often adapted as a sticky rice warmer. To maintain the just-steamed taste, vendors place a thin white cloth over the warm rice, to keep it moist.

นวัตกรรมนางกวัก

แยกสินค้าด้วยเสียง

เสียงแก๊งแก๊งจากกระดิ่งทองเหลืองขายไอติม เสียงปู๊นปู๊นจากแตรลมบีบขายขนมไทย หรือแค่เสียงดังกว่าปกติจากโทรโข่งขายกับข้าว ผู้คนตามบ้านก็แยกแยะได้ว่าอาหารอะไรกำลังมาโดยไม่ต้องวิ่งออกไปดู

The hawker's sales kit

Those old, familiar calls

Whether it's the ring of the brass bell on the ice cream wagon, the toot of the horn on a Thai khanom cart, or the voice of the curry vendor on the megaphone, sounds are used by street hawkers to announce who is selling what at your door.

เรียกลูกค้าด้วยก็อปปี้โฆษณาและตราประกันคุณภาพ

ทั้งเจ้าเก่า ชาววัง โบราณหรืออร่อยที่สุดในโลกคือการเขียนก็อปปี้โฆษณาตำรับรถเข็นและแผงลอยที่บ้างก็เติมมุขตลกให้ลูกค้าติดใจ หรือตั้งชื่อร้านให้ชวนเชื่อ รวมถึงเครื่องหมายเซลล์ซวนชิมหรือแม่ช้อยนางรำจากนักชิมเลื่องชื่อก็เป็นตราการันตีทั้งคุณภาพและความอร่อย ดึงลูกค้าเข้ามาได้มากขึ้น

Catchy slogans and celeb endorsements

Food vendor signage relies on puns and wordplay. Since the advent of celebrity food critics in the 70s, sidewalk vendors have taken up endorsement stickers like Shell Chuan Chim or Mae Choi Nang Ram. to assure prospective diners of the stall's quality.

สร้างแรงใจด้วยผ้ายันต์

เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำมาหากิน พ่อค้าแม่ขายจึงแปะยันต์ติดหาบเร่และบูชานางกวักบนรถเข็น นางกวักขนาดจิ๋วคือรูปจำลองนางสุภาวดีผู้ได้รับพรให้ค้าขายเจริญก้าวหน้าในอินเดียสมัยพุทธกาลเหมาะไว้บูชาบนรถเข็นที่มีพื้นที่จำกัด ก็ช่วยให้ขายรุ่งเรืองได้ดีไม่แพ้ร้านค้า

Magic and motivation

For motivation and luck, street vendors install pha yan magic diagrams, or a nang kwak goddess, beckoning customers and wealth. The nang kwak is believed to be a representation of daughter of a merchant blessed by the arahant Kassapa, one of the Buddha's enlightened disciples.

นิทรรศการส่วนที่ 3: ชิมไป บ่นไป

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ศสบ.) ร่วมมือกับศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบคโพล) สำรวจพ่อค้าอาหารหาบเร่และผู้บริโภคในกรุงเทพฯ จำนวน 1,600 คน พบว่าลักษณะของหาบเร่ขายอาหารที่ให้ความสุขแก่ผู้บริโภคคือ มีที่บังแดด มีเก้าอี้นั่งเพียงพอ และเป็นร้านที่สังเกตง่าย ส่วนสิ่งที่ผู้บริโภคอยากได้เพิ่มเติมตือ โต๊ะ-เก้าอี้ที่เพียงพอ ไฟสว่างๆ อ่างล้างมือ พัดลม และหนังสือพิมพ์

แม้ผู้บริโภคจะเห็นว่าบรรจุภัณฑ์ที่กำจัดและย่อยสลายยากอย่างพลาสติกและโฟมเป็นปัญหามากที่สุด แต่ผู้บริโภคที่เลือกใช้ปิ่นโตกลับมีจำนวนน้อยที่สุด แสดงให้เห็นว่าคนกรุงให้คุณค่ากับความสบายส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ใช้สอยจริง ๆ ความขัดแย้งระหว่างความต้องการกับความคุ้นเคยปฏิบัติแสดงให้เห็นอยู่ทั่วไปบนบาทวิถี และในช่องว่างระหว่างความขัดแย้งนี้ถือเป็นพรมแดนใหม่ที่ห้าทายการออกแบบเพื่อยกระดับวิถีกินริมทางของคนกรุงเทพฯ

มักอร่อย หรือ มักง่าย

กรุงเทพฯ เป็นเมือง "ปากว่า ตาขยิบ" จากผลสำรวจความต้องการของผู้บริโภคอาหารหาบเร่แผงลอย แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์กับความประพฤติ เพราะถึงแม้คนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญ กับความสะอาดมากที่สุด แต่พอเอาเข้าจริง ความสะอาดกลับอยู่ในอันดับที่ 11 จาก 21

ปัจจัยในการเลือกร้านอาหารหาบเร่ โดยปัจจัยในการเลือกร้านอาหารหาบเร่ 3 อันดับแรกคือ รสชาติอร่อย ราคาถูกและใกล้เส้นทางสัญจร ตามลำดับ

...จากปากพ่อค้ารถเข็น

5 ปัญหาที่พ่อค้าพบมากที่สุด

"ที่บังแดดไม่พอ"

"ที่เก็บของน้อยไป"

"พื้นที่ทำอาหารน้อยไป"

"ขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป"

"หนักเกินไป"

5 สิ่งในฝันที่พ่อค้าต้องการ

"ผู้ใส่อาหารที่ใหญ่ขึ้น (เพื่อป้องกันฝุ่นและควันพิษ)"

"หลังคาที่ใหญ่ขึ้น"

"ออพชั่นร่มทีดีขึ้น"

"พื้นที่วางของเพิ่มขึ้น"

"พัดลมในตัวรถเข็น"

Exhibition Section 3: Rants and raves

TCDC and ABAC Poll's comprehensive surveys of 1,600 people reveal a city whose core values revolve around physical comfort, pleasing surroundings, and soft issues rather than deep functions. The top three ranking factors which make customers happy in a street stall are: sun-shading, sufficient chairs to sit on and clear and noticeable signage.

And what do customers want from future food stalls? The ratings in sequence are: more chairs, tables and eating space, sufficient light, a hand-sink to wash up after the meal, a fanand newspapers.

On takeaway, consumers think styrofoam boxes and plastic bags are an environmental concern but the least of them are willing to bring their own food containers. The conflicts between aspiration and function mark the current designs for street eating in Bangkok. In the gap between aspiration and habit is a whole new frontier for designs for better eating.

If it tastes good, who cares?

Bangkok is a city of contradictions. Though the respondents to the TCDC/ABAC Poll claim cleanliness as their number-one concern, they consistently choose taste over hygiene, when deciding where to eat. Specifically, on of a scale of 21 factors, cleanliness rates a mere 11th. Ranking first is taste, second is cheap price, and third is proximity of the food stall to travel routes.

What hawkers want from their pushcart...

5 top complaints:

"Not enough sunshade"

"Not enough storage"

"Not enough cooking space"

"Carts too big or too small"

"Too heavy"

5 top wishes:

"Bigger food display case

(to prevent dust and fumes)"

"Bigger roof"

"Better umbrella option"

"Bigger countertop"

"Integrated fan"

สวะ ขยะ และหนู

ใน 1 ปี คนไทยผลิตขยะจากครัวเรือนถึง 39,000 ตันต่อวัน หรือ 14,200 ล้านตันต่อปี มากพอที่จะใส่สนาม รัชมังคลากีฬาสถานได้ 10 สนาม เฉพาะขยะในกรุงเทพฯ มีจำนวนถึง 1 ใน 5 ของขยะทั่วประเทศ ในขณะที่สำนักงานกรุงเทพฯ หรือเทศบาลเก็บขยะจากทั่วประเทศได้เพียงร้อยละ 80 เท่านั้น ที่น่าตกใจกว่าคือ ขยะเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่ถูกนำไปฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ และแค่ร้อยละ 15 ถูกนำไปรีไซเคิล ย่อยสลาย หรือเอาไปเผา ส่วนที่เหลือร้อยละ 60 เอาไปถมที่ว่างที่ไหนสักแห่ง1

คนกรุงเทพฯ สร้างขยะที่เป็นกล่องโฟมและถุงพลาสติกถึง 2,200 ตันต่อวัน และพร้อมยอมจ่ายเพิ่มไม่เกิน 5 บาท ถ้าช่วยลดโลกร้อนได้ แต่ถ้าเราใช้ใบตองแทนกล่องโฟมและถุงพลาสติก เราจะต้องปลูกต้นกล้วย 470 ไร่เพื่อให้ได้ใบตองวันละ 75,000 มัด นั่นหมายความว่า เราต้องใช้พื้นที่ประมาณ 14,000 ไร่ในการหมุนเวียนปลูกใบตองเพื่อรองรับการใช้ของคนกรุงเทพฯ ในหนึ่งเดือน

แล้วเราจะจัดการขยะที่เกิดจากใบตองจำนวน 127,750 ตันต่อปีอย่างไร หรือบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ทำให้เกิดขยะอย่าง “ปิ่นโต” จะเปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนเหมือนที่โทรศัพท์มือถือเคยทำมาแล้ว

Garbage, rats and me

In a year, Thais produce enough trash to fill the Rajamangala Stadium 10 times over. That's 39,000 tons of household refuse everyday, or 14.2 billion tons a year. Bangkok alone accounts for one-fifth of this total. Unfortunately, municipal sanitation services can only manage to collect about 80% of this garbage. More distressing, only 25% of the garbage collected is disposed of in proper landfills, with another 15% either recycled, incinerated, or left to rot naturally. What happens to the remaining 60% is an urban mystery. Bangkokians throw out some 2,200 tons of styrofoam boxes and plastic bags everyday. They will spend up to 5 baht more if it helps ease global warming in some way. To produce enough leaves to meet Bangkok's packaging needs for just one day takes 470 rai (75.2 hectares) of banana trees. A month's supply would require roughly 14,000 rai (2,240 hectares), which would generate 127,750 tons of banana leaf garbage annually. Is it time to save the world by bringing your own lunchbox?

อ้างถึง 1 หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่16 มีนาคม 2552

1 Reference: Bangkok Post. March 16, 2009.

นิทรรศการส่วนที่ 4 : สู้แล้วรวย

หาบก๋วยเตี๋ยวไม้แบบโบราณเมื่อกว่า 90 ปีก่อนคือตัวอย่างการปรับเปลี่ยนกลวิธีการทำมาหากิน เมื่อถมคลองคัดถนนใหม่สมัยรัชกาลที่ 4 การเร่ขายได้เปลี่ยนจากเร่เรือพายเป็นสองสาแหรก หนึ่งไม้คาน แบกสารพัดของกินที่หนักเกือบร้อยกิโลกรัมไปตามตรอกซอกซอย ปลุกกระแสธุรกิจขายตรงส่งถึงปากให้ฮิตติดตลาด

ปัจจุบันธุรกิจหาบเร่ได้พัฒนาไปอีกขั้น เกิดการสร้างแบรนด์ให้ลูกค้าคุ้นเคยเชื่อใจ ปรับผลิตภัณฑ์ตาม ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เรื่อยไปจนถึงการเพิ่มเครือข่ายกระจายสินค้าไปทั่วประเทศ สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการนำมุมมองธุรกิจแบบร่วมสมัยมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับรสนิยมของผู้บริโภคที่ เปลี่ยนไปตามสภาพสังคมและวัฒนธรรม

ตราบใดที่คนยังต้องการบริการด้านอาหารที่ตอบรับกับวิถีชีวิต โอกาสในการเป็นเศรษฐีก็ยังมีช่องทางรอให้ พ่อค้าแม่ขายหน้าใหม่เดินไปสู่สังเวียน "สู้แล้วรวย"

Exhibition Section 4: Sidewalk millionaires

Street food vending was always based on a delivery model. Most noodle vending a century and a half ago was by boat, along the city's canals. But Bangkok's growing network of roads in the reign of King Rama IV paved the way for a rise in street peddling. Dual noodle cabinets were lugged on bamboo poles, sometimes weighing over 100 kilograms, as peddlers moved about feeding various communities, Other varieties of food vendors followed, each a small delivery service in itself. Spoilt by over a century's habit, delivery remains a popular business model today. Sarvy branding and distribution lies behind many of these rags-to-riches stories.

หาบเร่สู่เส้นทางเศรษฐี

ธุรกิจส่งอาหารแบบไทยล้วนมีที่มาจากการเร่ขายในอดีตทั้งสิ้น เพียงแค่แต่งเติมวิธีการทางธุรกิจสมัยใหม่เข้าไปก็ทำยอดขายได้มหาศาล

ปิ่นโต ดีลิเวอร์รีรุ่นเก๋า

ปิ่นโตถูกออกแบบมาเพื่อใส่อาหารหลายชนิดได้ไม่ปะปนกัน วัสดุทำปิ่นโตมีพัฒนาการตามเทคโนโลยีและ ความต้องการทางสังคมที่เปลี่ยนไป ให้เบาขึ้น เก็บความร้อนได้นานขึ้น ธุรกิจภัตตาคารในสมัยรัชกาลที่ 7 ยังใช้ปิ่นโตส่งอาหารตามบ้าน จนกลายเป็นคำว่า "ผูกปิ่นโต"

นอกจากปิ่นโต ยังมีกระบะสำรับกับข้าวที่เคยใช้กันแพร่หลายทั่วไปในภาคกลาง แอบ ก่องข้าวและกระติบ เป็นภาชนะพกพาอาหารจากวัสดุธรรมชาติ เก็บความร้อนได้เพราะผนังสานสองชั้น ตลับข้าวอะลูมิเนียม ได้อิทธิพลจากกล่องเบนโตของญี่ปุ่น เคยเป็นที่นิยมมากในหมู่นักเรียนไทยยุค พ.ศ. 2500 ปัจจุบันถูกแทนที่ ด้วยกล่องข้าวแบบตะวันตกที่แบ่งหลายช่องใส่อาหารได้หลายชนิด

Growing your street hawking business

Many food delivery services available today have their roots in old-fashioned street hawking; sometimes, all it takes are a few modern-day business strategies to turn a simple vending operation into a booming business.

Pinto delivery

Pintos make it easy to carry a number of different dishes at once, With new materials. they have now become lighter and better able to keep food warm. During the reign of King Rama Vil, restaurants started “pinto home delivery meals”. Kraba wooden food boxes were once popular throughout central Thailand. Aeb, kong, and kradip are woven rice containers made from natural fibers. The double-ply helps to keep the contents warm. Aluminum talab khao (lunchboxes), modeled after Japanese bento boxes were popular among Thai schoolchildren in the 1950s. Today, they have been replaced by Western-style lunch boxes.

ปิ่นโตกระจายรายได้ - สหกรณ์ "ดับบ้าวัลล่า" แห่งมุมไบ

ณ เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย "ดับบ้าวัลล่า" (ภาษามาราติ แปลว่าคนส่งกล่อง) กว่า 5 พันคนบริการส่งปิ่นโต มื้อกลางวันฝีมือแม่และเมียกว่า 175,000 เถาทุกวัน ตอบสนองวัฒนธรรมการกินกลางวันฝีมือคนในครอบครัว และวิถีการกินในเมืองมุมไบที่การจราจรติดขัดอันดับโลกด้วยประชากรกว่า 14 ล้านคนได้เป็นอย่างดี

การส่งปิ่นโตไร้เทียมทานที่เข้มงวดเรื่องเวลาและการทำงานเป็นทีมนี้มีอัตราการผิดพลาดเพียง 1 ใน 6 ล้านครั้งหรือมีประสิทธิผลสูงถึงร้อยละ 99.99 มีการเติบโตของธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 - 10 ทุกปี ระบบหุ้นส่วนแบบสมาคมทำให้ดับบ้าวัลล่าไม่เคยประท้วงหยุดงานหรือหยุดส่งเลยตั้งแต่เริ่มธุรกิจในปีค.ศ. 1890 ช่วยสร้างงานกระจายรายได้สู่กลุ่มคนด้อยโอกาสทางการศึกษาถึง 25 ล้านบาททุกเดือน

Mumbai dabbawalas - tiffin-carriers and social entrepreneurs

The dabbawala (Marathi for tiffin deliverer ) cooperative is a lunchbox delivery business in Mumbai, India. It uses a social entrepreneurial model which puts 25 million baht a month into the pockets of the city's underprivileged. The cooperative employs some 5,000 people everyday, to deliver 175,000 home-cooked meals to city workers. Despite horrendous traffic and high daily turnover, the dabbawala team manages to get the right lunchboxes to the right destination 99.99% of the time. That means just one wrong order in every 6 million! The co-op's growth rate is an impressive 5-10% each year. Its employees have never once gone on strike or walked off the job, ever since its inception back in 1890.

นิทรรศการส่วนที่ 5: เร่อินเตอร์

Exhibition Section 5: Global takeaway icons and us

ปีค.ศ. 1809

กระป๋องนมตราหมีที่เจ๊ใส่โจ๊ก... มาจากไหน

นิโกลาส์ ฮัปแปร์ บิดาอาหารกระป๋องชาวฝรั่งเศสพบว่าอาหารเมื่อบรรจุลงภาชนะแก้วที่ปิดสนิทและนำไปผ่านความร้อนจะช่วยชะลอการบูดเน่า หนึ่งปีจากนั้น ปีแอร์ ดูรองดี จดสิทธิบัตรกระป๋องโลหะชิ้นแรกที่สามารถบรรจุอาหารอย่างปลอดภัย

1809

Thanks to Napoleon, we have our congee can

In 1809, Frenchman Nicolas Appert, the father of canned food, realized that putting food in tightly sealed glass containers and heating it would slow down spoilage. A year later. Englishman Peter Durand was granted a patent for the first metal container to safely preserve food.

ปีค.ศ. 1865

ใครเคยหิ้วกล่องข้าวกับกระติกน้ำไปโรงเรียนบ้าง?

การปิกนิกของสังคมตะวันตกและกล่องข้าวกลางวันของคนงานเหมืองยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นพร้อมพัฒนาการของภาชนะที่ทั้งสะดวกต่อการพกพาและรักษาอาหารให้สดใหม่

ปีค.ศ. 1885

ถ้าปิ่นโตคล้ายเบนโตะ เอคิเบงก็ไม่เห็นต่างจากอาหารกล่องโฟม

เอติเบง (Ekiben) หรือข้าวกล่องสถานี เอาเมนูจานเด็ดประจำเมืองมาขายในสถานีรถไฟของญี่ปุ่น

1865

When the Americans came to town

With the invention of the steam locomotive, the European middle classes took to picnic excursions, propelling various designs for mobile eating. Given the widespread coal mining in this period, the other great icon for mobile eating was the metal lunchbox, in which miners carried their lunches as they went underground to work everyday.

1885

Pinto = bento = ekiben = styrofoam box?

To satisfy travelers, vendors at Japanese train stations have been offering local specialties in handy takeaway containers called ekiben.

ปีค.ศ. 1891

พี่พี่ ขอเปิบซี่ถุง... ถ้าไม่มีฝาปิดมันจะยังซ่าอยู่ไหมนี่?

วิลเลียม เพนท์เทอร์ ปฏิเสธการใช้ฝาจุกไม้คอร์กเดิมแล้วออกแบบฝาที่มีจีบถึง 24 จีบเพื่อยึดเกาะปากขวดช่วยรักษาความซ่าของเบียร์และน้ำอัดลม

1891

The fizz in Chang Beer

William Painter rejected corks and designed a metal cap with 24 pleats to seal glass bottles securely to keep the fizz in bottled beer and carbonated beverages.

ปีค.ศ. 1904

ขอไอติมกะทิ ใส่โคนค่ะ ราดนมด้วย

เออร์เนสต์ เอ็ม ธัมวี ยื่น Zalabia ขนมปังกรอบเคลือบน้ำตาลสูตรของอ่าวอาระเบียที่เขากำลังขายอยู่ให้เจ้าของรถเข็นไอศกรีมเพื่อเป็น "ภาชนะกินได้" ใส่ไอศกรีมขายลูกค้า

1904

Invented by a street food hawker

A Syrian Immigrant named Ernest M. Hamwi rolled up one of his Arabian sugar waffles and offered it as an ice cream cone to an ice cream vendor in the adjacent booth.

ปีค.ศ. 1906

ถ้าไม่มีหลอด เราจะดูดน้ำจากถุงได้อย่างไร

มาร์วิน สโตน ผลิตหลอดกระดาษม้วน 20 ปี ให้หลังโจเซฟ ฟรีตแมน ออกแบบหลอดแบบงอขึ้นหลังจากเฝ้าดูความพยายามในการดื่มน้ำที่วางบนเคาน์เตอร์ของลูกสาวแสนรัก

1906

Sipping o-liang and pearl milk tea

Marvin Stone produced paper straws. Twenty years later, Joseph Friedman invented the world's first flexible straw after watching his daughter struggle to sip water through a straw from a glass.

ปีค.ศ. 1918

มารู้จัก... ภาชนะใหม่ของอาโก

ชาวอเมริกันครึ่งล้านต้องสังเวยชีวิตให้กับอหิวาตกโรคทำให้ 'แก้วอนามัย' หรือแก้วกระดาษใช้แล้วทิ้งที่ มีมากว่า 10 ปี แพร่หลายแทนแก้วโลหะแบบเดิมที่มักใช้ดื่มน้ำร่วมกัน

1918

A history of our disposable culture

Almost half a million Americans lost their lives in a cholera epidemic that resulted from drinking contaminated water. The subsequent concern for public health led to the invention of the Health Kup, the world's first disposable paper cup, which virtually replaced the common metal cup.

ปีค.ศ. 1946

ทัปเปอร์แวร์ กล่องพลาสติกไฮโซ

เอิร์ล ไซลาส ทัปเปอร์ เปลี่ยนพลาสติ๊กที่ใช้ทำหน้ากากกันก๊าซพิษในสมัยสงครามโลกเป็นภาชนะเก็บอาหารเหลือมื้อเย็นและกล่องแซนวิชสำหรับปิกนิกที่ตกไม่แตกทำให้เป็นที่นิยมของเหล่าแม่บ้านสมัยใหม่

ปีค.ศ. 2002

ขวดในอนาคต

อิโต โมราบิโตะ นำอะลูมิเนียมซึ่งสามารถรีไซเคิลได้มาออกแบบขวดเบียร์ไฮเนเก้น "Paco" ช่วยประหยัดพลังงานที่ใช้ในกระบวนการผลิตและขนส่ง แถมตกไม่แตกเหมือนขวดแก้ว ฝาปิดได้อีกครั้ง และมีน้ำหนักเบา

1946

We had Tupperware parties too

Earl Silas Tupper turned the plastic he had used to manufacture gas masks, Into unbreakable containers, cups and glasses for picnics and middle class homes and became an instant hit with modern housewives everywhere.

2002

Recycle trends

Ito Morabito decided to design a recyclable aluminum bottle for Heineken called "Paco". They are light, resealable, hard to break, and cheaper to produce and transport.

ปีค.ศ. 2006

ก็โลกมันร้อน

ยูริโกะ โคยเกะ รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่นรณรงค์และสาธิตวีธีการห่อของพกพาแบบดั้งเดิม "โมตตัยนัย ฟูโรชิกิ" (Mottainai) และผลิตผ้าจากเส้นใยที่เหลือจากอุตสาหกรรมทำขวดพลาสติก PET

โมตตัยนัย หมายถึง ความละอายในการใช้ของแล้วทิ้งโดยยังไม่ได้ใช้ประโยชน์สูงสุด

2006

How much do we care about global warming?

In 2006, Japanese environment Minister, Yuriko Koike, turned up at a public bath with her bath kit wrapped in a Furoshiki, a traditional Japanese cloth in use since the Muromachi period (14th century). She hoped to encourage modern-day Japanese to eschew disposable plastic bags, in favor of the more eco-friendly furoshiki.

Made from recycled PET bottles, the minister’s bag was called a Mottainai Furoshiki. “Mottainai” is a Japanese expression declaring “the shame of wasting something before it has been fully used.” Herexample set off a furoshiki craze, coinciding with global trends in green design.


Related To This Item

สื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


You May Also Like

แนะนำสื่ออื่นๆ ที่น่าสนใจ


Your Recent Views

สื่ออื่นๆ ที่คุณเพิ่งดู