Archive

นิทรรศการม่วนซ่านอีสานมิวสิก

Description

นิทรรศการนี้มาในคอนเซป Isan Music Library หรือห้องสมุดดนตรีอีสาน โดยจัดแสดง ณ ห้องสมุด TCDC ขอนแก่น

Subject

Music / Traditional / Thailand / Culture / tcdcarchive

Details

Released 20 March 2020
File Format text/html
Print

นิทรรศการม่วนซ่านอีสานมิวสิก

ใผคึดฮอดเพลงอีสานบ้านเฮา มาทางนี้

ใผยังบ่เคยฟังก็มานำ

เสียงพิณเสียงแคนที่เคยดังมาจากท้องนาและใต้ถุนเฮือน ทำให้หวนคิดถึงภาพที่เราลำ-ร้อง-เต้น-สอย-ปล่อยมุกตลก จังหวะและทำนองดนตรีอีสานนั้นแสนม่วนซื่น เป็นเพื่อนแก้เหงายามต้องจากบ้านไปไกล

นิทรรศการ “ม่วนซ่าน อีสานมิวสิก” เชื่อมโยงความบันเทิงจากหมอลำ-ลูกทุ่งอีสาน ผสานดนตรีสมัยใหม่ด้วยคลังเพลง-เมโลดี้ที่ยังคงสะท้อนชีวิตและสังคมที่อยู่กันแบบหมู่พี่น้อง ดนตรีอีสานทั้งหมอลำและลูกทุ่งมีความลึกซึ้ง ม่วน และฟังง่ายจึง ‘ซ่าน’ ไปไกล จนทั้งฮิตติดหูและกลายมาเป็นสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมที่นำไปใช้ต่อได้อย่างสร้างสรรค์ไม่รู้จบ

ทุกวันนี้ นักดนตรีรุ่นใหม่สามารถต่อยอดวิถีอีสานบ้านเฮาลงไปในฉากของโลกดิจิทัลอย่างกลมกลืน นอกจากเม็ดเงินมหาศาลและโอกาส มาร่วมหาคำตอบกันว่ามีอะไรอีกบ้างที่ทำให้อีสานมิวสิกฝั่งหมอลำ-ลูกทุ่งกลายเป็นอาณาจักรทางดนตรีที่ม่วนคักม่วนหลายและอยู่ในใจคนทุกย่านทุกเมือง

Sit back and relax, Isan music is here.

What soothes you when you're away from home? Isan music is super meaningful for the locals to deal with loneliness, and to show the feelings of joy.

The exhibition “Isan Music Library” gathers Thai country music and Molum; a traditional northeastern music genre, as it represents the way Isan locals have lived their life upon brotherhood and how their culture has changed. The Molum culture and music has cheerful, yet dramatic character, that is why it’s so sticky to people’s ears and spreads widely throughout Thailand and worldwide.

Let us gather around and explore the sound of Isan Molum culture!

นิทรรศการนี้มาในคอนเซป Isan Music Library หรือห้องสมุดดนตรีอีสาน โดยจัดแสดง ณ ห้องสมุด TCDC ขอนแก่น เป็นการเรียกน้ำย่อยก่อนจะถูกขยายไปสู่การจัดทำในรูปแบบออนไลน์ต่อไป

วิธีการเข้าชมนิทรรศการ มีดังนี้

  1. แลกบัตรประชาชน เพื่อรับอุปกรณ์และหูฟัง
  2. กดเปิดแอปพลิเคชั่น ‘ม่วนซ่านอีสานมิวสิก’
  3. เดินเข้าสู่โซนต่างๆ แบ่งตามสี
  4. เมื่อเข้าสู่โซน รายชื่อศิลปินและเพลงจะโชว์บนหน้าจอ ให้เลือกศิลปินหรือเพลงที่สนใจ
  5. สามารถอ่านเรื่องราวของเพลงและศิลปินได้ระหว่างฟังเพลง
  6. เมื่อเดินไปสู่โซนต่อไป รายชื่อศิลปินเพลงและศิลปินจะปรากฎขึ้นให้เลือกฟัง
  7. พื้นที่นิทรรศการจะมีการจัดแสดงเนื้อหาและวัตถุจัดแสดงที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมดนตรีหมอลำ
  8. เมื่อรับชมและฟังเสร็จแล้ว สามารถแลกบัตรประชาชนคืนได้ ณ เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์

The first Isan Music Library, an interactive exhibition showing Isan culture through Molam music. This project is the collaboration between the Creative Economy Agency and Hear & Found for creating this exhibition.

This music library onsite experience is just the beginning, we will develop it into online experience in the near future. Please stay tune

How to explore the exhibition:

  1. Please exchange your ID card with the media player and headphones.
  2. Open ‘Muansan Isan Music application’
  3. Explore each zone of the exhibition.
  4. You will see artists and songs list, please choose one.
  5. While you listen to the artist’s song, you can read info of the song and musician’s profile.
  6. Next zone is awaited.
  7. Not only on the mobile application, but you can get to know the Isan Music through the exhibition’s content and objects that we provided.
  8. When you finish, you can return the media player and headphones to our reception. You will get your ID card back.

Zone 1 : ดนตรีอีสาน ศักยภาพที่ไปต่อได้

ดนตรีอีสาน ศักยภาพที่ไปต่อได้

การเข้าถึงวัฒนธรรมต่างแดนมีส่วนทำให้ดนตรีอีสานมีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง โดยเยาวชนคนรุ่นใหม่นำดนตรีจากตะวันตกมาผสมผสานให้เกิดสำเนียงเสียงใหม่ ซึ่งไม่ได้เป็นแค่เพียงการปรับให้ฟังดูโมเดิร์นและเข้ากับโลกตะวันตกมากขึ้น แต่ที่สำคัญคือการนำสำเนียงอีสานดั้งเดิมมาประยุกต์ใช้อย่างเข้าใจ

ต้นตระกูล แก้วหย่อง เป็นศิลปินรุ่นหลังที่สร้างบทบาทและภาพใหม่แก่ ‘หมอลำล่อง’ โดยปรับใส่จังหวะดรัมแอน์เบสในเพลงอีสานลำล่อง ของหมอลำฉวีรวรรณ ดำเนิน และ ตุ้มเติ่นหมอลำกรุ๊ป เป็นอีกหนึ่งศิลปินรุ่นใหม่ที่หลงใหลเพลงหมอลำ เพลงอีสานพื้นบ้านโดยเฉพาะ ขวัญใจกาฬสินธุ์ยุคพัฒนา อัศวิน ปิ่นเพชร และดาว บ้านดอน โดยได้นำมาเรียบเรียงใหม่โดยมีพิณและแคนประกอบกับจังหวะสนุกๆ สร้างความม่วนหลาย

ความกล้าที่จะสร้างสรรค์แต่งเติมส่งให้วงดนตรีรุ่นใหม่หลายคน ได้รับการกล่าวถึงและมีโอกาสในการแสดงผลงานทั้งในและต่างประเทศ เป็นอีกบทหนึ่งของดนตรีอีสานที่กำลังก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

The next chapter of Isan music

Driven by globalization and creativity of the young blood, Molum songs have been twisted, but not leaving their traditions behind.

Isan music from the next generation includes Tontrakul Kaewyong, the Thai artist with his traditional molum rhymes mixed with electronic music. Also, Toomturn Molum Group is another young musician known for their molum harmony combined with funky music from the 70's.

The innovative and creative energy among those musicians take them to the worldstage, and help illustrating a vivid next, nonstop, step of Isan’s music.

ศิลปินแนะนำ

1.ต้นตระกูล แก้วหย่อง

เกิดที่ จ.ชัยภูมิ สนใจการนำดนตรีอีสานหมอลำประยุกต์ร่วมกับดนตรีสากลแนวใหม่ ทั้งเวิล์ดบีท อิเล็กทรอนิก้า และดรัมแอนด์เบส เพื่อนำเสนอศักยภาพและความอิสระของดนตรีพื้นบ้านอีสานที่สามารถโลดแล่นร่วมกับแนวดนตรีอื่นได้อย่างลงตัว

Recommended artists

1.Tontrakul

A young blood Isan artist is an expert who makes Isan music culture such as Molum become more interesting by combining the Isan music with other music genres.

He once said that “To be succeed, the artist has to find their own sound, including character and revisit themselves over and over again to create their own path”

เพลงอีสานลำล่อง / Isan Lum long

แนะนำเพลงอีสานลำล่อง

ผลงานชิ้นแรกที่สร้างชื่อเสียงในเวลาต่อมา เป็นดนตรีอีสานอิเล็กทรอนิกส์ที่ผสมระหว่างจังหวะดรัมแอนด์เบสของดนตรีอิเล็กทรอนิกส์กับลายพิณ ผสานการร้องหมอลำของแม่ฉวีวรรณ ดำเนิน ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างมิติใหม่ให้ดนตรีอีสานหมอลำอย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

Isan Lum long

This song is the first song that makes Tontrakul become a well-known artist. The electronic Isan piece mixed with drum and bass musical style, sound of Isan Phin and the traditional vocal voice from Mae Chaweewan Dumneoen, the national artist.

This song is the groundbreaking Isan music that no one has ever done before.

เพลงอิเล็กโทรแคน / Electro Khaen

แนะนำเพลงอิเล็กโทรแคน

เพลงที่นำเครื่องดนตรีอีสานพื้นบ้านอย่างแคนกับโหวด มาดัดแปลงเป็นเสียงสังเคราะห์ สร้างมิติใหม่ของเสียงเครื่องเป่าที่มีลักษณะอะคูสติก โดยลายแคนที่ใช้ในเพลงนี้เป็นลายดั้งเดิม เรียกว่าลายใหญ่

Electro Khaen

This song combines many acoustic Isan musical instruments such as Khaen and Wode and adapts them into voice synthesis in order to introduce the new dimension of voice.

ช่องทางการติดตามศิลปิน

Artist’s channels

Facebook: https://www.facebook.com/tontrakul.k/

Youtube:https://www.youtube.com/channel/UC03j9FpAU0hdhrb6RfvQlqg

2.ตุ้มเติ่นหมอลำกรุ๊ป

เกิดจากการรวมตัวของนักดนตรีพื้นบ้านอีสานที่หลงใหลในเสียงเพลงหมอลำช่วง พ.ศ.2503-2513 โดยนำมาเรียบเรียงดนตรีใหม่ตามแบบฉบับของวงที่เน้นความสนุกสนาน คำว่า ‘ตุ้มเติ่น’ หมายถึง บรรยากาศของความ ‘ม่วน’ ในเสียงกลองตุ้มและกลองยาวที่สอดประสานกัน

2.Toomturn Molam Group

The combination of a new generation of Isan musicians that has taken their influence directly from the 1960s and 70s. ‘Toomturn’ is also the sound of the Isan percussion rhythms used in molum music, which in turn underpins the relaxed and happy vibe during their live sets.

แนะนำเพลงรักกับพี่ดีแน่

ต้นฉบับขับร้องโดย สมัย อ่อนวงศ์ ผู้เป็นทั้งศิลปิน นักร้อง และหมอแคน มีชื่อเสียงในวงการเพลงลูกทุ่งหมอลำช่วง พ.ศ.2513 ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘ยอดขุนแคนแดนสยาม’

Ruk gab pee dee nae

The original work from Samai Ornwong who is both the singer and the Khaen master. He is famous in the Thai country molum music field since 1970 as he received the reputation called ‘Khaen master of Siam’.

แนะนำเพลงสาละวัน สาละวน

เป็นทํานองหมอลําสาละวันที่มีต้นกําเนิดจากแขวงสาละวัน ประเทศลาว ซึ่งได้รับความนิยมในประเทศสองฝั่งแม่น้ำโขง และกลายมาเป็นเพลงลูกทุ่งอีสานในเพลง 'สาละวันรำวง'

Salawan Salawon

‘Salawan’ is one of the traditional Laos’s cadences that came from Salawan district.

The song is so popular to both Thais and Laos, and usually used for the traditional ceremony for locals. This song also displays sharing cultural activities between both countries.

ช่องทางการติดตามศิลปิน

Artist’s channels

Facebook: https://www.facebook.com/toomturn/

3.อ้นแคนเขียว (พงศพร อุปนิ)

เกิดที่ จ.กาฬสินธุ์ แชมป์หมอแคนประเทศไทย พ.ศ.2554 ได้ร่วมแสดงหมอลำกับศิลปินแห่งชาติ อาทิ แม่ฉวีวรรณ ดำเนิน มีการสร้างสรรค์และทดลองนำดนตรีพื้นบ้านอีสานกับดนตรีสากลผสานกันอย่างกลมกลืน เผยแพร่ผลงานทางช่องยูทูปตั้งแต่พ.ศ. 2553 ในชื่อ ‘อ้นแคนเขียว Entertainment’

3.Pongsaporn Upani, aka On Khaenkiew

He was born in Kalasin province. He was the champion of master Khaen’s Thailand in 2011. He has played his Khaen with several famous musicians such as Mae Chaweewan Dumnoen, the national artist.

His works were very creative as he combined Isan folklore with international musical instruments harmoniously.

เพลงควายน้อยคอยแม่ / Kwai noi khoy mae

แนะนำเพลงควายน้อยคอยแม่

คำร้อง/ทำนอง: พงศพร อุปนิ

เรียบเรียงดนตรี: จินนี่ ภูไท

บทเพลงที่สื่ออารมณ์ของลูกควายที่รอคอยแม่ควาย สะท้อนภาพวิถีชีวิตชาวนา พัฒนาการบรรเลงแคนประกอบหมอลำดั้งเดิม ประยุกต์เข้ากับวงดนตรีออเคสตร้า โดยให้แคนเป็นเครื่องดนตรีนำ ทำให้เห็นรายละเอียดของลายแคนหมอลำ โดยเฉพาะลูกเอื้อน ลูกอ้อน และลูกคอ

Kwai noi khoy mae

Lyrics and harmony by Pongsaporn Upani

Arranged by Jinny Phoothai

The song conveys the emotion about the awaited buffalo’s son. It’s about a small buffalo playing in the field and when he was looking for his mom, she had already left.

The Khaen sound was developed along with the original Molum, then it is incorporated with the orchestra band, while letting the Khaen voice lead the song. As that, it indicates the elaborate sound of Molum.

เพลงเดี่ยวแซกลำเพลิน / Solo saxophone in ‘Lum ploen’ cadence

แนะนำเพลงเดี่ยวแซกลำเพลิน

คำร้อง/ทำนอง: พงศพร อุปนิ

เป็นการนำแซกโซโฟนมาเป่าในทำนองลำเพลิน ซึ่งเป็นลายหมอลำที่ให้จังหวะสนุกสนาน ถือเป็นการสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านร่วมสมัยอีกทางหนึ่ง

Solo saxophone in ‘Lum ploen’ cadence

Lyrics and harmony by Pongsaporn Upani

The solo saxophone in ‘Lum ploen’ harmony. This cadence is a cheerful song. Thus, this hybrid thinking is another way that creates contemporary Isan music.

ช่องทางการติดตามศิลปิน

Artist’s channels

Facebook: https://www.facebook.com/pongsapon.upani

Youtube: https://www.youtube.com/channel/UC5Y9RtAgly0BcgWz-sgw-g

Zone 2 : เสน่ห์โลเคิลอีสาน

เสน่ห์โลเคิลอีสาน

“ตื่นแต่เช้ามานึ่งเข่าซิไปนา แดดกะฮ้อนเลยหลบฮ้อนมาร้องเพลง”

ครั้งหนึ่งการบรรเลงดนตรีหรือแต่งเพลงอีสานมักพูดถึงวิถีชีวิตการทำนา และบรรยายบรรยากาศรอบตัวระหว่างพักผ่อนตามเถียงนา เช่น เพลงเกี่ยวกับข้าว หรือบรรยายถึงแมลงบินว่อนดมดอกไม้ ตกเย็นพลบค่ำก็จะรวมตัวกันในหมู่บ้านขับกล่อมหมอลำจีบสาว นอกจากนี้ยังมีวงหมอลำที่ตระเวนไปตามหมู่บ้าน สร้างความบันเทิงให้กับผู้คน

เส้นทางดนตรีหมอลำได้พัฒนาจากการลำด้วยบทกลอนทำนองเดียวเป็นหมอลำที่มีท่วงทำนองเฉพาะตามเอกลักษณ์หมอลำแต่ละคน จนกระทั่ง การเปิดรับ ‘วัฒนธรรมป๊อป’ เปลี่ยนดนตรีหมอลำไปทำให้เกิดแนวเพลงใหม่ หนึ่งในนั้นคือดนตรีหมอลำ-ลูกทุ่ง จากบทกลอนท่อนยาวไปสู่การลดทอนเหลือท่อนสั้น แล้วผสมรวมกันกับเนื้อเพลงที่มีท่อนฮุกโดนใจ โดยเฉพาะเนื้อหารักโรแมนติก อกหักรักคุด ขายท้องนาเพื่อดูแลครอบครัว

ดนตรีกับวิถีชีวิตคนอีสานอยู่คู่กันมามากกว่า 50 ปี ตั้งแต่ยุคอัดเสียงมาสู่การทำเพลงแบบครบวงจรด้วยคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ทั้งแนวทางดนตรี เนื้อหาและกระบวนการผลิตเป็นเสมือนวัฒนธรรมที่มีการปรับเปลี่ยนและเคลื่อนที่เข้าหาคนได้เร็วขึ้นและมากยิ่งขึ้น

Isan local charm

Buzzing sounds of bees in the rice field and the sun is about to set was once frequently mentioned in Isan rhyme. It portrays scenes representing farmers' lenses from their local routines, while Molum Caravans also entertain their neighbors, Isan social gathering occurs though they are happy or sad, still they write songs and sing along. This is how the local’s life was like.

Not long ago, Thai country music Molum was influenced by pop culture. It was the groundbreaking concept of Molum song as it requires some part of rhyme from Molum and it is mixed with catchy hooks from pop music to make the song become sticky to people’s ears with the feeling of glee, yet lyrics still contained romance and drama that are included beautifully in such songs.

Music and Isan people have been bonded for more than 50 years. Now, the revolution of technology not only bridges the gap between listeners and musicians, but also empowers greater volume and speed to enhance engagement.

หมอลำรุ่งเรือง เริ่มต้นจากในชุมชน

พ่อสัตย์’ หมอแคนแห่งหมู่บ้านนางเติ่ง จังหวัดสกลนคร เล่าให้ฟังว่า ในยุคหมอลำรุ่งเรือง หมู่บ้านก็ร้องรำทำเพลงกันในซอยเวลาค่ำๆ ทุกครั้งที่พิณและแคนส่งเสียง ลำนำหมอลำดังกังวาล หญิงชายในหมู่บ้านก็ออกมารวมตัวกัน บางคู่ชอบพอรักใคร่ก็จะร้องเพลงจีบเกี้ยวกันอยู่ใต้ลานบ้าน หากมีงานสำคัญ เช่น งานบั้งไฟ งานบวช ประเพณีไหว้ผี ชาวบ้านจะร่วมกันร้องลำกลอน สร้างขวัญและกำลังใจแบบหมู่คณะ วิถีชาวนาเป็นเช่นนี้มาแต่ไหนแต่ไร หยิบพิณ แคน ออกไปเล่นที่เถียงนา ท้องฟ้าและทุ่งนากว้างคือแรงบันดาลใจในการสร้างเสียงเพลง

Molum’s aspiration

Uncle Sut, Molum legend in the local community from Sakon Nakorn province, displayed a prosperous scene from the old days. When the sky was clear and rice fields were yellow, he and his friends usually played the Isan music instruments and joined each other in Molum songs.

Songs and music are the best tools which bond people together on many occasions. An example is when a guy is trying to flirt with a girl by writing songs for her. Besides, in the traditional ceremony, locals normally gather at the center of the community for celebrating and mingling.

ศิลปินแนะนำ

วิสัตย์ พลหาร และสมาชิกวงหมอลำประจำชุมชนบ้านนางเติ่ง ต.โคกภู อ.ภูพาน จ.สกลนคร

เป็นกลุ่มชาวบ้านที่รวมตัวกันเมื่อสี่สิบปีที่แล้ว ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองของการแสดงหมอลำที่จะตระเวนไปตามหมู่บ้านต่างๆ สร้างความบันเทิงให้คนได้สนุกสนานและผ่อนคลายด้วยเสียงเพลงและกลอนลำ บางครั้งไม่มีงานจ้างจะเรียกว่า 'หมอลำขอข้าว' จะมีการลำกลอนเพื่อขอปันข้าวเอาไปขาย หารายได้เลี้ยงชีพ

Recommended artists

Wisut Polthaharn and the band members from Baan Narng Terng in Sakon Nakorn province.

People in the village have gathered for more than a decade. At that time, it was the golden age of the Molum band. The group hopped to many villages to serve entertainment to people. Also, the band uses Molum music and calls for some rice from other locals in order to make a living out of it.

เพลงวิถีชาวบ้านเปลี่ยนตามกาลเวลา / The changes over time of local farmers’ life

แนะนำเพลงวิถีชาวบ้านเปลี่ยนตามกาลเวลา

ดนตรีกับวิถีชุมชนเป็นของที่อยู่คู่กันมานาน ปัจจุบันลำกลอนแบบวิถีชาวบ้านก็ยังพบได้อยู่ ในคำกลอนนี้บอกเล่าวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ทั้งการประกอบอาชีพและการใช้ชีวิต เช่น การนำเครื่องจักรอย่างรถแทรกเตอร์มาช่วยไถนาแทนการใช้ควาย หรือการแต่งกายของวัยรุ่นจากเดิมที่แต่งตัวเรียบร้อย ตอนนี้กลายเป็นใส่เสื้อสายเดี่ยว โดยใช้แคนเป็นดนตรีนำและพิณเป็นเครื่องดนตรีเสริม ช่วยให้จังหวะสนุกสนานและสร้างสีสันให้ผู้ฟังเพลิดเพลิน

*เพลงนี้เป็นการอัดเสียงระหว่างการให้สัมภาษณ์ของสมาชิกในวงและคนในชุมชนจึงบรรยากาศของการพูดคุยของคนในหมู่บ้านอยู่ด้วย

The changes over time of local farmers’ life

Music and people are meant to live together for so long. At the present time, the rhyme still echoes in people’s hearts.

This rhyme tells the story of the alternation of lives for a decade ago. It shows the story of occupation and the way of living such as how the tractors are used for farming instead of using animals like buffalo or the changing way of dressing up from past to present. Khean and Phin are played in this song to make it more cheerful to the listeners.

*Sound of people talking and the interview of band’s members are played along in the song

เพลงยินดีต้อนรับ / Greeting traveller

แนะนำเพลงยินดีต้อนรับ

บ้านนางเติ่ง ต.โคกภู อ.ภูพาน จ.สกลนคร เป็นหนึ่งในหมู่บ้านโอทอปนวัตวิถี วงหมอลำของพ่อสัตย์จะแต่งเพลงหมอลำเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว แสดงถึงมิตรไมตรีที่มีต่อผู้คนที่ไม่ว่าจะมาจากที่ไหนคนในหมู่บ้านก็เห็นเหมือนลูกเหมือนหลาน เหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน เพลงนี้ยังเล่าถึงวิถีชีวิตที่ยังผูกพันกับพระพุทธศาสนา การทอผ้าและย้อมครามที่เป็นงานฝีมือที่สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น

*เพลงนี้เป็นการอัดเสียงระหว่างการให้สัมภาษณ์ของสมาชิกในวงและคนในชุมชนจึงบรรยากาศของการพูดคุยของคนในหมู่บ้านอยู่ด้วย

Greeting traveller song

Baan Narng Terng, located in Sakon Nakorn province, is one of the villages that welcome the travellers from many countries around the world.

People who live in the village are like family as they get along very well. The song also illustrates the life of people that are connected to buddhism and also doing indigo dye which the knowledge is passed from generation to generation.

*Sound of people talking and the interview of band’s members are played along in the song

มนต์รักลูกทุ่งอีสาน

“ไม่กล้าพูดว่าเป็นคนอีสาน ช่วงนั้นมีแต่คนดูถูก หาว่าลาว บักเสี่ยว กินข้าวเหนียวไม่ล้างมือ เกียจคร้านสันหลังยาว ผมเลยเกิดแรงฮึด”

ความกดดันจากคำสบประมาท สุรินทร์ ภาคศิริ เกิดแรงขับดันให้สร้างสรรค์และบุกเบิกดนตรี ‘ลูกทุ่งอีสาน’ อันถือเป็นจุดเชื่อมต่อจากยุคหมอลำและรำวงตามหมู่บ้าน ลูกทุ่งอีสาน สร้างสีสันใหม่ด้วยเนื้อเพลงหวานซึ้งกับจังหวะสามช่า เป็นหมอลำโอ้ละนอต่อสลับทำนองลูกทุ่ง และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงยุคอุตสาหกรรมจอเงินเฟื่องฟู ‘มนต์รักลูกทุ่ง’ และ ‘มนต์รักแม่น้ำมูล’ กลายเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ที่มีแฟนเพลงขอให้เปิดซ้ำแล้วซ้ำอีก และเป็นจุดเริ่มให้วงการลูกทุ่งอีสานผลิตศิลปินน้องร้องคนดังอีกมากมาย

From shame to shine

Surin Paksiri, Isan pioneer radio broadcaster, proudly reflects Isan way of life through songs and media for over 30 years.

He once said that “When I was in Bangkok for the first time, I could not say that I am Isan because people might look down and make me ashamed of myself.” Here’s the turning point, Surin was motivated by that feeling of shame and became even more creative with ambition. As that, he won the hearts of national audiences.

Thai country music - Molum; one of the most popular genres in Thailand - gains special characters because the music combines traditional rhyme and pop music tone and structure. This music genre was later developed into soundtracks of Thai famous movies, which influenced the next local Thai country pop musicians.

ศิลปินแนะนำ

สุรินทร์ ภาคศิริ

นักประพันธ์เพลง นักจัดรายการวิทยุ และนักเขียน เกิดที่ จ.อุบลราชธานี แต่งเพลงให้นักร้องดังมากมาย ปัจจุบันทำรายการลูกทุ่งย้อนยุค ‘คนค้นเพลง’ FM 95.0 MHz และ ‘สารพันลั่นทุ่ง’ ช่อง Thai PBS

Recommended artist

Surin Paksiri

The broadcaster, the songwriter, producer and the writer. He was born in Ubon Ratchathani province. Currently, he is the broadcaster of the retro Thai country Isan music on FM 95.0 MHz radio and Thai PBS TV channel.

เพลงหนาวลมที่เรณู / Nhoa Lom tee Renu

แนะนำเพลงหนาวลมที่เรณู

เพลงนี้ขับร้องโดยศรคีรี ศรีประจวบ ผลงานเพลงอมตะที่สร้างชื่อเสียงให้กับสุรินทร์ ภาคศิริ

Nhoa Lom tee Renu

This song is sung by Sornkiri Sriprajuab. This everlasting song made special recognition to Surin Paksiri.

เพลงเบิ่งนครพนม / Berng Nakorn Phanom

แนะนำเพลงเบิ่งนครพนม

คำร้อง/ทำนอง สุรินทร์ ภาคศิริ

ขับร้องโดยต่าย อรทัย

ต้นฉบับขับร้องโดย แม่ฉวีวรรณ ดำเนิน ศิลปินแห่งชาติ

Berng Nakorn Phanom

Lyrics and arranged by Surin Paksiri.

Sang by one of the most famous Thai country singers, Tai Orathai. The originality was sung by Mae Chawee Dumnoen, the national artist.

อีสานคันทรี : นักสู้ยุคป๊อป-อินดี้

เพลงลูกทุ่งอีสานเป็นการบันทึกภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง พรศักดิ์ ส่องแสง เล่าถึงชายอีสานที่ “เสี่ยงดวงไปถึงซาอุ ยกมือสาธุ หมดนาหมดไร่ เกือบจะบินไปตาย เกือบจะไม่ได้กลับมา” พอวัฒนธรรมป็อปเติบโตด้วยดนตรีเข้าถึงง่าย เนื้อหาโดนใจ มนต์สิทธิ์ คำสร้อย ยังต้องสู้กันต่อด้วยการ ‘ขายควายช่วยแม่’ จนเมื่อโลกก้าวไกลแต่แคบลงด้วยอินเทอร์เน็ต คนอีสานอยู่ในทุกเมืองใหญ่ทำให้เกิดเพลงแบบ ‘ซุมไทบ้าน’ ที่ให้ภาพความเป็นอีสานอินดี้ด้วยไลฟ์สไตล์ที่จริงใจ ไม่ปรุงแต่ง คนอีสานสามารถได้-มี-เป็น เช่นเดียวกับคนเมืองกรุง

Isan-Thai music country: Stage fighter Pop-indie era

Music is like a book and Isan country music is a tool that records the social fluctuation, for ages, about life of Isan. Since the struggling period, some Isan people need to leave their hometown to seek a better future, they have to sell cows and buffalos to feed their family.

These days, Isan people have greater opportunities, including education and career path. In addition, the development of the social network plays an important role in people’s activities. Isan new generations then adopt such development to create local stories which are valuable to their products sold online. Their expectation is to let people experience their lives and gain their acceptance among people.

ศิลปินแนะนำ

ธิติ ศรีนวล

นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์และโฆษณา ร่วมเขียนบท ‘ไทบ้าน เดอะ ซีรีส์’ เกิดที่ จ.ร้อยเอ็ด ดูแลการผลิตเพลง ทั้งมิวสิกวิดีโอ การบันทึกเสียง โปรโมต จนถึงการแสดงสดของศิลปินในสังกัดเซิ้งโปรดักชั่น

Recommended artist

Thiti Srinuan

The actor, the director and the scriptwriter of “Thaiban The series”.

He was born in Roi Et province. He produces song, music video and audio recording for “Serng Production”. This production house also produces movies, soundtrack, promotes and organizes concerts for artists too.

เพลงกอดเสาเถียง / Gord sao tieng

แนะนำเพลงกอดเสาเถียง

คำร้อง/ทำนอง: ปรีชา ปัดภัย

เรียบเรียง: จินนี่ ภูไท

ธิติ ศรีนวลร่วมกำกับมิวสิกวิดีโอ

เล่าความรู้สึกอกหักที่คนรักไปแต่งงานกับคนอื่น คำร้องใช้ภาษาอีสาน ใส่ทำนองจังหวะร็อค เกิดเป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างดนตรีลูกทุ่งอีสานและป็อปร่วมสมัย

Gord sao tieng

Singing, harmony and lyrics by Pricha Pudpai

Arranged by Jinny Phoothai

Music Video by Thiti Srinuan

The love song tells the story about a lover who ran away to get married with another one. The song uses the Isan language in the rock musical style, which represents the harmonious way of Isan and contemporary pop rock music.

เพลงอีหยัง (Why)

แนะนำเพลงอีหยัง (Why)

คำร้อง/ทำนอง: ก้อง ห้วยไร่ และแมวแม่ลูกอ่อน

ขับร้อง: ฐา ขนิษ

กำกับมิวสิกวิดีโอ: ธิติ ศรีนวล

เป็นเพลงลูกทุ่งอีสานที่มีส่วนผสมของดนตรีอาร์แอนด์บี มีลูกเอื้อนและลูกคอสไตล์หมอลำที่โดดเด่น

Lyrics and harmony by Kong Huayrai and Maemaew look orn

Singing by Tha Kanid

Music Video by Thiti Srinuan

The song is a collaboration between Thai country Isan music and the R&B music genre.

ช่องทางการติดตามศิลปิน

Artist’s channels

Facebook: https://www.facebook.com/SerngMusic

Facebook: https://www.facebook.com/ThiBaanTheSeries

Zone 3 : วัฒนธรรมหมอลำ

วัฒนธรรมหมอลำ

นอกจากจะประกอบขึ้นจากคำสอนทางพระพุทธศาสนาแล้ว หมอลำยังมีรากฐานจากตำนานพื้นบ้านและนิทานชาดก

คนอีสานใช้ชีวิตรวมกันอย่างรื่นเริงและเรียบง่าย พอเสร็จจากฟังเทศน์ฟังธรรมในวันพระก็จะรวมตัวกันฟ้อน-ลำ-ทำเพลง ‘หมอลำกลอน’ เป็นการประชันของหญิงชาย ใช้แคนเป่าคลอเป็นทำนองเดียวง่ายๆ เมื่ออยากสร้างสีสันให้คนฟังไม่เบื่อก็แต่งเรื่องราวให้ซับซ้อนและมีตัวละครมากขึ้น กลายเป็น ‘หมอลำเรื่องต่อกลอน’ หรือ ‘หมอลำหมู่’ ใช้นักแสดงจำนวนมาก มีพิณ ซอ กลองมาผสมผสานให้ครึกครื้น

‘หมอลำเพลิน’ ก็มีลีลาและการแต่งกายแบบครบชุด โดยพัฒนานำเครื่องดนตรีสากลมาใช้ร่วมกันทำให้จับใจคนอีสานไปทุกหย่อมย่าน การส่งต่อสู่รุ่นอื่นระหว่างครูกับศิษย์ หมอลำจะให้ลอกกลอนลำ ส่งต่อคำร้องเป็นตัวอักษร ส่วนหมอแคนหมอพิณจะใช้วิธีครูพักลักจำ มองดู ทำตาม เล่นซ้ำจนถนัดและเชี่ยวชาญ จึงสามารถสร้างทางดนตรีของตน วัฒนธรรมอีสานหมอลำเป็นหนึ่งในเนื้อแท้ของคนอีสาน ส่งต่อความรู้ทักษะด้วยความเชี่ยวชาญเข้าใจ ไม่ต่างจากการถ่ายทอดผ่านดีเอ็นเอ

Molum culture

Molum is one of the fundamentals in Isan music, comprising Buddhism teaching, myth and fable stories.

Traditional Molum rhyme has been used in many performing forms. Such as Molum Korn is a music competition between Molum singers’ women and men, then it has developed into a group of the singers, which entertains more groups of people too.

Molum Ploen is also the evolution of the usual Molum as they adapt the colorful costumes and the contemporary music to the old fashioned Molum. This is how the legacy is passed down to the next generation as the Molum was the one who produced rhymes, the whole Khaen musician will put some rhythm to the song by just listening to the rhymes.

By that, Molum culture is the way in which the true color is implied in the songs and the knowledge of making it is also transferred.

เริ่มจากเข้าใจรากเหง้า

เพื่อเอาไปสร้างสรรค์งานดนตรี

การถ่ายทอดวัฒนธรรมดนตรีอีสานหมอลำไม่เพียงใช้การท่องจำ ทำตาม และฝึกฝน แต่ต้องอาศัยความเข้าใจและศึกษาต่อยอด หมอลำผูกพันกับพระพุทธศาสนาและประเพณี มีการส่งต่อคำบอกเล่าครู-ศิษย์อย่างละเอียดตั้งใจ

“จะอยู่ให้คนเขารักไปนานๆ ต้องสร้างทางหมอลำของตัวเอง คนรุ่นใหม่ ลูกจะศึกษาอะไรไปเอาเลย แต่อย่าทิ้งของเดิมของเก่า เหมือนก่อวิหาร ต้องมีอิฐก้อนแรก จะขึ้นสูงขนาดไหน ก็หนีไม่พ้นหลักเดิม” แม่บุญช่วง เด่นดวง ครูหมอลำกลอนที่อยู่ในวงการมากว่า 50 ปี เล่าหลักพัฒนาและประยุกต์ดนตรีอีสานหมอลำ

คำร้องต้องรู้ชัด ทำนองก็ต้องรู้ความหมาย อาจารย์คำเม้า เปิดถนน ครูพิณที่ได้ไปโชว์พิณพระอินทร์ในเทศกาลดนตรีระดับโลกมาหลายประเทศบอกว่า “ทุกวันนี้คนเอื้อนไม่เป็น ลำไม่เป็น ก็เลยดีดพิณเอื้อนไม่ได้ เราต้องพูดสำเนียงอีสานให้ถูกต้อง ต้องเข้าใจความหมาย ถึงจะลำได้ลำเป็น เมโลดี้พิณที่ดีดมันก็จะตามกันไป”

ขณะที่แชมป์แคนประเทศไทย อ้นแคนเขียว เน้นเรื่องการเคารพและศึกษาคำครูบาอาจารย์ “คุณตาของผม คำมัย ศรีอรัญ เป็นครูแคนคนแรก ตอนมีพิธีเลี้ยงผีฟ้า ตาเป็นหมอเหยา เป่าแคนไหว้ผีด้วยลายภูไทหมอเหยา ผมก็ฝึกตาม หมอแคนเก่าผมก็ดู อย่างครูหนูกัน ศรีเชียงพิมพ์ ท่านเป่าลายโบราณ เป่าเนี๊ยบมาก

ส่วนครูทองคำ ไทกล้า เสียงแคนอ้อยอิ่ง มีลูกอ้อนหนักเบาอยู่ในตัว ครูทองคำยังเป่าแคนให้หมอลำแม่ฉวีวรรณ ดำเนินมาก่อน ตอนผมได้ตามไปเป่าแคนให้ครูหมอลำ เคน ดาเหลา และแม่ฉวีวรรณ ท่านก็สอนแต่งกาพย์กลอน เล่าเรื่องอีสานหมอลำ เราก็เก็บความรู้มาหมด รู้ว่าหลักเดิมคืออะไร รู้ให้ชัดให้ถูกต้อง รู้ว่าจะดึงอะไรมาใช้ตอนไหน พอเราทำก็สังเคราะห์ที่รู้มาให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ แล้วทดลองในแบบอื่น”

Understanding the deepest root of

Molum culture

The inheritance of Isan music culture is not only about practicing, but it also requires a deep comprehension about the culture, so the knowledge that is passed down to the next generation is elaborated enough to hold its core value.

“Keep the uniqueness of Molum this way” is the key message that the Molum master asked for. Boonchuang Denduang is one of the senior Molum singers who showed the advancement and the adaptation of Isan Molum music.

Master Kammao Perdtanon, Isan phin master also said that “The musician must know how to sing and know deeply about the Isan music harmony. However, nowadays, people choose to play Phin without awaring the singing accent, so the Phin accent was lost along the way.

On Khaenkiew, the winner of Thailand Khaen Competition, is motivated purely by his masters as he learned and listened to Khaen sound from the ancient accent and traditional songs. Then, he also learned playing with techniques by imitating how the master does in order to develop his own accent.

He said that “When Molum masters told the story behind Molum culture, I always recorded it and learned how to use it properly and adapted it in my own way.”

รูปแบบการเรียนการสอน

การเรียนดนตรีแบบวัฒนธรรมมุขปาฐะ คือครูหมอลำจะถ่ายทอดสู่ลูกศิษย์แบบปากต่อปาก ไม่มีการบันทึกโน้ต ผู้เรียนต้องจดจำทางเพลงจากครูด้วยตนเอง และวิชาความรู้บางอย่างเป็นการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ และต้องการปกปิดเป็นความลับ จะสืบทอดให้ก็เฉพาะแต่สายเลือดเดียวกันเท่านั้น

ครูพักลักจำ

แทนการเรียนรู้จากครูโดยตรง นักดนตรีบางคนต้องเรียนด้วยตนเอง เน้นการ ดู จำ เล่น และทำซ้ำ จากการได้ยินหรือการบอกเล่า หรือที่เรียกว่า ‘ครูพักลักจำ’ ซึ่งนักดนตรีต้องฝึกซ้อมจนสามารถสร้างเป็นสำเนียงของตนเองได้

Traditional classroom

Learning with the master, no manuscript. Molum is inherited by telling. The knowledge in this field is usually passed on not by writing down in a textbook. Some songs were passed down by the ancestor, so the master wanted to keep the myth to his descendants.

A back-door teacher

Some musicians must study Molum by observing masters or other musicians. They learn from seeing, remembering, playing and practicing until they can adapt and create their own way.

ศิลปินแนะนำ

1. แม่บุญช่วง เด่นดวง

ศิลปินมรดกอีสาน เกิดที่ จ.อุดรธานี เป็นหมอลำกลอนที่มีจุดเด่นในการร้องที่ชัดถ้อยชัดคำและการออกแบบท่ารำเฉพาะของตัวเอง ทำให้ผู้ฟังเพลิดเพลินไปกับการแสดง โดยปกติแม่บุญช่วงจะบันทึกกลอนต่างๆ ในสมุดโน้ต เขียนเองด้วยมือ ในจังหวะที่สมองกำลังโลดแล่น ซึ่งครูเพลงหลายๆท่าน ก็จะบันทึกบทกลอนต่างๆ ด้วยวิธีการนี้

Recommended artists

1. Mae Boonchuang Denduang

She is one of the Isan glorified artists who was born in Udon Thani.

She is the northeastern-style singer who specializes in singing Isan accents properly and designing dance movements that entertain the audiences.

Most music masters always use a notebook to record their ideas or lyrics, especially Mae Boonchuang, she’s always writing down her rhyme or cadence implied about happiness and enjoyable moments.

แนะนำเพลงเวียงจันทน์ล้านช้าง

ในชุดประวัติเวียงจันทน์สัตนาคยุคต้น โดยทองเจริญ ดาเหลา และบุญช่วง เด่นดวง ใช้ทำนอง 'ลำทางสั้น' เป็นนิทานการสร้างบ้านแปงเมืองบริเวณบ้านใหม่เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ซึ่งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อาณาจักรล้านช้าง

Wiang Chan, Lan Chang

It is written in the album Early Wiang Chan Sattanak biography byThongcharoen Dalao and Boonchuang Denduang. The song is a fables story about constructing a city around the Udon Thani province, which is related to the history of Lan Chang.

เพลงเวียงจันทน์ล้านช้าง / Wiang Chan, Lan Chang

แนะนำเพลงอนุรักษ์ป่าไม้

เป็นหมอลำประยุกต์ที่ปรับดนตรีให้มีจังหวะสนุกสนาน นำเหตุการณ์ปัจจุบันมาสอนลูกหลานให้อนุรักษ์ธรรมชาติ

Anurak pa mai

The song is an adapted Molum rhyme. The lyrics aim to teach a new generation about taking care of nature.

เพลงอนุรักษ์ป่าไม้ / Anurak pa mai

2.อาจารย์คำเม้า เปิดถนน

หมอพิณแห่งวง The Paradise Bangkok Molam International Band ได้ไปโชว์คอนเสิร์ตที่เทศกาลดนตรีระดับโลกในหลายประเทศ ทำให้ชาวต่างชาติได้รู้จักดนตรีอีสานหมอลำมากยิ่งขึ้น

พิณของอาจารย์คำเม้า ถือว่ามีเรื่องราวที่ผูกพันกันเป็นอย่างมาก เมื่อ พ.ศ.2544 คำเม้านำพิณใส่กระสอบข้าวสะพายติดตัวมาหางานทำในกรุงเทพฯ ใช้อัดเสียงอัลบั้มแรก ‘บรรเลง เดี่ยวพิณ’

2.Master Kammao Perdtanon

The Isan Phin master of The Paradise Bangkok Molum international Band. The band performed in many international concert festivals around the world, which makes the Isan’s music style well known in the worldwide level.

His Isan Phin was used in his first solo album that made him become a well known artist this day.

แนะนำเพลงสุดสะแนนพ่อกล่อมลูก

เพลงนี้เป็นลายเพลงที่สืบทอดมาจากคุณพ่อ ครูคนแรกผู้สอนการดีดพิณของอาจารย์คำเม้า เปิดถนน

Lai sood sanan por glom look

This is the legacy song from Kammao’s ancestor who first taught him how to play Isan Phin.

เพลงสุดสะแนนพ่อกล่อมลูก / Lai sood sanan por glom look

แนะนำเพลงแมลงภู่ชมสวน

เป็นลายเพลงที่ทำเสียงเลียนแบบธรรมชาติของแมลงภู่ที่กำลังตอมดอกไม้

Bumble bees in the garden.

It is the Isan musical cadence and harmony which demonstrates the natural sound of bumble bees flying around the flowers.

ช่องทางการติดตามศิลปิน

Artist’s channels

Facebook: https://www.facebook.com/paradisebangkok/

Youtube:https://www.youtube.com/channel/UCBrRnTGyDNB2PSSC4AzSTw

3.พงศพร อุปนิ (อ้นแคนเขียว)

เกิดที่ จ.กาฬสินธุ์ แชมป์หมอแคนประเทศไทย พ.ศ.2554 ได้ร่วมแสดงหมอลำกับศิลปินแห่งชาติ อาทิ แม่ฉวีวรรณ ดำเนิน

3.Pongsaporn Upani, aka On Khaenkiew

He was born in Kalasin province. He was the champion of master Khaen’s Thailand in 2011.

He has played his Khaen with several famous musicians such as Mae Chaweewan Dumnoen.

แนะนำเพลงลายใหญ่

ลายใหญ่ เป็นลายแคนเก่าแก่ให้อารมณ์ซาบซึ้งกินใจ หมอแคนจะบรรเลงเดี่ยวไปเรื่อยๆ ตามแต่ลีลาและไหวพริบปฏิภาณ บทเพลงนี้ต้องการสะท้อนภาพชีวิตชาวนาที่หวนถึงอดีตที่ทุกข์ยากแร้นแค้น มีช่วงพรรณนาความคิดถึงบ้านอย่างที่สุด หรือที่เรียกว่า ‘ฮำฮีฮำฮอน’ ในช่วงท้ายบรรเลงหลายอารมณ์ ทั้งซึ้งหรือร่าเริงปนเศร้า

Lai yhai

It is the ancient Khaen song which indicates sentimental feeling. Khaen master who plays this song will solo and improvise into the way he wishes to present.

The lyrics reflect the farmer’s life, who was whining about his struggle in the past and the feeling of homesickness. In the lyrics sing “Hum-hee-hum-orn” in the last part of the song recalled the feeling both happy and sad.

เพลงลายใหญ่ / Lai yhai

แนะนำเพลงลายหมอเหยา

ลายแคนนี้เป็นลายแคนที่สืบทอดมาจากคุณตา คำมัย ศรีอรัญ ใช้บรรเลงในพิธีไหว้ผีฟ้าสมัยก่อน

Lai mhor yhao

This is the Khaen song that was the legacy of Kummai Sri-Aran which was used as a song to offer ceremony to spirits of a locality.

เพลงลายหมอเหยา / Lai mhor yhao

ช่องทางการติดตามศิลปิน

Artist’s channels

Facebook: https://www.facebook.com/pongsapon.upani

Youtube: https://www.youtube.com/channel/UC5Y9RtAgly0BcgWz-sgw-g


Related To This Item

สื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


You May Also Like

แนะนำสื่ออื่นๆ ที่น่าสนใจ


Your Recent Views

สื่ออื่นๆ ที่คุณเพิ่งดู