วันที่จัดแสดง : 20 สิงหาคม - 21 พฤศจิกายน 2553 สถานที่ : ห้องนิทรรศการ 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ Date: 25 August - 21 November 2010 Venue: Gallery 2, TCDC, The Emporium, 6th Floor
Spirits / Ghosts / Creativity / ความเชื่อ / Ghost movie / ตำนาน / traditional / culture / tcdcarchive
นิทรรศการที่จะชวนคุณมาสัมผัสประสบการณ์ขนหัวลุก จากหลายเรื่องราวที่เล่าขานกันมายาวนานเกี่ยวกับความเชื่อและนิยามของ “ผี” ที่จะปลุกความกลัวและสัญชาตญาณในการเอาตัวรอดของมนุษย์ในทุกยุคทุกสมัย ผ่านกระบวนการจัดการความกลัวด้วยจินตนาการสร้างสรรค์ จนเกิดเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรม ประเพณี รวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องผี ๆ พร้อมร่วมเปิดมุมมองใหม่ให้กับคำนิยามของผีผ่านหลากตำนาน ความเชื่อ และข้อเท็จจริงที่รวบรวมจากทุกมุมโลก รวมถึงการแสดงนานาทัศนะของผู้คนหลากอาชีพที่มีความเกี่ยวพันกับมิติคู่ขนานกับกลวิธีสร้างสรรค์ในการอยู่ร่วมและเอาชนะ “ความกลัว” ด้วย “ความเข้าใจ”
The exhibition brings you the goosebump experience, from many long-told stories about the beliefs and definitions of "ghosts" that will awaken the fears and the survival instincts of mankind. The exhibition presents the fear management process using "Creative Imagination" which is the product of cultures, traditions, as well as businesses related to ghost stories, along with opening new perspectives to the definition of "ghost" through various legends, beliefs and facts gathered from all corners of the world. It also shares the perspectives of people of various professions that are related to "Parallel Dimension" along with the creative strategies to coexist and overcome "Fear" with “Understanding".
เมื่อความกลัวเข้ามาครอบงำจิตใจ "ผี" ทั้งดีและร้ายจึงเกิดขึ้นตามแต่พลังจินตนาการของแต่ละสังคม จากผี ในความคิดส่วนบุคคลมาสู่ "กระบวนการจัดการความกลัว" และการควบคุมสังคมให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ก่อเกิดเป็นพิธีกรรมและประเพณี รวมถึงเครื่องมือในการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดจากธรรมชาติรอบตัว กลายเป็นต้นกำเนิด "ตำนานเรื่องเล่า" ที่ผันไปตามยุคสมัยและเป็นแรงขับเคลื่อนความคิดสร้างสรรค์ สู่โลกเศรษฐกิจ
When fear reigns, the world of good and evil spirits seizes the imagination. What starts as one person’s fear of the unknown spreads to others, and before long, an entire culture shares a common belief in ghosts. To ward off these spirits and control their fear, people develop rituals, one of which is the tradition of storytelling – a tradition that still has the power to spark the creative imagination and generate profits in the world of business.
เมื่อสังคมไทยรับไม่ได้กับความอกตัญญู เปรตจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อหยุดยั้งพฤติกรรมเลวร้ายของมนุษย์
Preta. .ghosts who suffer insatiable hunger and thirst becomes a cautionary tale against abusive behaviour towards one's parents.
จากความกลัวพื้นบ้านกลายเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์หนังไทย จากวันวานถึงวันนี้ ไม่ว่าจะวิ่งหนีกี่ครั้งก็ทำเงินเหมือนเดิม
From folklore to a signature of Thai scary movies, the jar-jumping antic keeps the audience coming back for more.
แม้กาลเวลาจะเปลี่ยนจากบ้านไม้สู่ตึกระฟ้า แต่ความเชื่อยังยืนยง
Time might turn wooden houses into skyscrapers. But faith remains.
เครื่องแต่งกายที่สุดแสนจะประณีตสะท้อนถึงพลังแห่งความเชื่อและจิตศรัทธาที่แข็งกล้าของชุมชน
When fear evokes more than terror and hideousness, world-renowned artworks and festivities come to life.
บางครั้ง “คำขู่” ก็ได้ผลกว่า “คำสอน” ความกลัวจึงถูกใช้ให้เป็นประโยชน์
Sometimes, “Stick” works Better than “carrot” Fear can be put to good use.
จากการกราบไหว้ท้องฟ้า สู่การเคารพนับถือสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ จนถึงการถวายมาลัยบูชาเทพ แก่นแท้ของความกลัวไม่เคยเปลี่ยนแปร แต่กระบวนการจัดการกับความเชื่อเหล่านี้ต่างหาก ที่ปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ความซับซ้อนของสังคมและการไหลบ่าปะทะเข้าหากันของวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นเกิดเป็นพิธีกรรมกราบไหว้และเซ่นบวงสรวงสังเวยบูชา การอุปโลกน์ ผู้แทนในรูปของหมอผีและคนทรงเจ้า รวมถึงเทศกาลงานละเล่นเพื่อทั้งคลายความกลัวและสร้างความอุ่นใจ
Throughout our history, fear has been the constant behind many of our religious practices – worshiping the sky, paying respect to sacred animals, or making offerings to gods. What has changed is how we manage our fears. The complexity of human society and the clash of cultures have given rise to countless forms of religious ritual all intended to allay our fears. Whether it is a belief in exorcists and spirit mediums or fairs and festivals to appease the gods, these rites help us keep the darkness at bay.
มนุษย์จัดระเบียบความเชื่อโดยเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง สังคมของผีจึงมีโครงสร้างไม่ต่างจากสังคมมนุษย์ ความซับซ้อนของระบบชนชั้นจึงปรากฎในโลกผี เกิดเป็นเทพเทวดาผีฟ้า จนถึงกึ่งผีกึ่งเทวดาอย่างเจ้าป่าเจ้าเขาซึ่งให้ได้ทั้งคุณและโทษ จึงต้องทำพิธีกรรมสื่อสาร อย่างเคารพยำเกรงก่อนจะปิดท้ายด้วยภูติผีปีศาจที่ให้แต่เภทภัยหากกำราบได้ด้วยอำนาจ ไสยศาสตร์
People's beliefs are a reflection of people themselves. That is why the spirit world resembles the human world. The complexity and hierarchical nature of human society characterizes the society of ghosts, too. At the top of the ladder are the heavenly spirits, and below them are the creatures of the mountains and forests. Because they are harbingers of both good and evil, people need to perform rites to appease them. At the bottom of the hierarchy are devils and demons who pose only harm. Fortunately, black magic offers ways to keep them at bay.
แม้แก่นความเชื่อผีในโลกปัจจุบันจะเหมือนกัน แต่มนุษย์กลับสร้างสรรค์ "กระบวนการจัดการ" ที่ต่างกัน ในขณะที่ชุมชนท้องถิ่นร่วมกันอนุรักษ์ประเพณีและพิธีกรรมดั้งเดิม คนเมืองพยายามปรับตัวบนพื้นฐานของเทคโนโลยีสมัยใหม่ และกลุ่มผู้มีกำลังซื้อเรียกหาทางเลือกเพื่อตอบสนองรสนิยมบนความเชื่อนั้น ๆ สถานภาพทางสังคมเหล่านี้ล้วนเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ให้เกิดขึ้น
Although animist beliefs are pretty much the same all over the world, different cultures have come up with different ways of dealing with these visitors from another world. While people in traditional communities in the countryside cling to old customs and rituals, many of today’s city dwellers adopt the latest technology to facilitate their faith. And people with the purchasing power look for ways to satisfy cravings that reflect their particular beliefs in the supernatural. This explains the creativity that characterizes today's society and the tremendous range of goods available in the marketplace.
กระบวนการจัดการสิ่งเหนือธรรมชาติถูกหล่อหลอมจากตำนานและพิธีกรรมพื้นบ้านสร้างเอกลักษณ์ให้กับวิถีชีวิตในแต่ละชุมชน ซึ่งเมื่อผสมผสานกับการจัดการที่เป็นระบบสัญลักษณ์ทางความเชื่อและพิธีกรรมหลากรูปแบบ จึงกลายเป็นงานศิลป์และเทศกาลงานฉลองร่วมสมัยระดับโลก
Various methods for coping with supernatural phenomena have grown out of the legends and customs unique to particular communities and ways of life. When these "coping mechanisms" are ritualized, they become the inspiration for exquisite works of art and world-class celebrations.
เมื่อความตายยังคงเป็นเรื่องใหญ่ โลกวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยังคงเดินคู่ขนานไปกับวิทยาการสมัยใหม่ พัฒนาการของเทคโนโลยีที่เพิ่มพูนกลายเป็นกำลังสนับสนุนให้ความเชื่อยังคงดำเนินไปได้ การสร้างสรรค์บริการและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ สำหรับติดต่อและบูชาโลกวิญญาณ จึงผ่านการคำนึงถึงความสะดวก ประหยัดเวลา และโฉมหน้าที่ทันสมัย เพื่อให้เข้ากับสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมปัจจุบันอย่างกลมกลืน
As long as death remains the ultimate mystery, the realm of the spirits and the supernatural will likely survive in the modern world. New technologies only serve to keep our traditional beliefs alive. The market is full of new goods and services that purport to make contacting the "other side" faster and easier than ever before. These inventions have a trendy, up-to-the-minute look that fits right in with our modern lifestyle.
ศาลพระภูมิรุ่นเก่าเริ่มหายไป จากบ้านไม้กลายเป็นหินแกรนิตที่ดูทันสมัย ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์หรือ ฮวงจุ้ย แต่เป็นเรื่องของคอนโดมิเนียมราคาหลายสิบล้านบาทที่ต้องขายความดูดีทั้งภายนอกและภายใน
The old-fashioned spirit houses are slowly vanishing. The traditional wooden structures are being replaced by more modern-looking houses made of granite. The change has nothing to do with feng shui or a shift in beliefs. The trend is led by high-priced condominiums that want a sleek, expensive look both inside and out.
ฝีมือเชิงช่างที่ละเอียดปราณีตและวัตถุดิบคุณภาพสูงล้วนเป็นที่ต้องการในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีที่สุดเพื่อการตอบสนองความเชื่อของกลุ่มคนที่มีศักยภาพทางด้านการเงินและสถานภาพชั้นสูงทางสังคม จึงก่อกำเนิดเป็นวงจรธุรกิจเก่าและใหม่ที่ยังคงหมุนเวียนตราบใดที่ความเชื่อนั้นยังคงอยู่
People with money often seek out skilled craftsmanship and top-quality raw materials to satisfy their craving for the best that life (and death) has to offer. Their money goes to finance a whole range of old and new businesses that keep traditional beliefs alive.
- ค่าใช้จ่ายอื่น ค่าบำรุงวัด 5,000 บาท
- ค่าทำพิธีกงเต๊ก 10,000 - 25,000 บาท
- ค่าหลุมฝังศพ 10,000 - 1,000,000 บาท
- ค่าโลงศพ 2,000 - 200,000 บาท
- ค่ากระดาษเผาประกอบพิธี 3,000 - 20,000 บาท
- ค่าดอกไม้ตกแต่ง 7 วัน 8,000 - 15,000 บาท
- ค่าอาหารเลี้ยงแขก 7 วัน 5,000 - 10,000 บาท
Belief in the afterlife is the reason behind a whole range of businesses with a combined worth of some 35 billion baht a year.
- Miscellaneous expenses paid to the temple 5,000 Baht
- Chinese religious ceremonies for the deceased (kong tek) 10,000-25,000Baht
- Burial plot 10,000 - 1,000,000 Baht
- Caskets/coffins 2,000 - 200,000 Baht
- Ceremonial paper for burning 3,000 - 20,000 Baht
- Flowers for 7 days 8,000 - 15,000 Baht
- Food for guests 5,000 - 10,000 Baht
- รับจัดดอกไม้
- แคทเทอริ่งอาหารงานศพ
- ถ่ายรูป/วิดีโอ + เสื้อผ้าไว้ทุกข์
- จำหน่ายของที่ระลึกงานศพ
- รับจัดกงเต๊ก
- Flower arranging
- Catering
- Photography/video recording + mourning clothes
- Funeral mementoes
- Kong tek arranging
เมื่อความกลัวคือหนึ่งในความบันเทิง ตำนานความเชื่อและจินตนาการเรื่องผีที่สั่งสมมา แต่อดีตจึงเป็น "ทุนทางวัฒนธรรม" ชั้นยอด ในขณะที่พัฒนาการของเสียงและภาพคือ เครื่องมือสร้างรสชาติและประสบการณ์ของความกลัวออกมา "หลอก" เอาเงินผู้เสพทั้งไทยและเทศในแต่ละยุคสมัย
When fear is entertainment, all the old beliefs in ghosts and spirits are "cultural assets" with the potential for big profits – especially today. New sound and image technology is scaring the "dollars and cents" out of horror fans both at home and abroad.
"ขุนแผนไม่สะทกสะท้านอ่านมนตร์ปลุกผีลูกผุดลุกขึ้นพูดจ้อ ขุนแผนเต้นเผ่นโผนโจนขี่คอ กุมารทองช่วยพ่อให้พ้นภัย"
เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดกุมารทองบุตรนางบัวคลี่ สำนวนครูแจ้ง ครูเสภาชื่อดังสมัยรัชกาลที่ 4
"Khun Paen felt no fear. He recited the spell that woke the child spirit, who began to speak. Khun Paen danced. He leapt into the air and rode on the back of the spirit. The guman thong (child spirit) would protect his father from danger."
From Khun Chang-Khun Paen, the episode in which the guman thong is removed from the womb of khun Paen’s wife, Buakli. The version recited by Master Storyteller Kru Jaeng during the reign of King Rama IV
แม้การเล่าเสภาขุนช้างขุนแผน จะใช้แค่ลีลาขยับกรับและเสียงขับเสภา หากปลุกเร้าจินตนาการของผู้ฟังจนเห็นภาพ "โหงพรายโขมดผี" สะท้อนการเชื่อผีและไสยเวทที่ฝังรากลึกในวิถีชีวิตสมัยกรุงเก่า ในช่วงปี พ.ศ. 2500 ละครวิทยุผีคลื่นเอเอ็มยามค่ำคืนคือความบันเทิงใหม่ล่าสุดของเมืองกรุง การปั้นแต่งเรื่องและเสียงของคณะผู้ผลิตแข่งขันกันออกอากาศหลอกหลอนแฟน ๆ ให้ติดงอมแงมไปไกลถึงต่างจังหวัด และเมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารก้าวไกล รายการวิทยุผีคลื่นเอฟเอ็ม เดอะช็อค จึงเปิดโอกาสให้ผู้ฟังสร้างสรรค์เรื่องลี้ลับสยองขวัญตามใจชอบโดยผลัดกันโทรศัพท์เข้ามาส่งเสียงหน้าไมค์แบ่งปันประสบการณ์ผีให้กันฟัง
Although the traditional oral recitation of the folk tale Khun Chang-Khun Paen involved only the clacking of wooden sticks (krab) and the nuanced voice of the storyteller, they were often enough to conjure up pictures of the newborn spirit in the audience’s imagination. The storyteller’s job was helped, of course, by the widespread belief in ghosts and the supernatural that permeated life in the past.
In 1957, a radio play about ghosts hit the AM airwaves in the dark hours of the night, captivating listeners in Bangkok and all around the country. The play’s producers were constantly working to outdo themselves, coming up with new spine-chilling storylines that would keep listeners tuned in. Then, with the advent of FM radio, horror fans were treated to a program called The Shock, which gave people an opportunity to phone in and relate their own personal encounters with ghosts and the spirit world live over the radio.
เมื่อคุ้นเคยกับความกลัวจนก่อเกิดเป็นจินตนาการ การถ่ายทอดเรื่องผีจึงปรากฎออกมาในรูปของภาพและลายเส้น เหม เวชกร ส่งเรื่องสั้นประกอบภาพแนวภูติผีปีศาจมาเขย่าวงการน้ำหมึกสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามมาด้วยสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ที่เริ่มหันมาเอาใจตลาดด้วยการ์ตูนผีประโลมโลกย์เล่มละบาท นิยายและการ์ตูนผีเริ่มระทึกใจแบบต่างชาติหลังปี พ.ศ. 2525 เมื่อผีดิบฝรั่งออกอาละวาดแผงกับนิตยสารช็อกของค่าย บรรลือสาส์นในปี พ.ศ. 2526 ปัจจุบันมีเรื่องผีหลากรูปแบบวางจำหน่ายให้เสพตามรสนิยม ตั้งแต่นิตยสารการ์ตูนลายเส้นญี่ปุ่นประกอบเรื่องผีสางทั้งไทยเทศ จนถึงการ์ตูนผีบ้าน ๆ ก็มีขายในราคาห้าบาทสิบบาท และยังคงสั่นประสาทคนอ่านได้ดีไม่แพ้อดีต
Once fear takes hold of your imagination, it is not long before images of monsters and spirits come spilling out. Short-story writer Hem Vejakorn is a case in point. His tales of demons and ghosts shook up the publishing world in the years right after World War II. His popular success inspired publishers to start printing one-baht comic books filled with Thai-style stories from beyond the grave. After 1982, novels and comic books began to feature Western ghosts, most notably the "farang" vampires on the cover of Banleusarn’s Shock magazine that hit newsstands in 1983.
Today, there are ghost stories of every description available to fans of the genre. So whether you prefer J-horror manga or Western-style horror flicks or the old-timey Thai ghost comics at 5 to 10 baht a pop, you are sure to find something to send shivers down your spine.
จากหนังเกรดบีทุนต่ำที่เน้นกลัวไปฮาไป วันนี้หนังผีไทยพัฒนาขึ้นเป็นหนังคุณภาพ ทำเงินทะลุร้อยล้านบาท ความก้าวหน้าด้านเทคนิคภาพและเสียง ผสมความทุ่มเทของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้งเบื้องหน้าและหลัง ตั้งแต่ผู้กำกับ นักเขียนบท ผู้กำกับศิลป์ คนทำเอฟเฟกต์พิเศษ นักออกแบบเสียง นักแสดง ไปจนถึงผู้อำนวยการสร้าง ต่างมีส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมหนังสยองขวัญร่วมสมัยที่ให้ความสนุกและตื่นเต้นถูกใจ ทั้งคนไทยและขายดีในต่างแดน
The earliest locally-made ghost movies were cheap affairs that blended fear and laughter. But many of the ghost films made today are quality products with box office returns in the hundreds of millions of baht. Advances in image and sound technology and the dedication of experts both behind and in front of the camera – everyone from directors to screenwriters, cinematographers, special effects engineers, sound designers, actors, and producers – have resulted in a resurgence in popularity for Thai-made ghost movies here at home and abroad.
สื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
แนะนำสื่ออื่นๆ ที่น่าสนใจ
สื่ออื่นๆ ที่คุณเพิ่งดู