Archive

นิทรรศการขนาดย่อม “Comic & Manga: วาดเส้นให้เป็นเงินล้าน”

by  TCDC Resorce Center

Description

นิทรรศการขนาดย่อม “Comic & Manga: วาดเส้นให้เป็นเงินล้าน”

Subject

comic / cartoon comic / cartoons / business / tcdcarchive

Details

Released 16 June 2009
File Format text/html
Print

นิทรรศการขนาดย่อม “Comic & Manga: วาดเส้นให้เป็นเงินล้าน”

16 มิถุนายน – 30 สิงหาคม 2552 ณ ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ

การ์ตูน เป็นการออกแบบในอีกลักษณะหนึ่งที่เป็นการนำเสนอแนวคิดหรือเรื่องราวต่างๆ ผ่านรูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่เกิดจากการวาด สามารถสื่อความหมาย เล่าเรื่อง และสร้างอารมณ์ร่วมให้กับผู้อ่านได้ ส่วนใหญ่จะนำเสนอในลักษณะเกินจริง การ์ตูนมีการนำเสนอเนื้อหาที่ค่อนข้างหลากหลายขึ้นอยู่กับจินตนาการและทักษะของผู้เขียนหรือผู้วาด มีทั้งการ์ตูนแนวอนาคต แนวขำขัน แนวต่อสู้ แนวสืบสวนสอบสวน ไปจนถึงแนวรักโรแมนติก ปัจจุบัน นักวาดการ์ตูนได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาพัฒนารูปแบบการนำเสนอ เช่น การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นำเสนอภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว ไปจนถึงภาพ 3 มิติที่มีความสมจริง แต่การนำเสนอการ์ตูนในรูปแบบดั้งเดิม คือ การวาดภาพการ์ตูนแบบ 2 มิติด้วยมือ โดยอาศัยอุปกรณ์ คือ ดินสอและหมึกดำยังคงมีปรากฏอยู่ทุกวันนี้ จากลักษณะดังกล่าว นักออกแบบจึงมักนำภาพการ์ตูนมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลงานการออกแบบที่น่าสนใจได้หลากหลายสาขา ทั้งในวงการโฆษณา วงการแฟชั่น การออกแบบเว็บไซต์ รวมไปถึงวงการการศึกษาด้วย เพื่อร่วมสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ สร้างความน่าสนใจและกระตุ้นจินตนาการแก่ผู้ใช้บริการห้องสมุด นิทรรศการ Comic & Manga: วาดเส้นให้เป็นเงินล้าน จึงนำเสนอเรื่องราวของการ์ตูน โดยนำเสนอประวัติความเป็นมาของการ์ตูนตั้งแต่แรกเริ่มในต่างประเทศ จนเผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย นำเสนอผลงานการวาดการ์ตูนโดยนักวาดการ์ตูนชาวไทย รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ในการวาดการ์ตูน และตัวเลขทางการตลาดที่น่าสนใจที่ได้รับจากการ์ตูน รายละเอียดนิทรรศการ แบ่งออกเป็น

1. ประวัติความเป็นมาของการ์ตูน

นำเสนอประวัติของการ์ตูนด้วยกล่องไม้ เป็น Timeline ของการ์ตูน เริ่มตั้งแต่ปี 1846 ที่ Rodolphe Topffer เริ่มเขียนการ์ตูนลงบนกระดาษที่แบ่งเป็นช่อง และปี 1917 มีนักวาดการ์ตูนคนแรกของไทย คือ เปล่ง ไตรปิ่น (ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต) เขียนภาพล้อการเมืองขึ้นมา ไล่เรียงมาจนถึงยุคปัจจุบันที่การ์ตูนเข้ามามีบทบาทในทุกวงการ

ปี 1846

ครูและศิลปินชาวสวิส Rodolphe Topffer ใช้ปากกาเขียนเรื่องขำขันของ ชายหนุ่มที่ผิดหวังในรัก Historie de M. Vieux Bois ลงบนกระดาษ จำนวน 30 หน้า โดยแต่ละหน้าจะตีแบ่งเป็นช่อง 1-6 ช่อง และมีภาพ การ์ตูนที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องอยู่ข้างใน พร้อมตัวหนังสือบรรยายเรื่องด้าน ล่าง ซึ่งหลังจากนี้ 10 ปี การ์ตูนเรื่องนี้และเรื่องอื่นๆ อีก 6 เรื่องของ Topffer ก็ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ทั่วยุโรป โดยนักประวัติศาสตร์บางท่าน ยกให้มันเป็น “การ์ตูนช่อง” (comic strip) เรื่องแรกของโลก หรือ “ต้น ตระกูลของการ์ตูนสมัยใหม่” (father of modern comic)

ปี 1867

Charles H. Ross และภรรยา เขียนการ์ตูนช่อง ที่มีสุภาพบุรุษจมูกโตจอม ขี้เกียจนาม Ally Sloper เป็นตัวดำเนินเรื่อง ลงในนิตยสารขำขัน Judy ของอังกฤษ แล้วได้รับความนิยมอย่างสูง จนแยกมามีหนังสือการ์ตูนของตัว เองชื่อ Ally Sloper’s Half Holiday ในอีก 17 ปีต่อมา ซึ่งเสียงตอบรับ อย่างท่วมท้นจากคนอ่าน ที่ติดตามชีวิตตัวละครตัวนี้อย่างต่อเนื่องหลายสิบ ปี ก็ทำให้ Ally Sloper ถูกบันทึกในฐานะ “ตัวละครในการ์ตูน ช่อง” (comic strip character) คนแรก

ปี 1895

Richard F. Outcault วาด Hogan’s Alley เป็นการ์ตูนกรอบขาวดำ เล็กๆ ลงในหนังสือพิมพ์ The New York World แล้วได้รับความนิยมจาก คนอ่าน จนได้ขยายพื้นที่ลงเต็มหน้าสี่สีของหน้าแทรกฉบับวันอาทิตย์ โดยมี เด็กชายหัวล้าน สวมเสื้อคลุมสีเหลืองในนาม The Yellow Kid เป็นตัว ชูโรง พร้อมจุดเด่นตรงการวาด “บอลลูนคำพูด” (word ballon) ให้ตัว ละครเปล่งถ้อยคำออกมาคุยกับคนอ่านได้โดยตรง แทนที่จะมีเพียงตัว หนังสือใต้ภาพเหมือนในอดีต

ปี 1917

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่หก ทรงสนพระทัยเรื่องศิลปะ cartoon และโปรดเกล้าพระราชทานคำนี้เป็นภาษาไทยว่า “ภาพล้อ” โดยมี เปล่ง ไตรปิ่น (ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต) เป็นนักเขียนภาพล้อการเมืองคนแรกของ ประเทศไทย ในหนังสือพิมพ์ กรุงเทพฯ เดลิเมล์

ปี 1929

  • นิยายวิทยาศาสตร์ตะลุยอวกาศ Buck Rogers in the 25th Century A.D. ของ Philip Francis Nowlan และนิยายผจญภัยในพงไพร Tarzan of the Apes ของ Edgar Rice Burroughs ถูกวาดเป็นการ์ตูนช่องลงใน หนังสือพิมพ์ของอเมริกาพร้อมกัน โดยเรื่องแรกนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของ การ์ตูนช่องแนวไซไฟ
  • Elzie Crisler Crisler Segar เขียนการ์ตูนช่อง Thimble Theatre ให้กับ King Features Syndicate โดยมีพระเอกเป็นกลาสีเรือชื่อ Popeye
  • Herge (Georges Remi) เขียน The Adventures of Tintin เป็น การ์ตูนช่องภาษาฝรั่งเศส ลงในหนังสือพิมพ์ Le Vingtieme Siecle ของ เบลเยี่ยม โดยวางตัวละครเอกเป็นนักข่าวหนุ่มกับสุนัขคู่ใจ ที่ต้องเดินทาง ไปผจญภัยในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก

ปี 1931

  • Chester Gould สะท้อนภาพความรุนแรงของอาชญากรรมในชิคาโก ออกมาในรูปแบบของการ์ตูนช่องแนวนักสืบ Dick Tracy ที่ลงใน หนังสือพิมพ์ Detroit Mirror

ปี 1932

  • ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นบนหน้าหนังสือพิมพ์เริ่มเบ่งบาน
  • สวัสดิ์ จุฑะรพ บุกเบิกนำวรรณคดีไทยเรื่อง “สังข์ทอง” มาวาดเป็นการ์ตูน เรื่องยาวลงใน สยามราษฎร์ และต่อมา วิตต์ สุทธเสถียร ก็เขียน “บางระจัน” ลงใน เพลินจิต ส่วนจำนงค์ รอดอริห์ ก็เขียน “ระเด่นลันได” ใน ศรีกรุง และ “พระยาน้อยชมตลาด” ใน พิมพ์ไทยราษฎร์

ปี 1933

เซลล์แมน Maxwell Gaines กับผู้จัดการฝ่ายเซลล์ Harry I. Wildenberg และ George Janosik เจ้าของ โรงพิมพ์ Eastern Color Printing ทดลองนำการ์ตูนช่องที่เคยลงใน หนังสือพิมพ์ มาพิมพ์รวมเล่มในไซส์แท็บลอยด์ 8 หน้า เพื่อเป็นของ สมนาคุณแจกลูกค้าในชื่อ Funnies on Parade ก่อนจะปรับขนาดเป็น 38 หน้า มาวางขายตามแผงหนังสือทั่วไปในชื่อ Famous Funnies: A Carnival of Comics ที่ได้รับการบันทึกในฐานะ “หนังสือ การ์ตูน” (comic book) เล่มแรกของอเมริกา

ปี 1934

Alex Raymond เขียนการ์ตูนช่อง Flash Gordon ลงในหนังสือพิมพ์ แข่งกับ Buck Rogers

ปี 1935

  • Marge (Marjorie Henderson Buell) เขียนการ์ตูนช่อง Little Lulu ลงในหนังสือพิมพ์ The Saturday Evening Post ก่อนที่เด็กสาวตัวน้อยนี้ จะถูกใช้ในโฆษณากระดาษทิซซี่ Kleenex และน้ำอัดลม Pepsi-Cola
  • ผู้พัน Malcolm Wheeler-Nicholson เปิดสำนักพิมพ์ National Allied มาพิมพ์นิตยสาร New Fun: The Big Comic Magazine ที่ไม่ ได้นำการ์ตูนช่องจากหนังสือพิมพ์มารวมเล่ม แต่เขียนขึ้นมาเองใหม่หมด

ปี 1937

  • Detective Comics เป็นนิตยสารการ์ตูนเล่มสุดท้ายของสำนักพิมพ์ National Allied ก่อนถูก Harry Donenfeld เข้ามาเทคโอเวอร์กิจการ พร้อมเปลี่ยนชื่อสำนักพิมพ์เป็น Detective Comics หรือ DC Comics
  • สำนักพิมพ์ D.C. Thomson ของอังกฤษ ผลิตการ์ตูนเด็ก The Dandy และตามมาด้วย The Beano

ปี 1938

  • DC Comics ออกนิตยสารการ์ตูนรายเดือนเล่มใหม่ Action Comic ที่ หน้าปกฉบับปฐมทัศน์เป็นรูปชายในชุดรัดรูปสีน้ำเงิน-แดง ติดตัวอักษร ‘เอส’ บนหน้าอก ผู้แข็งแรงขนาดยกรถยนต์ทั้งคันขึ้นมาได้สบายๆ โดย Jerry Siegel และ Joe Shuster ช่วยกันสร้างสรรค์ตัวละครนี้ขึ้นมา โดย ตั้งใจให้มีพละกำลังเหนือมนุษย์แบบ Samson หรือ Hercules แต่ก็แอบ ปกปิดตัวจริงไม่ให้สาธารณชนรู้ (ในคราบนักข่าวแว่นหนา) แบบ The Shadow หรือ The Mark of Zorro จนออกมาเป็น Superman ที่ถือ เป็น “ซูเปอร์ฮีโร่” คนแรกของโลก
  • เหม เวชกร วาด “ภาพวิจิตร” เป็นภาพการ์ตูนสี่ช่องประกอบคำบรรยาย เรื่อง ศรีธนญชัย ลงใน ประมวญสารรายสัปดาห์ หลังจากนั้นก็นำวรรณคดี หรือชาดกมาเขียนเป็นภาพวิจิตรอีกหลายเรื่องทั้ง ขุนช้างขุนแผน ใน ประมวญ รายวัน (2482), กามนิต ใน สร้างตัวเอง (2486), ราชาธิราช (2496)ใน ชาวไทยรายวัน

ปี 1939

  • DC Comics เปิดตัวซูเปอร์ฮีโร่นักสืบ Batman ใน Detective Comics#27 ที่ไม่ได้มีพละกำลังเหนือมนุษย์แบบ Superman แต่มีมัน สมองเป็นเลิศ พร้อมอุปกรณ์ไฮเทคมากมาย โดยผู้สร้างสรรค์คือ Bob Kane บอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจาก The Mark of Zorro ผสมกับภาพ สเก๊ตเครืองร่อนปีกนกของ Leonardo Da Vinci และฆาตกรชุดค้างคาว ในหนัง The Bat Whisper
  • สำนักพิมพ์ Timely Comics ของ Martin Goodman ออกหนังสือ การ์ตูนรายเดือน Marvel Comics พร้อมเปิดตัวซูเปอร์ฮีโร่แอนดรอยด์ พลังเพลิง Human Torch และมนุษย์จ้าวสมุทร Prince Namor the Sub-Mariner

ปี 1940

  • DC Comics สร้างซูเปอร์ฮีโร่มาอีกมากมายทั้ง บุรุษที่เร็วที่สุดในโลก The Flash หรือเจ้าของตะเกียงและแหวนวิเศษ Green Lantern ฯลฯ ก่อนจะนำมารวมทีมเป็น Justice Society of America
  • สำนักพิมพ์ Fawcett Comics เปิดตัวซูเปอร์ฮีโร่พลังสายฟ้า Captain Marvel ที่มีจุดขายตรงการให้ตัวละครเอกเป็นเด็กชายอายุ 12 ปี (วัย ไล่เลี่ยกับคนอ่าน) ที่สามารถแปลงร่างเป็นซูเปอร์ฮีโร่หนุ่มใหญ่ได้ จน หนังสือขายดีกว่า Superman เสียอีก แต่เพราะชุดที่คล้ายกับ Superman มาก ก็ทำให้ Captain Marvel ถูก DC Comics ฟ้องร้องข้อหาละเมิด ลิขสิทธิ์ กลายเป็นคดีความยืดยาวหลายปี

ปี 1941

  • จิตแพทย์ William Moulton สร้างสรรค์ Wonder Woman ขึ้นมา เป็นซูเปอร์ฮีโร่หญิงคนแรกในจักรวาลของ DC Comics
  • Joe Simon และ Jack Kirby สร้างสรรค์ซูเปอร์ฮีโรในชุดธงชาติอเมริกัน ออกมากำราบกองทัพนาซีเยอรมันในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่สองกำลังร้อน ระอุใน Captain America ของ Timely Comics
  • Bob Montana นำชีวิตของเด็กชายวัยรุ่นอเมริกันธรรมดาๆ มาเขียน เป็นการ์ตูน Archie Andrews ใน Pep Comics#22 ที่ประสบความ สำเร็จจนสำนักพิมพ์ MLJ ต้องเปลี่ยนชื่อตามเป็น Archie Comics

ปี 1942

Bob Wood และ Charles Biro นำชีวิตจริงของอาชญากรและ ฆาตกรมาถ่ายทอดเป็นนิตยสารกร์ตูน Crime Does Not Pay ที่มี Mr. Crime เป็นตัวเล่าเรื่อง และปลุกกระแสการ์ตูนแนวอาชญากรรมขายความ รุนแรงให้เป็นที่นิยมในอเมริกา

ปี 1943

Walt Kelly นำเรื่องราวของสิงสาราสัตว์ริมหนองน้ำ มาเขียนเป็น การ์ตูช่องเสียดสีสังคมและการเมือง Pogo Possum

ปี 1945

ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง

ปี 1946

  • ประยูร จรรยาวงษ์ สร้างตัวละคร “ศุขเล็ก” ลงในหนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย และประสบความสำเร็จจากการ์ตูนล้อการเมือง จนได้รางวัลจากประเทศ อังกฤษ และรางวัลแมกไซไซจากประเทศฟิลิปปินส์

ปี 1947

  • สำนักพิมพ์ในโอซากาเริ่มผลิตหนังสือการ์ตูนราคาถูกออกมาขาย โดย พิมพ์ด้วยหมึกสีแดง จนถูกเรียกว่า “อะคาบอน” (หนังสือแดง) ซึ่งหนึ่งในนั้น ก็มีงานของนักศึกษาแพทย์ โอซามุ เทซูกะ เรื่อง New Treasure Island ที่ทดลองวางเลย์เอาท์ แบ่งช่อง ซูมภาพใกล้ไกลราวกับชมภาพยนตร์ จน สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่คนอ่านในยุคนั้นอย่างมาก รวมอยู่ด้วย
  • ฝั่งโตเกียว มีการเปิดตัวนิตยสารการ์ตูน Manga Shonen ของ เคนอิจิ คาโต ที่ตีพิมพ์แต่การ์ตูนที่เขียนขึ้นมาเองใหม่หมด ด้วยระบบการพิมพ์ที่มีมาตรฐานสูงกว่าโอซาก้า

ปี 1948

Gian Luigi Boneli กับ Aurelio Galleppini ช่วยกันเขียนการ์ตูน คาวบอยอิตาลี Tex Willer ที่ขายดีมากในแถบลาตินอเมริกา

ปี 1950

  • Charlie Brown กับ Snoopy และผองเพื่อนปรากฏตัวในการ์ตูนช่อง Peanuts ของ Charles M. Schulz ที่ถือเป็นการ์ตูนช่องที่ประสบความ สำเร็จมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพราะได้ลงในหนังสือพิมพ์ถึง 2,600 ฉบับ และมีคนอ่านกว่า 355 ล้านคนใน 75 ประเทศทั่วโลก
  • William Gaines และ Al Feldstein แห่ง EC Comics ทดลองเปิด ตลาดการ์ตูนแนวสยองขวัญสั่นประสาทด้วย Tales from the Crypt แล้ว ขายดีมาก จนต้องมี The Haunt of Fear และ The Vault of Horror มาขายแผงคู่กันทุกสองเดือน โดยทุกเล่มจะมีตัวเล่าเรื่องเป็นแม่มดและผี เฝ้าสุสาน 1950 โอซามุ เทซึกะ ย้ายจากโอซาก้ามาโตเกียว และวาด สิงห์น้อยจ้าวป่า (Jungel Emperor) ลงใน Manga Shonen เป็นเรื่องแรก 1951 EC Comics เปิดตลาดการ์ตูนสงครามด้วย Frontline Combat ที่มี Harvey Kurtzman เป็นบรรณาธิการคู่กับ Two-Fisted Tales โดยฉาก หลังของเรื่องราวมีทั้งสงครามเกาหลี สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามกลางเมือง และการปฏิวัติ แต่ธีมหลักของหลายเรื่องจะเป็นการต่อ ต้านสงคราม มากว่าเชิดชูวีรกรรม

ปี 1952

  • Harvey Kurtzman เปิดนิตยสาร Mad ที่ EC Comics ด้วยคอนเซปต์ ว่า Tales Calculated To Drive You Mad เพราะอัดแน่นไปด้วยการ์ตูน ตลกที่เสียดสีแดกดันทุกอย่างในอเมริกาไม่ว่าจะเป็น ปรัชญาชีวิต, กิจวัตร ประจำวัน, วัฒนธรรมป๊อป, การเมือง, วงการบันเทิง และทุกเรื่องที่อยู่ใน ความสนใจของสาธารณชน
  • โอซามุ เทซึกะ วาดการ์ตูนผจญภัยแนววิทยาศาสตร์ เจ้าหนูปรมาณู (Astro Boy)ที่มีหุ่นยนต์เด็กผู้ชาย อะตอม เป็นตัวละครเอก ลงในนิตยสาร Shonen

ปี 1953

  • โอซามุ เทซึกะ วาด ริบบ้อนจ้าวอัศวิน (Princess Knight) ลงใน Shojo Club เพื่อเอาใจคนอ่านที่เป็นเด็กผู้หญิง พร้อมวางรากฐานการวาด นางเอกดวงตาโตเป็นประกาย เรื่องชิงรักหักสวาท และฉากหลังเลิศหรูใน ต่างประเทศ ให้เป็นสูตรสำเร็จของการ์ตูนผู้หญิงที่เรียกว่า “โชโจ มังงะ” ซึ่ง ต่างไปจากการ์ตูนเด็กผู้ชายหรือ “โชเนน มังงะ”
  • นิยายของ ป. อินทรปาลิต ถูกน้องชายคือ อาภรณ์ อินทรปาลิต นำไป วาดเป็นการ์ตูนทั้ง ซูปเปอร์แมนแกละ (162 ตอน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2496-2498) สามเกลอ พล นิกร กิมหงวน และ เสือใบ-เสือดำ เช่นเดียว กับนิยายจักรๆ วงศ์ๆ ของ เสรี เปรมฤทัย อย่าง ขวานฟ้าหน้าดำ, ดาบเจ็ด สี มณีเจ็ดแสง, เจ้าชายดำรงฤทธิ์ ก็ถูก เทพา (สมบุญ สว่างจันทร์) และ พร ทิพย์ (พนัส สุวรรณะบุณย์) นำไปวาดเป็นการ์ตูนเช่นกัน

ปี 1954

  • หอพักโตกิวะ ที่ โอซามุ เทตซึกะ เคยใช้เป็นบ้านและที่ทำงานในโตเกียว กลายเป็นที่แสวงบุญของคนหนุ่มที่อยากเป็นนักเขียนการ์ตูนทั้ง ฮิโรชิ ฟูจิโม โต กับ โมโต อาบิโกะ (โดราเอมอน), โชทาโร อิชิโมริ (ไอ้มดแดง) , จิโร ทซึโนดะ (ภพอสูร) , ฟูจิโอะ อาคัตซูกะ, โมโต อาบิโกะ, ชินอิจิ ซูสุกิ, ฮิโร โอะ เทราดะ และ นาโอยะ โมริยาสุ
  • ยอดขายการ์ตูนในอเมริกาตกต่ำที่สุดเท่าที่เคยมีมา หลังจิตแพทย์ Fredric Wertham เขียนหนังสือ Seduction of the Innocent โจมตี หนังสือการ์ตูนว่าเป็น “สื่ออันตราย” ที่มอมเมาเยาวชนให้หลงผิด โดย นอกจากภาพความรุนแรง, เซ็กซ์ และยาเสพติด ในการ์ตูนแนว อาชญากรรม คาวบอย และสยองขวัญแล้ว การ์ตูนซูเปอร์ฮีโร่ก็พลอยติด ร่างแหไปด้วยข้อหาที่ Batman กับ Robin ใกล้ชิดกันจนมีแนวโน้มว่าเป็น เกย์ ส่วน Wonder Woman ก็เป็นเลสเบี้ยน ฯลฯ จนทำให้สมาคม นิตยสารการ์ตูนแห่งอเมริกา ต้องตั้ง Comics Code Authority (CCA) ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่กรั่นกรองเนื้อหาในหนังสือการ์ตูน โดยเรื่องที่ผ่านการ ตรวจสอบแล้วจะได้ตรา CCA ที่มีลักษณะคล้ายแสตมป์ไปประทับตรงมุม ปกซ้ายของหน้าปก ซึ่งนั่นก็ทำให้การ์ตูนสยองขวัญและอาชญากรรมหลาย เล่มของ EC Comics ต้องปิดตัวลงโดยปริยาย เพราะแผงหนังสือและ สายส่งไม่กล้าขายหนังสือที่ไม่มีตรา CCA

ปี 1955

  • ตุ๊กตา (พิมน กาฬสีห์) ผลิตนิตยสารการ์ตูนเด็กเล่มแรกของเมืองไทยใน ชื่อเดียวกับนามปากกาของตัวเองคือ “ตุ๊กตา” ซึ่งภายในเล่มประกอบด้วย การ์ตูนเรื่องยาว (ห้องสีชมพู) การ์ตูนสั้นจบในเล่ม เกร็ดความรู้ คอลัมน์ ตอบปัญหาชิงรางวัล ตอบจดหมาย โดยตุ๊กตาได้แรงบันดาลใจในการสร้าง ตัวการ์ตูนประจำเล่ม เป็นเด็กสาว 4 พี่น้อง หนูนิด หนูไก่ หนูหน่อย หนูแจ๋ว มาจากลูกสาวของตัวเอง และการ์ตูน Little Lilu -“แทน” เขียนนิยายภาพที่อิงจากนิยายดังทั้ง จ้าวทุ่ง ของบรรเลง และ ล่องไพร ของน้อย อินทนนท์
  • นิตยสารการ์ตูนสำหรับเด็กผู้หญิง Ribon กับ Nakayoshi เริ่มวาง จำหน่ายเป็นรายเดือน

ปี 1956

  • Julius Schwartz บรรณาธิการของ DC Comics ตัดสินใจนำ The Flash (ที่หยุดตีพิมพ์ไปแล้ว) กลับมาด้วยรูปโฉมใหม่ที่ทันสมัยปราดเปรียว ขึ้นกว่าเดิม ก่อนจะลงมือยกเครื่อง Green Lantern และซูเปอร์ฮีโร่อีก หลายคนของ DC Comics ให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง หลังเผชิญกับ วิกฤติต่อต้านการ์ตูน จนเหลือการ์ตูนซูเปอร์ฮีโร่ที่ยังคงวางแผงอย่างต่อ เนื่องทุกเดือนเพียง 3 เรื่องเท่านั้นคือ Superman, Batman และ Wonder Woman
  • สำนักพิมพ์บางกอก ผลิตการ์ตูนที่เขียนเรื่องขึ้นมาใหม่เอง โดยไม่ได้อิง จากวรรณคดีหรือนิยายดังเรื่องไหน แต่ไปได้แรงบันดาลใจจากตัวการ์ตูน ของต่างชาติแทน เช่น “จอมอภินิหาร” ของ หลังฉาก (ชุมพร แก้วสาร) ที่อิง จาก Captain Marvel และ “หนูเล็ก ลุงโกร่ง” ของ ดิเรก (อดิเรก อริย มงคล) ที่อิงจาก มิคส์กี้เมาส์กับกูฟฟี่ จนมีคนวาดเลียนแบบต่อเป็น “อัศวิน สายฟ้า” ของ พ.บางพลี (ที่อิงจาก Captain Marvel เหมือนกัน) และ “หนู ป้อม ลุงเป๋อ” ของปรีชา ชวนเสถียร
  • โยชิฮิโร เทตซูมิ และเพื่อนเปิดนิตยสาร Kage มาเจาะตลาดร้านเช่า การ์ตูนในโอซาก้า ที่เรียกว่า “คาชิบอนยะ” (ซึ่งเป็นความบันเทิงราคาถูก สำหรับเด็กที่ไม่มีเงินซื้อการ์ตูน) โดยทิ้งสไตล์ลายเส้นสะอาด สดใส ที่ กำลังได้รับความนิยมในขณะนั้น มาเน้นความสมจริงและเนื้อหาสะท้อน สังคม เพื่อขายคนอ่านที่เป็นผู้ใหญ่ โดยเรียกงานของตัวเองว่า “เกคิก ะ” (ภาพวิจิตร) โดยมีแนวร่วมทั้งเทซูเกะ ทาดาโอะ, เทซูเกะ โยชิฮารุ, ทา คาฮาชิ ชินจิ, ไซโต ทาคาโอ, ยามาโมริ ซูซูมู และ อิวาอิ ชิเกะ
  • โยโกยามะ มิตซูเทริ เขียน หุ่นเหล็กหมายเลข 28 (Tetsujin 28) เป็น การ์ตูนหุ่นยนตร์ยักษ์เรื่องแรกของญี่ปุ่น

ปี 1957

  • คณะภราดาเซนต์คาเบรียล พิมพ์นิตยสาร “วีรธรรม รายสัปดาห์” มาให้ เด็กนักเรียนมัธยมในกรุงเทพอ่าน และคัดการ์ตูนดังๆ มาลงทั้ง Flash Gordon, Tin Tin โดยยังคงคำพูดภาษาอังกฤษเอาไว้ แต่มีคำแปลภาษา ไทยวางให้อ่านประกอบนอกกรอบ และต่อมาโรงเรียนดอนบอสโกก็พิมพ์ นิตยสารแบบเดียวกันในชื่อ “กองหน้าร่าเริง”
  • อภิรมย์ เขียนการ์ตูน วิทยาศาสตร์-มหัศจรรย์ สามตอนจบคือ พิภพ มหัศจรรย, มนุษย์ถ้ำ และ รากษสใต้บาดาล เมื่อยานอวกาศของนักวิยา ศาสตร์ไทยได้รับผลกระทบจากกระแสคอสมิคจากดาวหาง จนต้องร่อนลง จอดฉุกเฉินบนดาวลึกลับดวงหนึ่ง

ปี 1958

  • จุกเบี้ยวสกุล (จุลศักดิ์ อมรเวช) เขียน “ เจ้าชายผมทอง” เป็นเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ แต่อิงบุคลิกพระเอกจาก Flash Gordon ให้ สำนักพิมพ์แพร่อักษร ต่อด้วย “มังกรสามหัว” และ “อัศวินดาบดำ”
  • ราชเลอสรวง (นิวัฒน์ ธาราพรรค์) กับพี่ชาย ราชันย์ (ไฉน ธาราพรรค์) เขียน “สิงห์ดำ” และ “จิ้งจอกล่องหน” โดยได้รับอิทธิพลจากหนังญี่ปุ่น ทำให้ดาบของพระเอกเป็นดาบซามูไร ไม่ใช่ดาบไทยแบบจักรๆ วงศ์ๆ
  • เสวก ว่องกสิกร ทำ “ท้อป ป๊อป การ์ตูน” มีการ์ตูนของ ราช เลอสรวง, จุก เบี้ยวสกุล และราชันย์ในนามปากกา “ประคำ” ซึ่งเนื้อเรื่องเป็นแนว กำลังภายใน แต่ฉากและตัวละครออกไปทางการ์ตูนญี่ปุ่น

ปี 1959

  • เพราะการ์ตูนของ โอซามุ เทซึกะ ขายดีมาก พิมพ์ออกมาเท่าไหร่ก็ไม่พอ ขาย ทำให้สำนักพิมพ์ใหญ่อย่าง โคดันชะ ตัดสินใจก้าวเข้าสู่ธุรกิจการ์ตูน ด้วยการเปิดตัวนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ Shonen Magazine และ Shonen Sunday
  • การ์ตูนนินจาอิงประวัติศาสตร์สมัยศตวรรษที่ 16 เรื่อง นินจาคาเงะมารู (Ninja Bugeicho) ของ เซนไป ชิราโต และ การ์ตูนแฟนตาซีสยองขวัญ สะท้อนตำนานพื้นบ้านเก่าแก่เรื่อง ผีน้อยคีตาโร่ (GeGeGe no Kitaro) ของ ชิเกรุ มิซูกิ ต่างได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดร้านการ์ตูนเช่า (คาชิ บอนยะ) แถบโอซาก้า
  • สำนักพิมพ์บรรลือสาสน์ ผลิตนิตยสารการ์ตูนเด็ก “หนูจ๋า” ของ จุ๋มจิ๋ม (จำนูญ เล็กสมทิศ) มาแข่งกับ “ตุ๊กตา” ด้วยรูปแบบการนำเสนอคล้ายๆ กัน คือมีทั้งการ์ตูนเรื่องยาว และการ์ตูนสั้นจบในเล่ม ส่วนตัวละครประจำเล่มก็ เป็นแก๊งเด็กชื่อ หนูอ้อย หนูอ้อม หนูตุ้ม หนูจุ๋ม แต่วางจำหน่ายถี่กว่าคือ เดือนละ 2 เล่ม
  • อาวัฒน์ (วัฒนา เพ็ชร์สุวรรณ) เขียนนิตยสาร “การ์ตูนหรรษา” ให้ สำนักพิมพ์บางกอก ด้วยรูปแบบคล้ายกับตุ๊กตา และ หนูจ๋า โดยมีดารา ชูโรงคือ หนูปุ๊ หนูเปีย หูแกละ หนูจุก หนูแป้น แต่หลังจากนี้อีก 2 ปี อา วัฒน์ก็ย้ายตัวการ์ตูนเหล่านี้ไปลงในนิตยสาร “เบบี้” ของสำนักพิมพ์บันลือ สาส์น พร้อมเพิ่มตัวละครใหม่คือ หนูป้อม หนูเป้า ลุงเหน่ง กบ อาวัฒน์ เข้าไปแทน
  • Rene Goscinny และ Albert Uderzo เขียนการ์ตูน The Adventures of Asterix ลงในนิตยสาร Pilote แล้วประสบความสำเร็จ เป็นหนึ่งในการ์ตูนฝรั่งเศสที่รู้จักกันทั่วโลก

ปี 1961

  • Stan Lee ที่เป็นบรรณาธิการของ Marvel Comics ร่วมกับนักวาด Jack Kirby สร้างสรรค์ซูเปอร์ฮีโรแนวใหม่ ที่ไม่ได้เป็นบุคคลในอุดมคติผู้ สมบูรณ์พร้อมดังเช่นในอดีต แต่เป็นปุถุชนที่มีรัก โลภ โกรธ หลง และ ปัญหาชีวิตไม่ต่างกับคนทั่วไป โดยเริ่มจากครอบครัวสี่กายสิทธิ์ Fantastic Four แล้วประสบความสำเร็จ จนมีไอ้ยักษ์เขียว The Hulk, ไอ้แมงมุม Spider-Man, คนเกราะเหล็ก Iron Man, ทีมมนุษย์ผ่าเหล่า X-Men, Daredevil ฯลฯ ตามมาอีกเป็นสิบเป็นร้อยตัว กระทั่งจักรวาลซูเปอร์ฮีโร่ ของ Marvel Comics ขยายใหญ่พอที่จะเป็นคู่แข่งกับต้นตำรับอย่าง DC Comics ได้แล้ว
  • โอซามุ ทซึกะ เปิดบริษัทผลิตแอนิเมชั่นของตัวเองในชื่อ Mushi Productions

ปี 1963

  • เจ้าหนูปรมาณู ถูกสร้างเป็นเป็นแอนิเมชั่นทีวีเรื่องแรกของญี่ปุ่น
  • เปิดตัวนิตยสารการ์ตูน Magaret สำหรับเด็กหญิง และ Shonen King สำหรับเด็กชาย

ปี 1964

  • ประเทศญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค
  • นางาอิ คัตซูอิจิ เปิดตัวนิตยสารการ์ตูนทางเลือก Garo ที่ได้การ์ตูนนินจา เรื่องใหม่ของ เซนไป ชิราโต คือ คามุยยอดนินจา (Legend of Kamui) มาลงปกเป็นเรื่องฮิตเป็นประจำเล่ม
  • โชตาโร อิชิโมริ เขียนการ์ตูนผจญภัยไซไฟของทีมมนุษย์ครึ่งจักรกล Cyborg 009

ปี 1965

  • โอซามุ เทซึกะ สร้าง สิงห์น้อยจ้าวป่า เป็นแอนิเมชั่นทีวีสี่สีเรื่องแรกของ ญี่ปุ่น -อู ชิดะ มาซารุ หัวหน้าบรรณาธิการของ Shonen Magazine ชวนนัก วาดการ์ตูนเกคิงะ มาร่วมงานด้วยหลายคน เพราะหวังจะขยายฐานคนอ่าน

ปี 1966

  • Marvel Comics สร้างซูเปอร์ฮีโร่ผิวสีคนแรกในนาม Black Panther ขึ้นมาใน Fantastic Four#52 ก่อนจะตามมาด้วย The Falcon กับ Luke Cage ขณะที่ฝั่ง DC ก็มี Black Lighning
  • การ์ตูนเจ้าหนูเบสบอล Star of the Giants ของ อิคคิ คาจิวาระ และโน โบรุ คาวาซากิ ได้รับความนิยมอย่างสูง จนเปิดตลาดให้การ์ตูนกีฬาเรื่อง ต่อๆ มา
  • นิตยสาร Shonen Magazine ทำยอดขายได้หนึ่งล้านเล่ม

ปี 1967

  • Monkey Punch เขียนการ์ตูน จอมโจรลูแปง (Lupin III) โดยมั่วว่า ตัวเอกเป็นหลานของจอมโจร Arsene Lupin ชื่อดังแห่งฝรั่งเศส
  • โอซามุ เทซึกะ เริ่มต้นเขียนมหากาพย์ ฮิโรโทริ วิหคเพลิง (Phoenix) ที่ ตีแผ่สันดานมนุษย์ตั้งแต่ยุคหินยันโลกอนาคตลงในนิตยสาร COM ของตัว เอง
  • การ์ตูนไทยที่อิงจากนิทานพื้นบ้าน จักรๆ วงศ์ๆ เริ่มถูกผู้ปกครองมองว่า เป็นการ์ตูนพูนพิษแก่เด็กและเยาวชน เตรียม ชาชุมพร จึงทำการ์ตูนใน นิตยสาร “ชัยพฤกษ์การ์ตูน” ของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ออกมาใน แนวทางสร้างสรรค์ จนเป็นนิตยสารการ์ตูนเพียงเล่มเดียวที่ได้รับอภิสิทธิ์ให้ อ่านในโรงเรียนได้
  • ไพบูลย์ วงศรี นำนิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่นมาก๊อปปี้ลายเส้น เพื่อผลิต นิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่นภาษาไทยเล่มแรกในชื่อ “การ์ตูนเด็ก”
  • วาทิน ปิ่นเฉลียว หรือ ลุงต่วย นำการ์ตูนที่เคยเขียนลง ชาวกรุง มารวม เล่มในชื่อ “รวมการ์ตูนต่วย” ก่อนจะมีเรื่องจากนักเขียนมาเพิ่มเป็น “รวม การ์ตูนต่วยและเรื่องขำขันจากชาวกรุง” และสุดท้ายก็ตัดชื่อให้สั้นลงเหลือ เพียง “ต่วย’ ตูน” อย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน

ปี 1968

  • การ์ตูนใต้ดิน ที่เรียกว่า comix เริ่มกลายเป็นกระแสในอเมริกา เมื่อ Robert Crumb พิมพ์นิตยสาร Zap Comix มาวางขายในซานฟราสซิส โก พร้อมคำเตือนว่า “สำหรับผู้บรรลุนิติภาวะที่เป็นปัญญาชนเท่านั้น”
  • เปิดตัวนิตยสาร Shonen Jump และ Big Comics รายสัปดาห์
  • เทตซูยะ ชิบะ และ อาซาโอ ทาคาโมริ ร่วมกันเขียนการ์ตูนนักมวย ใจเพชร โจ สิงห์สังเวียน (Tomrrow’s Joe)
  • บรรลือสาส์นเปิดนิตยสารเล่มที่ 3 “รวมรสสำราญ” ต่อจาก หนูจ๋า และ เบบี้ โดยเน้นลงนิยายภาพเล่มละ 3 เรื่อง มี ปิยะดา (ประเวส สุขสมจริต) เป็นคนวาดหลัก ก่อนจะเปิดเล่มที่ 4 คือ “คุณหนูเด็กดี” โดย พ.บางพลี และทายาท

ปี 1969

ทาคาโอ ไซโต เขียนการ์ตูนนักฆ่า เกลโก 13 (Golgo 13) โดยอิงสไตล์ จาก เจมส์บอนด์ แต่เสริมจิตวิญาณซามูไรลงไป

ปี 1970

Garry Trudeau เขียนการ์ตูนช่อง Doonesbury ลงในหนังสือพิมพ์ราย วัน โดยนอกจากเนื้อหาเสียดสีสังคมและการเมืองแล้ว ตัวละครในเรื่องยัง มีอายุมากขึ้นตามวันเวลาจริง และเป็นการ์ตูนเรื่องแรกที่ได้รางวัล Pulitzer สาขา Editorial Cartooning ในอีกห้าปีถัดมา

  • นิยาย ยอดคนแดนเถื่อน Conan the Barbarian ของ Robert E. Howard ถูก Roy Thomas และ Barry Windsor-Smith ดัดแปลงเป็น หนังสือการ์ตูนให้กับ Marvel Comics แล้วขายดีมาก จนมีการต่อยอด เป็นเวอร์ชั่นขาวดำ ที่เนื้อหารุนแรงขึ้นในชื่อ Savage Sword of Conan
  • Jack Kirby ย้ายจาก Marvel มาทำงานให้ DC Comics แล้วสร้าง เรื่องชุด The Forth World มาลงในหนังสือการ์ตูนหลายเล่ม รวมทั้งเล่มที่ เปิดใหม่อย่าง New Gods, Mister Miracle, The Forever People แต่ สุดท้ายก็เขียนไม่จบ เพราะหนังสือขายไม่ดี จนถูกสั่งปิดก่อน แต่ตัวละคร หลายตัวใน The Forth World ก็ยังอยู่ในจักรวาลของ DC จนถึงปัจจุบัน
  • Mike Friedrich พิมพ์นิตยสารรวมการ์ตูนไซไฟแฟนตาซี Star Reach ออกมาขายคนอ่านที่เป็นผู้ใหญ่แบบเดียวกับการ์ตูนใต้ดินหรือ comix แต่ ปรากฏว่าขายดีไม่แพ้การ์ตูนกระแสหลักของ Marvel/ DC Comics
  • สำนักพิมพ์โคดันชะจัดพิธีศพให้ โทรุ ริคิชิ ตัวละครใน โจ สิงห์สังเวียน ที่ ฝืนลดน้ำหนักมาขึ้นชกกับโจจนตายคาเวที
  • ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ (ฮิโรชิ ฟูจิโมโต) เปิดตัวหุ่นยนต์จากศตวรรษที่ 22 Doraemon ในนิตยสารการ์ตูนเด็กพร้อมกัน 6 เล่ม ก่อนจะถูกสร้างเป็นอะ นิเมชั่นยอดนิยมตลอดกาล
  • ซามูไรพ่อลูกอ่อน (Lone Wolf and Cub) ของ คาซูโอะ โคอิเกะ และ โกเซกิ โคจิมะ ตีพิมพ์ในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ Manga Action แล้ว ทำยอดขายจากฉบับรวมเล่มไปกว่า 5 ล้านเล่ม

ปี1971

  • Marvel Comics พิมพ์หนังสือการ์ตูน The Amazing Spider- Man#96-98 ที่สไปเดอร์แมนต้องไปข้องเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดออกมา ขาย โดยไม่ได้รับตราสัญลักษณ์รับรองจาก Comics Code Authority (CCA) แล้วขายดีมาก จน CCA ต้องกลับไปทบทวนกฎระเบียบของตัวเอง ใหม่ ขณะที่ DC Comics ก็เขียนเรื่องให้ Speedy ผู้ช่วยของ Green Arrow กลายเป็นเด็กติดเฮโรอีนใน Green Lantern/Green Arrow#85
  • โชตาโร อิชิโมริ สร้างสรรค์ ไอ้มดแดง (Kamen Rider)ให้โตเอะโปรดักชั่นสร้างเป็นทีวีซีรีส์พร้อมๆ กับเขียนเป็นหนังสือการ์ตูนออกมา

ปี 1972

  • การ์ตูนญี่ปุ่นเริ่มมีโทนที่รุนแรงและจริงจังขึ้น จากงานอย่าง หุ่นยนต์ยักษ์ Mazinger Z หรือ ค้างคาวกายสิทธิ์ Devilman ของ โก นางาอิ และ ฝ่า มิตินรก (Drifting Classroom) ของ คาซูโอะ อูเมซุ -ผู้ชำนาญการเขียน การ์ตูนสยองขวัญสั่นประสาท ด้วยลายเส้นชดช้อยแบบการ์ตูนตาหวาน สำหรับเด็กผู้หญิง
  • ริโยโกะ อีเคดะ เขียน กุหลาบแวร์ซายส์ (Rose of Versailles) โดยใช้ ฉากหลังเป็นประเทศฝรั่งเศสสมัยพระนางมารีอังตัวเนต แล้วขายดีมาก อีก ทั้งยังถูกดัดแปลงเป็นละครเพลง อะนิเมะ หนัง และบัลเลต์

ปี 1973

  • Marvel Comics ช็อคคนอ่าน ด้วยการเขียนเรื่องให้ Gwen Stacy คน รักของ Peter Parker หรือ Spider-Man ถูกวายร้าย The Green Goblin ฆ่าตายใน The Amazing Spider-Man#122
  • โอซามุ เทซึกะ นำความรู้ทางการแพทย์ที่เรียนมาเขียน แบล็คแจ็ค หมอ ปีศาจ (Black Jack )
  • เคอิจิ นากาซาวะ นำประสบการณ์วัยเด็กที่โตมาหลังเหตุการณ์ทิ้งระเบิด ปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา มาเขียนเป็นการ์ตูน เก็น เจ้าหนูสู้ชีวิต (Barefoot Gen)
  • เปิดตัวนิตยสารรายเดือน Manga Erotopia ที่เน้นการ์ตูนเกคิกะแนวอิ โรติก

ปี 1974

  • Reiji Matsumoto กำกับและออกแบบอนิเมะไซไฟ เรือรบยามาโต้ (Space Cruiser Yamato) พร้อมกับเขียนเป็นหนังสือการ์ตูน ที่ทำเงิน มหาศาลให้กับสำนักพิมพ์และบริษัทผลิตของเล่น
  • ประเทศญี่ปุ่นมีนิตยสารการ์ตูนรวมแล้วกว่า 75 หัว คิดเป็นเงินไหลเวียน ราว 20 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน
  • The Punisher และ Wolverine ปรากฏตัวครั้งแรกในฐานะตัวประกอบ ในการ์ตูน Amazing Spider-Man และ The Incredible Hulk ตาม ลำดับ แต่บุคลิกแอนตี้ฮีโร่ของทั้งคู่ก็ถูกใจคนอ่าน จนได้แยกออกมามี หนังสือการ์ตูนของตัวเอง

ปี 1975

  • Art Spiegelman และ Bill Griffith ออกนิตยสารการ์ตูนไซส์ แมกกาซีน Arcade: The Comics Revue ในช่วงยุคปลายของการ์ตูน ใต้ดินในอเมริกา
  • Marvel Comics นำ X-Men ที่หยุดตีพิมพ์ไปแล้ว กลับมาอีกครั้งใน Giant-Size X-Men#1 พร้อมยกเครื่องใหม่เป็นทีมนานาชาติ
  • เคียวโกะ มิซูกิ และ ยูมิโกะ อิการาชิ เขียน แคนดี้จอมแก่น (Candy Candy) ลงใน Nakayoshi
  • บรรลือสาส์นเปิดนิตยสารการ์ตูนตลก “ขายหัวเราะ” ที่พาดมุปกว่า “สำหรับผู้ใหญ่” เพราะมีมุขตลกสัปดน แซมอยู่บ้าง โดยมีนักเขียนประจำทั้ง จุ๋มจิ๋ม, วัฒนา, ตาโต, ปิยะดา, ทวี วิษณุกร, พ.บางพลี, พล, พลังกร และ ต่อมาก็เปิด “การ์ตูนมหาสนุก” ที่มีทั้งการ์ตูนสั้นจบในเล่ม การ์ตูนช่อง นิทาน สารคดีท่องเที่ยว เกร็ดความรู้

ปี 1976

  • Moebius (Jean Giraud) เขียนและวาด The Airtight Garage และ Arzach ลงในนิตยสารการ์ตูนไซไฟแฟนตาซี Metal Hurlant ของ ฝรั่งเศส
  • ซูเปอร์ฮีโร่ของ Marvel และ DC Comics ข้ามจักรวาลมาเจอกันเป็น ครั้งแรกใน Superman VS The Amazing Spider-Man
  • Reiji Matsumoto เขียนการ์ตูน กาแล็คซี่เอ็กซ์เพรส 999 (Galaxy Express 999) และกัปตันฮาร์ล็อค (Captain Harlock) ซึ่งเป็นเรื่องราว ที่เกิดขึ้นในจักรวาลเดียวกัน (ที่คนอ่านเรียกว่า Leijiverse) และยังแตก แขยงเป็นเรื่องสั้นอื่นๆ อีกเช่น Queen Emeraldas และ Queen Millennia
  • สุซูอิ มิอูจิ เขียน หน้ากากแก้ว (Mask of Glass)ที่เล่าเรื่องราวการ แข่งขันชิงดีชิงเด่นในวงการละครได้ถูกใจคนอ่าน จนเป็นการ์ตูนผู้หญิงที่ ขายดีที่สุดตลอดกาลอันดับ 2 ของญี่ปุ่น (50 ล้านเล่ม)
  • The Poem of the Wind and the Tree ของ เคอิโกะ ทาเคมิยะ ที่ เล่าเรื่องราวในโรงเรียนประจำชายล้วนในฝรั่งเศสปี 1880 เปิดกระแส การ์ตูนแนว “ชายรักชาย”
  • “การ์ตูนเล่มละบาท” ที่ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ เริ่มขายดี จนสำนักพิมพ์ บางกอกสาส์นตัดสินใจก้าวสู่ตลาดนี้ โดยให้ ชายชล ชีวิน (อุดร ปาลเกิด) เป็นคนดูแล พร้อมเพิ่มหน้าจาก 16 หน้าเป็น 24 หน้า จนขายดีทะลุเป้า ทำให้เกิดกระแสการ์ตูนเล่มละบาทจากหลากหลายสำนักพิมพ์มาวางขาย บนแผงหนังสือเดือนละเป็นล้านเล่ม

ปี 1977

  • สำนักพิมพ์ IPC Magazines ของอังกฤษ ผลิตนิตยสารการ์ตูนไซไฟราย สัปดาห์ 2000 AD ขึ้นมารับกระแสบูม ของภาพยนตร์แนวไซไฟ โดย นอกจากจะสร้างตัวการ์ตูนอย่าง Judge Dredd เจ้าของประโยค “I am the Law” ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกแล้ว ที่นี่ยังเป็นสนามเพาะชำนักเขียนและ นักวาดเลือดอังกฤษ ที่จะไปโด่งดังต่อในตลาดการ์ตูนอเมริกัน (ที่เรียกว่า Brit Wave) ทั้ง Alan Moore (Watchmen) Neil Gaiman (Sandman) Grant Morrison (Animal Man) Brian Bolland (Batman: The Killing Joke) และ Bryan Talbot (Hellblazer)
  • Dave Sim เขียนการ์ตูนแคนาดา Cerebus ขึ้นมาล้อเลียน Conan และ Howard the Duck ก่อนที่โทนเรื่องจะค่อยๆ เปลี่ยนจากการฟันดาบ และเวทมนต์คาถา เป็นเรื่องการเมืองและศาสนา จนกลายเป็นการ์ตูนอิสระ ที่ขายดีกว่า 36,000 เล่ม
  • จิอิโกะ โฮโซคาวะ เขียนการ์ตูนรักข้ามมิติเวลา คำสาปฟาโรห์ (Pharaoh’s Seal) ลงใน Princess
  • Kindai Mahjong Original เป็นนิตยสารการ์ตูนไพ่นกกระจอกเล่มแรก ในญี่ปุ่น
  • ราช เลอสรวงเปิดนิตยสาร “นิยายภาพ” ให้จินดาสาส์น โดยมีนักเขียน ทั้ง จุก เบี้ยวสกุล, สกนธ์ แพทยกุล, ทอง ทวีพร, อำพล เจน, วสันต์ เชิงชัย ที่ล้วนต้องการสร้างมาตรฐานใหม่ด้านภาพและเนื้อหา ให้ผู้ใหญ่หรือเด็กโต อ่าน ด้วยการนำเรื่องสั้นดีๆ หรือที่ได้รับรางวัลมาเป็นวัตถุดิบ แต่ไม่นานก็ ต้องปิดตัวลงเพราะยอดขายไม่เข้าเป้า

ปี 1978

  • Will Eisner นำคำว่า “นิยายภาพ” (graphic novel) มาวางบนปก หนังสือ A Contract with God, and Other Tenement Stories ของ ตัวเอง เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของมันจากการ์ตูนทั่วไป ที่โยงเรื่อง ราวสั้นๆ 4 เรื่องในชุมชนชาวยิวของนิวยอร์คเข้าเป็นเรื่องเดียวกัน
  • Jim Davis เขียนการ์ตูนช่อง Garfield ลงในหนังสือพิมพ์ แล้วในระยะ เวลาเพียงสามปี เจ้าแมวเจ้าเล่ห์ตัวนี้ก็ได้ไปซ่าในหนังสือพิมพ์ 850 ฉบับ และทำเงินจากธุรกิจมาร์ชานไดส์ไปราว 15 ล้านเหรียญ
  • เปิดตัว June นิตยสารการ์ตูนที่เน้นเรื่องราวแนว “ชายรักชาย” เล่มแรก ของญี่ปุ่น
  • รูมิโกะ ทาคาฮาชิ เขียน ลามู ทรามวัยต่างดาว (Urusei Yatsura) ลง ใน Shonen Sunday ส่วน บูอิจิ เทราซาว่า เขียน คอบรา เห่าไฟสายฟ้า (cobra) ลงใน Shonen Jump
  • เก็น เจ้าหนูสู้ชีวิต ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อวางจำหน่ายใน สหรัฐอเมริกา
  • ชัย ราชวัตร (สมชัย กตัญญุตานันท์) เขียนการ์ตูนชุด “ผู้ใหญ่มากับทุ่ง หมาเมิน” ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ แล้วย้ายมาลงในไทยรัฐในปีถัดมา
  • จุก เบี้ยวสกุล นำนิยาย เพชรพระอุมาของ พนมเทียน มาเขียนเป็น การ์ตูน

ปี 1979

  • Frank Miller นำแรงบันดาลใจจากหนังและการ์ตูนซามูไรญี่ปุ่น กับ นิยายอาชญากรรม มาเปลี่ยนโฉมหน้าการ์ตูน Daredevil ของ Marvel Comics ให้มืดทึมและจริงจังขึ้น พร้อมกับสร้างตัวละครใหม่อย่าง สมาคม นินจานักฆ่า The Hand และนินจาสาว Elektra ลงไป จนเป็นที่นิยมของ คนอ่านอย่างรวดเร็ว
  • Chris Donald พิมพ์นิตยสารการ์ตูน Viz ที่อุดมด้วยเดอร์ตี้โจ๊ก ตลก ร้ายหรือมุขตลกใต้สะดือ มาขายผู้ใหญ่ในประเทศอังกฤษ
  • เปิดตัวนิตยสารรายสัปดาห์ Young Jump มาเจาะตลาดเด็กโต
  • การ์ตูนญี่ปุ่นถูกแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสในนิตยสาร Le Cri Qui Tue

ปี 1980

  • Enki Bilal เขียนการ์ตูนไซไฟภาษาฝรั่งเศส The Carnival of Immortals (มหกรรมอมตะ) ซึ่งเป็นตอนแรกในไตรภาค The Nikopol Trilogy
  • นิตยสารการ์ตูนเด็กผู้ชายรายสัปดาห์ 5 เล่มที่ได้รับความนิยมสูงสุดใน ญี่ปุ่น ทำยอดขายทะลุ 10 ล้านฉบับ

ปี 1981

  • อาดาจิ มิตซึรุ เขียน ทัช (Touch) ลงใน Shonen Shonen และทำให้ เรื่องราวแนว นักกีฬาสะดุดรัก กลายเป็นลายเซ็นประจำตัวของขา

ปี 1982

  • Alan Moore เขียน V for Vendetta มาตอบโต้บรรยากาศการเมือง ของอังกฤษในยุคขวาจัดของประธานาธิบดีมาร์การ์เรต แธชเชอร์ ด้วยการ ให้ชายลึกลับสวมหน้ากาก กาย ฟอว์คส์ มาปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลแห่ง อนาคต ที่ชาตินิยมสุดโต่ง
  • Raymond Briggs เขียน When the Wind Blows ที่เล่าเหตุการณ์ สมมุติ หากสหภาพโซเวียตยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ใส่ประเทศอังกฤษ ผ่าน สายตาของคู่สามีภรรยาชราคู่หนึ่ง
  • คัตซูฮิโร โอโตโมะ นำไอเดียเรื่องโครงการลับของรัฐบาล ผู้มีพลังจิต เหนือมนุษย์ แก๊งซิ่งวัยรุ่ย และกรุงนีโอโตเกียวปี 2019 ที่เต็มไปด้วยแหล่ง เสื่อมโทรมาเขียนเป็นการ์ตูนไซไฟ Akira ลงใน Young Magazine
  • ฮายาโอะ มิยาซากิ เขียนการ์ตูน Nausicaa of the Valley of the Wind ลงในนิตยสาร Animage ก่อนนำไปสร้างเป็นแอนิเมะที่สร้างชื่อให้ กับ Studio Ghibi
  • โยชิอิ ทาคาฮาชิ เขียน กัปตัน ซึบาสะ (Captain Tsubasa) ลงใน Shonen Jump
  • ราช เลอสรวง นำนิตยสาร “นิยายภาพ” กลับมาออกใหม่อีกครั้ง โดยให้ อำพล เจน เป็นผู้จัดทำ พร้อมพาดหัวว่า “นี่คือบุคลิกใหม่แกะกล่องของ หนังสือราคา 10 บ” ซึ่งนอกจากนิยายภาพจากเรื่องชั้นดีอย่าง “เขียดขา คำ” ของ ผดุง ศักดิ์ศรี ที่อิงจากเรื่องสั้นของ ลาวคำหอม แล้วยังมี คอลัมน์ “อาจินต์ ปัญจพรรค์ รำพึง” และ “ศาสตร์และศิลป์ของนิยายภาพ”

ปี 1983

  • ฤทธิ์หมัดดาวเหนือ (Fist of the North Star) ของ ฮาระ เทซูโอะ และ บูรอนซอน ลงตีพิมพ์ใน Shonen Jump โดยได้แรงบันดาลใจของเครื่อง แต่งกายและฉากหลังของโลกที่ล่มสลายจากหนังชุด Mad Max

ปี 1984

  • Kevin Eastman กับ Peter Laird เขียนการ์ตูนขาวดำ Teenage Mutant Ninja Turtle (ขบวนการมุดดินนินจาเต่า) มาพิมพ์ขายด้วยเงิน ของตัวเองจำนวน 3,000 เล่ม และประสบควมสำเร็จ ถึงขนาดถูกสร้างเป็น อะนิเมชั่นและภาพยนตร์ในเวลาเพียงไม่กี่ปี
  • โทริยามะ อาริกะ เขียน Dragon Ball ลงใน Shonen Jump โดยได้แรง บันดาลใจจากหนัง ไอ้หนุ่มหมัดเมาของ เฉินหลง ผสมกับ ตำนานไซอิ๋วของ จีน ก่อนจะสร้างสถิติเป็นหนังสือการ์ตูนที่ขายดีที่สุดตลอดกาลของ Shonen Jump และประเทศญี่ปุ่น (150 ล้านเล่ม) จนถึงปัจจุบัน
  • ซูอิฮิโร่ มารุโอะ เขียน Mr.Arashi’s Freakshow เป็นการ์ตูนแนว อี โร-มังงะ ที่อุดมด้วยเซ็กซ์และความรุนแรงสำหรับนักอ่านวัยผู้ใหญ่ ด้วย สไตล์ลายเส้นแบบภาพพิมพ์ไม้ในศตวรรษที่ 19

ปี 1985

  • DC Comics ฉลองครบรอบ 50 ปี ด้วยการล้างจักรวาลการ์ตูนซูเปอร์ ฮีโร่ของ DC ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวแต่หนหลังและความสัมพันธ์ที่สลับซับ ซ้อนเกินไปแล้วสำหรับนักอ่านรุ่นใหม่ ในมินิซีรีส์ 12 ตอนจบชุด Crisis of the Infinite Earth ที่สร้างโลกคู่ขนานขึ้นมาหลายมิติ ก่อนจะทำลายทิ้งให้ เหลือเพียงมิติเดียว และกำจัดตัวละครบางตัวทิ้งไป
  • เทซูคาสา โฮโจ เขียน City Hunter ลงใน Shonen Jump
  • มาซามูเนะ ชิโร อดีตนักเขียนการ์ตูนสมัครเล่น พิมพ์เอง ขายเอง ที่เรียก ว่า “โดชินจิ” ได้เซ็นสัญญากับสำนักพิมพ์ในโอซาก้า แล้วสร้างโลกอนาคต แบบดิสโทเบียขึ้นมาใน Appleseed

ปี 1986

  • Alan Moore นำซูเปอร์ฮีโร่มายืนอยู่บนโลกใบเดียวกับคนอ่าน แล้ว ค่อยๆ ปอกเปลือกให้เห็นสภาพจิตใจของพวกเขาอย่างถึงแก่นในซีรีส์ 12 เล่มจบ เรื่อง Watchmen ของ DC Comics ที่โดดเด่นตรงการเล่นกับ เทคนิคของสื่อการ์ตูน ทั้งการใช้ข้อความที่ไม่สัมพันธ์กับภาพ การแบ่งกร อบซ้ำๆ การ์ตูนซ้อนการ์ตูน ฯลฯ จนเป็นหนังสือการ์ตูนเพียงเล่มเดียวที่ติด อันดับ 1 ใน 100 นวนิยายยอดเยี่ยมนับตั้งแต่ปี 1923 ของนิตยสาร Time
  • Frank Miller เขียนถึง Batman ในวัยชรา ผู้พบว่าเมืองกอธแธมและ โลกใบนี้ต่างไปจากอดีตมากในมินิซีรีส์ 4 เล่มจบชุด The Dark Knight Return ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนให้การ์ตูนซูเปอร์ฮีโร่อเมริกันเข้าสู่ยุคของ ความมืดหม่นกดดัน และ เข้มข้นจริงจัง คู่ไปกับ Watchmen ของ Alan Moore
  • Art Spiegelman นำประสบการณ์จริงของพ่อ ที่เป็นชาวยิวในโปแลนด์ ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มาเล่าผ่านตัวการ์ตูนที่เป็นหนูใน Maus: A Survivor’s Tale ที่หลังจากเขียนเล่ม 2 จบบริบูรณ์ในปี 1991 ก็เป็น การ์ตูนเรื่องแรกและเรื่องเดียวที่ได้รับรางวัลพิเศษจากคณะกรรมการ Pulitzer Prize
  • Tiziano Sclavi เขียนการ์ตูน Dylan Dog มาขายในอิตาลี โดยตัว ละครเอกที่เป็นนักสืบเอกชน ผู้ทำคดีเรื่องลึกลับเหนือธรรมชาตินั้นอิงโครง หน้าจาก Rupert Everett

ปี 1987

  • Harvey Pekar เขียนเล่าชีวิตประจำวันของตัวเองในคลีฟแลนด์ มาให้ Robert Crumb และนักวาดการ์ตูนหลายคนวาดออกมาเป็นหนังสือ การ์ตูนที่พิมพ์เอง ขายเองในชื่อ American Splendor
  • คาซูโอะ อูเมซู เขียนการ์ตูนสยองขวัญชุด Left Hand of God, Right Hand of Devil และไปเป็นกรรมการตัดสินรางวัล “คาซูโอะ อูเมซุ อ วอร์ด” ให้กับนิตยสารการ์ตูนสยองขวัญ เกคคัน ฮาโลวีน ที่ผู้ชนะในปีนั้น คือเรื่องสั้นสาวสยองไม่รู้จักตาย Tomie ของ จุนจิ อิโตะ ผู้บูชาคาซูโอะเป็น อาจารย์
  • คาซูโอะ โคอิเกะ และ เรียวอิจิ อิเคงามิ เขียน เพชณฆาตไร้น้ำตา (Crying Freeman) ลงใน Big Comics Spirits ขณะที่ซามูไรพ่อลูก อ่อนของโคอิเกะ ก็ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อวางจำหน่ายใน สหรัฐอเมริกา
  • ฮิโรฮิโกะ อารากิ เขียน โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ (Jojo’s Bizarre Adventure) ลงใน Shonen Jump และยังคงลงต่อเนื่องถึงปัจจุบัน จน เป็นการ์ตูนที่ยาวที่สุดเป็นอันดับ 2 ของ Shonen Jump

ปี 1988

  • เจสัน ทอดด์ หรือ Robin คนที่ 2 ผู้ช่วยของแบทแมน เสียชีวิตในเรื่องชุด A Death in the Family หลัง DC Comics เปิดให้คนอ่านโทรศัพท์เข้า มาโหวตเพื่อช่วยชีวิตแล้ว แต่คะแนนขาดไปเพียง 28 คะแนนเท่านั้น
  • การ์ตูน Akira ถูก Marvel Comics นำไปลงสีและแปลเป็นภาษา อังกฤษขายในอเมริกา
  • Shonen Jump ทำยอดขายทะลุ 5 ล้านเล่ม เพราะมีการ์ตูนฮิตทั้ง Dragon Ball, Saint Seiya, City Hunter, Captain Tsubasa, Orange Road, ฤทธิ์หมัดดาวเหนือ ฯลฯ

ปี 1989

  • Neil Gaiman เขียนถึงเทพเจ้าแห่งความฝัน และวงศ์วานของเหล่าผู้เป็น นิรันดร์ใน The Sandman ให้กับ DC Comics ด้วยความยาวถึง 75 ตอนจบ โดยตอน A Midsummer Night’s Dream นั้นเป็นการ์ตูนเรื่อง แรกและเรื่องเดียวที่ได้รับรางวัล The World Fantasy Award
  • Daniel Clowes เขียนหนังสือการ์ตูนทางเลือก Eightball ที่เต็มไปด้วย เรื่องสั้นแนวตลกร้าย
  • เทซึกะ โอซามุ เสียชีวิตเพราะโรคมะเร็ง ด้วยวัย 61 ปี
  • คาจิ คาวากูจิเขียนการ์ตูนแนวทริลเลอร์การเมือง ยุทธการใต้สมุทร (The Silent Service) เมื่อกองกำลังป้องกันตัวเองของญี่ปุ่นจับมือกับทัพนาวี สหรัฐ แอบสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นมาในช่วงสงครามเย็น
  • มาซามูเนะ ชิโร เขียน Ghost in the Shell มาเล่าเรื่องราวของตำรวจ ปราบอาชญากรแห่งโลกอนาคต ที่เส้นแบ่งระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรบาง ลงทุกวันๆ
  • Akira ได้รับการตีพิมพ์ขายในประเทศแถบยุโรป

ปี 1990

  • Marvel Comics เปิดหนังสือการ์ตูนไอ้แมงมุมเล่มใหม่ในชื่อสั้นๆ ว่า Spider-Man ให้ Todd McFarlane เขียนเรื่องและวาดเอง ซึ่งสไตล์ อาร์ตอันเป็นเอกลักษณ์ พร้อมหน้าปกที่มีให้เก็บสะสมหลายแบบ ก็ทำให้ Spider-Man#1 สร้างสถิติเป็นการ์ตูนที่ขายดีที่สุดเท่าที่เคยมาคือ 3 ล้านเล่ม
  • กลุ่มนักวาดการ์ตูนสมัครเล่นที่เรียกว่า “โดจินชิ” หญิงล้วนในนาม Clamp มีผลงานที่ได้ตีพิมพ์อย่างเป็นทางการเล่มแรกคือ ฤคเวท ศึกเทว ยุทธ์ (RG Veda)
  • ทาเคฮิโกะ อิโนอูเอะ เขียนการ์ตูนบาสเกตบอล Slam Dunk ลงใน Shonen Jump ที่ฉบับรวมเล่มขายได้ถึง 100 ล้านเล่ม

ปี 1991

  • หนังสือการ์ตูน X-Force#1 ของ Rob Liefeld ทำลายสถิติยอดขาย ของ Spider-Man#1 ด้วยตัวเลข ที่มากกว่าเกือบเท่าตัวคือ 5 ล้านเล่ม จากปกที่มีให้เก็บสะสมถึง 7 แบบ แต่หลังจากนั้นเพียงสองเดือน XMen# 1 ของ Jim Lee (ที่มีปกแตกต่างกัน 5 แบบ) ก็สร้างสถิติใหม่ที่ยัง ไม่มีการ์ตูนเล่มไหนทำลายได้จนถึงปัจจุบันคือ 8 ล้านเล่ม
  • Frank Miller นำบรรยากาศมืดทะมึน ชายในเสื้อโค้ตกันฝน สาวสวย และรถยนต์เก่าๆ จากฟิล์มนัวร์และนิยายอาชญากรรม มาเขียนเป็นการ์ตูน ขาวดำ Sin City ที่โชว์การใช้แสงเงาตัดอย่างรุนแรง ให้กับสำนักพิมพ์ Dark Horse Comics

ปี 1992

  • 7 นักวาดการ์ตูนดาวรุ่งของ Marvel Comics คือ Todd McFarlane (Spider-Man) Rob Liefeld (X-Force) Jim Lee (X-Men) Marc Silvestri (Wolverine) Erik Larsen (Amazing Spider-Man) While Portacio (Uncanny X-Men) และ Jim Valentino จับมือกันลาออก จาก Marvel มาตั้งสำนักพิมพ์พิมพ์ใหม่ในชื่อ Image Comics ที่ชูนโน บายมอบสิทธิต่างๆ ในตัวละครให้แก่ผู้สร้างสรรค์ (ไม่ใช่สำนักพิมพ์เหมือน Marvel หรือ DC) พร้อมส่งการ์ตูนซูเปอร์ทีม Yong Blood ของ Liefeld มาวางจำหน่ายเป็นเรื่องแรก ตามด้วย Spawn ของ McFarlane ที่ฉบับ แรกขายได้ถึง 1.7 ล้านเล่ม เป็นการ์ตูนจากสำนักพิมพ์อิสระที่ขายดีที่สุดที่ เท่าที่เคยมีมา
  • DC Comics เขียนเรื่องให้ Superman ถูกวายร้าย Doomsday ฆ่า ตายกลางถนนเมืองเมโทรโปลิสใน Superman#75 จนกลายเป็นข่าวดัง ไปทั่วโลก และหนังสือก็ขายดีกว่า 6 ล้านเล่ม
  • สาวแกร่งแรงเกินร้อย (Boys Over Flowers) ของ โยโกะ คามิโอะ ลง ในนิตยสาร Magaret ซึ่งนอกจากจะสร้างถิติเป็นการ์ตูนผู้หญิงที่ขายดีที่สุด ตลอดกาล (54 ล้านเล่ม) แล้ว ยังถูกสร้างเป็นทีวีซีรีส์ของไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีที่ฮิตทุกเวอร์ชั่น
  • นาโอโกะ ทาเคอูจิ เขียน Sailor Moon ลงใน Nakayoshi

ปี 1993

  • หกเดือนหลัง Superman สิ้นลม Batman ก็ถูกวายร้ายร่างยักษ์ Bane จับหักกระดูกสันหลังใน Batman#497 จนกลายเป็นคนพิการ ต้องนั่งรถ เข็นตลอดเวลา
  • DC Comics เปิดสำนักพิมพ์ลูกในชื่อ Vertigo Comics เพื่อผลิตงาน ป้อนนักอ่านรุ่นใหญ่โดยเฉพาะ จึงมีเนื้อหารุนแรงได้เต็มที่ โดยมีงานนัก เขียนอังกฤษอย่าง Neil Gaiman (The Sandman และ Black Orchid) Grant Morrison (Animal Man, Doom Patrol และ Shade) และ Alan Moore (Hellblazer และ The Saga of the Swamp Thing) เป็นหัวเชื้อ -สำนักพิมพ์เดอะเนชั่น คอมิคส์ ได้ลิขสิทธิการ์ตูนซูเปอร์ฮีโร่ของ DC Comics ทั้ง Superman และ Batman มาตีพิมพ์เป็นภาษาไทย ขณะที่ซู เปอร์ฮีโร่ของ Marvel Comics อย่าง Spider-Man. Hulk, X-Men ฯลฯ ตกเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์แอ็ดวานซ์ คอมมิวนิเคชั่น

ปี 1994

  • ซูเปอร์ฮีโร่เบอร์หนึ่งของ Marvel Comics อย่าง Spider-Man ก็เผชิญ ชะตากรรมอันโหดร้ายไม่แพ้ Superman และ Batman ของ DC เมื่อ ปรากฏว่า Spider-Man ที่เราติดตามชีวิตเขามาตลอดนั้นไม่ใช่ตัวจริง แต่ เป็นร่างโคลนนิ่งที่เดอะ แจ็คเกิลสร้างขึ้นมาในหนังสือการ์ตูนฉบับที่ 149 (1975) หรือตั้งแต่ 20 ปีก่อนต่างหาก
  • โกโช อาโอยามะ เขียนการ์ตูนนักสืบในร่างเด็ก Detective Conan ลง ใน Shonen Sunday
  • นาโอกิ อูราซาวะ เขียนการ์ตูนทริลเลอร์แกะรอยปมอดีต คนปีศาจ Monster ที่นักเขียนรางวัล Pulitzer ปี 2008 Junot Diaz ได้อ่านฉบับ แปลเป็นภษาอังกฤษแล้วถึงกับชมว่า “อูราซาวะเป็นสมบัติแห่งชาติของ ญี่ปุ่น”
  • นิตยสาร Shonen Jump ทำยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 6.53 ล้านเล่ม

ปี 1995

  • Joe Sacco นำข้อมูลที่ได้จากการเดินทางไปใช้ชีวิตในเขตเวสต์แบงค์ และชนวนกาซ่า มาเขียนเป็นการ์ตูน Palestine
  • โยชิยูกิ ซาดาโมโต ที่เป็นคนออกแบบตัวละครให้กับอะนิเมะหุ่นยนต์ยักษ์ Neon Genesis Evangelion เขียนหนังสือการ์ตูนเรื่องนี้ออกมาขาย ก่อน ที่แอนิเมะจะออกอากาศถึง 8 เดือน เพื่อช่วยโปรโมทล่วงหน้า
  • Ghost In the Shell ฉบับภาษาอังกฤษวางขายในอเมริกา พร้อมกับอะ นิเมชั่นของ Production I.G. ที่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในวันที่เข้าฉาย แต่ก็ค่อยๆ สั่งสมความนิยมในตลาดวิดีโอ จนพี่น้องวาคาวสกี้ใช้เป็นแรง บันดาลใจในการสร้างโลกในหนัง The Matrix
  • หนังสือและนิตยสารการ์ตูนทำยอดจำหน่ายรวมกันสูงถึง 2,300 ล้าน เล่ม
  • การ์ตูนญี่ปุ่นในเมืองไทยเข้าสู่ยุคกฏหมายลิขสิทธิ์ จนเกิดเป็นนิตยสาร การ์ตูนรายสัปดาห์จาก 3 สำนักพิมพ์หลักคือ Boom ของเนชั่น คอมิคส์ C-Kids ของสยามอินเตอร์คอมิคส์ และ K.C.Weekly ของวิบูลย์กิจ

ปี 1996

  • ซีรีส์พิเศษ 4 เล่มจบชุด DC Versus Marvel Comics นำซูเปอร์ฮีโร่ 11 คนจากสองสำนักพิมพ์ใหญ่มาประลองกันแบบตัวต่อตัว ทั้ง Superman ต่อยกับ Hulk, Batman สู้กับ Captain America, Spider-Man เจอกับ Superboy ฯลฯ โดยผลการต่อสู้ของแต่ละคู่จะมา การโหวตของคนอ่าน
  • Superman แต่งงานกับโลอิส เลนในฉบับพิเศษ The Wedding Album
  • สำนักพิมพ์ Marvel Comics ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายในเดือน ธันวาคม จากหนี้สินที่ก่อขึ้นมาโดยแผนกผลิตการ์ดและสติกเกอร์การ์ตูน
  • David B. เริ่มเขียนการ์ตูนชีวประวัติตัวเอง I’ Ascension du Haut Mal (Epileptic) ลงในนิตยสาร Lapin
  • คาซูกิ ทาคาฮาชิ เขียน เกมกลอัจฉริยะ Yu-Gi-Oh! ลงใน Shonen Jump

ปี 1997

  • Ghost World ของ Daniel Clowes ที่เคยลงใน Eightball ถูกนำมา รวมเล่มขาย โดยมีตัวเอกเป็นสองสาววัยรุ่นที่เรียนจบแล้ว แต่ยังใช้ชีวิต เรื่อยเปื่อย ไร้จุดหมาย
  • Stuart J. Levy ตั้งสำนักพิมพ์ Tokyopop (ชื่อตอนแรกคือ Mixx) มา เปิดตลาดการ์ตูนญี่ปุ่นในสหรัฐอเมริกา
  • เออิจิโร โอดะ เขียน One Piece ลงใน Shonen Jump แล้วรวมเล่มขาย ได้ถึง 140 ล้านฉบับ เป็นหนังสือการ์ตูนที่ขายดีที่สุดตลอดกาลอันดับสอง ของ Shonen Jump รองจาก Dragon Ball (150 ล้านเล่ม)

ปี 1998

  • Avi Arad มาเป็นประธานของ Marvel Entertainment แล้วผลักดัน การ์ตูนของมาร์เวลให้กลายเป็นหนังทำเงินทั้ง Blade, X-Men และ Spider-Man
  • จุนจิ อิโตะ เขียน ก้นหอยมรณะ (Uzumaki) ลงใน Big Comics Spirited แล้วกลายเป็นงานสร้างชื่อให้เขาคู่กับ Tomie ที่ถูกแปลเป็น ภาษาอังกฤษแล้วทั้งสองเรื่อง
  • ทาเคฮิโกะ อิโนอูเอะ เล่าประวัติของ มิยาโมโต้ มูซาซิ ใน Vagabond
  • บริษัท Bakery Music เปิดนิตยสารวัยรุ่น Katch โดยแทรกหน้าการ์ตูน ของ B Boyd Characters ลงไปด้วย ทั้ง นักสืบหัวปลาหมึก Joe the Sea-Cret Agent ของ สุทธิชาติ ศราภัยวานิช และ hesheit ของวิศุทธิ์ พรนิมิตร ฯลฯ ก่อนจะเปิดนิตยสารเล่มใหม่ Manga Katch มาลงการ์ตูน โดยเฉพาะ
  • นพ วิฑูรย์ทอง และบุญเชิด แช่มประเสริฐ เขียน “มีดที่ 13” โดยได้แรง บันดาลใจจากหนังจีนกำลังภายในของชอว์บราเธอร์ผสมกับ The Crow และแบรนดอน ลี มาลงในนิตยสาร Boom ร่วมกับการ์ตูนญี่ปุ่นแล้วได้รับ ความนิยม จนถูกนำไปรวมเล่ม และกลายเป็นการ์ตูนไทยที่เขียนต่อเนื่อง ยาวนานที่สุดจนปัจจุบัน

ปี 1999

  • ผู้กำกับหนังสุดแสบ Kevin Smith (Dogma) มาเขียนการ์ตูน Daredevil ให้ Marvel Comics แล้วประสบความสำเร็จ จนคนในวงการ ทีวีและภาพยนตร์เริ่มไหลเข้าสู่วงการการ์ตูนมากขึ้นอย่าง J.Michael Straczynski (Babylon 5) ก็มาเขียน Spider-Man, Fantastic Four และ Thor ส่วน Joss Whedon (Buffy the Vampire Slayer) ก็เขียน Astonishing X-Men ขณะที่ Bob Gale (Back to the Future) ก็เขียน Batman และ Daredevil

ปี 2000

  • อดีตบรรณาธิการ นักเขียน นักวาด Joe Quesada ได้เลื่อนขั้นเป็น บรรณาธิการบริหารของ Marvel Comics แล้วเปิดสำนักพิมพ์ลูก Ultimates Marvel มาเจาะตลาดนักอ่านรุ่นใหม่ ด้วยการรีบูตซูเปอร์ฮีโร่ ใหม่หมดตั้งแต่ตอนกำเนิด โดยถือว่าเป็นเรื่องราวในอีกจักรวาลหนึ่งไปเลย ทั้ง Ultimate Spider-Man, Ultimate X-Men, The Ultimates และ Ultimate Fantastic Four
  • Marjane Satarapi เขียนการ์ตูนขาวดำ Persepolis เล่าชีวิตของตัว เอง ตั้งแต่ตอนเป็นเด็กที่โตในอิหร่านช่วงการปฏิวัติ แล้วไปเรียนต่อใน ออสเตรีย
  • ไอ ยาซาวา เล่าเรื่องราวมิตรภาพของสาวบ้านนอกกับนักดนตรีพังค์ใน Nana
  • นาโอกิ อูราซาวะ เขียน แก๊งนี้มีป่วน 20th Century Boys ที่เล่าตัดสลับ เหตุการณ์ตั้งแต่ปี 1969-2017 พร้อมตัวละครอีกหลายสิบชีวิต ลงใน Big Comics Spirits

ปี 2001

  • สแตน ลี บิดาแห่งซูเปอร์ฮีโร่ของ Marvel Comics ข้ามค่ายมาเขียน เรื่องชุด Just Imagine Stan Lee Creating… . ให้กับ DC Comics โดยตั้งโจทย์ว่า ถ้าลีเป็นคนสร้างซูเปอร์ฮีโรของ DC อย่าง Superman, Batman, Wonderwoman, The Flash และ Green Lantern พวกเขา จะออกมาเป็นอย่างไร
  • Marvel Comics เลิกใช้ตรารับรองของ CCA แล้วสร้างระบบเรตติ้งของ ตัวเองขึ้นมา พร้อมเปิดบริษัทลูกในชื่อ Max Comics เพื่อเจาะกลุ่มคนอ่าน รุ่นใหญ่ ด้วยการ์ตูนอย่าง Alias, Haunt of Horror, The Punisher ฯลฯ ในขณะที่การ์ตูนซูเปอร์ฮีโร่รายเดือน ก็ถูกนำมารวมเล่มเป็นฉบับปก อ่อน ตั้งขายในร้านหนังสือปกติ ให้คนอ่านติดตามซื้อได้ง่ายขึ้น
  • เหตุการณ์ก่อการร้าย 11 กันยา ส่งผลให้มีการผลิตการ์ตูนเพื่อหารายได้ เข้าองค์กรการกุศลออกมาทั้ง 9-11: September 11, 2001 (มี 2 เล่ม เล่มแรกเป็นงานของสำนักพิมพ์ Image Comics กับ Dark Horse Comics และ Chaos! Comics ส่วนเล่มสองเป็นของ DC Comics ล้วนๆ) และ 9-11: Emergency Relief ของสำนักพิมพ์การ์ตูนทางเลือก Alternative Comics ขณะที่ฝั่ง Marvel Comics ก็ออกมาถึง 3 เล่มคือ Heroes กับ A Moment of Silence และ The Amazing Spider- Man#36 ซึ่งเล่มสุดท้ายนั้นเขียนถึงปฏิกิริยาของซูเปอร์ฮีโร่และซูเปอร์วาย ร้ายในจักรวาล Marvel ที่มีต่อโศกนาฏกรรมครั้งนี้
  • Chris Ware เขียน Jimmy Corrigan, the Smartest Kid on Earth ที่มีตัวเอกเป็นหนุ่มใหญ่ผู้ว้าเหว่ ที่เดินทางไปพบพ่อที่ไม่เคยเห็นหน้า มาก่อนในชีวิต ด้วยงานอาร์ตแบบการ์ตูนหรือคัตเอาท์โฆษณายุคโบราณ จนได้รับรางวัลมากมายทั้งในอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส
  • สำนักพิมพ์บงกชคอมิคส์ได้ลิขสิทธิ์การ์ตูนซูเปอร์อเมริกันจาก Marvel, DC และ Image Comics มาจัดพิมพ์เป็นฉบับภาษาไทย

ปี 2002

  • บริษัท Sega พิมพ์ Raijin Comics เป็นหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นรายสัปดาห์ เพื่อเจาะตลาดเด็กโตและผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ด้วยการ์ตูนอย่าง Slam Dunk และ City Hunter

ปี 2003

  • Jim Woodring รวบรวมการ์ตูนที่แทบไม่มีคำพูดหรือซาวด์เอฟเฟกต์ส เลยของเจ้า Frank (ที่เป็นลูกผสมระหว่าง Mickey Mouse, Felix the Cat และ Bugs Bunny) มารวมเล่มขายในชื่อ The Frank Book ที่ได้รับ ความนิยมจนมีสินค้าเมอร์ซานไดส์ทั้งเสื้อยืด หรือแอ็คชั่นฟิคเกอร์
  • Viz Media พิมพ์ Shonen Jump ฉบับภาษาอังกฤษมาขายใน สหรัฐอเมริกา ด้วยความหนา 228 และอ่านแบบหลังมาหน้าเหมือน ต้นฉบับญี่ปุ่น แต่เปลี่ยนระยะเวลาวางจำหน่ายจากรายสัปดาห์เป็นราย เดือน ซึ่งฉบับแรกที่มีการ์ตูนดังทั้ง Dragon Ball Z, One Piece, Yu- Gi-Oh! ก็ขายได้เกือบ 3 แสนเล่ม
  • เทศกาลการ์ตูนนานาชาติ Angouleme ในฝรั่งเศส มอบรางวัลแก่ จิโร่ ทานิกูจิ ที่เขียนงานสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ด้วยฉากหลังวิจิตร บรรจงอย่าง The Faraway Town และ The Man Who Walks
  • เทซึกูมิ ออมบะ กับ ทาเคชิ โอบาตะ เขียน Death Note ลงใน Shonen Jump
  • นาโอกิ อูราซาวะ เขียน Pluto ฉลองครบรอบ 40 เจ้าหนูปรมาณู (Astroboy) ด้วยการนำเหตุการณ์ตอนที่หุ่นพลูโตปรากฏตัวไล่ล่าทำลาย ล้าง 5 หุ่นยนต์ที่เก่งที่สุดในโลก มาเล่าใหม่ โดยให้ เกซิคส์ หุ่นตำรวจของ รัฐบาลเยอรมันเป็นตัวเดินเรื่องแทนอะตอม

ปี 2005 (2548)

  • Charles Burns เขียนการ์ตูนสยองขวัญ-โรแมนซ์ Black Hole ที่เริ่ม ต้นเล่ม 1 ไว้ตั้งแต่ปี 1995 จบสมบูรณ์ในเล่มที่ 12
  • Viz Media พิมพ์นิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่น Shojo Beat มาเจาะตลาดคน อ่านผู้หญิง เพื่อขยายตลาดต่อจาก Shonen Jump
  • everybodyeverything ของวิศุทธิ์ พรนิมิตร ได้รับการตีพิมพ์ใน ประเทศญี่ปุ่น และถูกพิมพ์เป็นฉบับภาษาไทยต่อโดยสำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น

ปี 2006 (2549)

ทรงศีล ทิวสมบุญ เขียน ถั่วงอกและหัวไฟ Beansprout & Firehead เป็นนิยายที่มีภาพประกอบทุกหน้า และต่อด้วยรวมการ์ตูนสั้น Improvise ที่สร้างคาแร็คเตอร์ Bobby Swinger ขึ้นมาเป็น mascot ประจำตัวเขา

ปี 2007 (2550)

  • นิยายแฟนตาซีสยองขวัญชุด The Dark Tower ของสตีเฟน คิง ถูก Marvel Comics ดัดแปลงเป็นหนังสือการ์ตูน ที่เจ็ดเล่มแรกติดอันดับเป็น หนังสือการ์ตูนขายดีแห่งปี
  • Captain America ถูกวายร้าย Red Skull ฆ่าตายในการ์ตูนชุด Civil War ของ Marvel Comics โดยหลังจากนั้นคู่หูของอเมริกาคือ Bucky ก็ มาสวมชุดลายธงชาติอเมริกาแทน
  • การ์ตูนญี่ปุ่น 1,300 -1,400 เรื่อง ได้รับการตีพิมพ์ในอเมริกาโดย 15 สำนักพิมพ์
  • บริษัทสตาร์พิคส์ เปิดนิตยสารการ์ตูนไทยรายเดือนไซส์แมกกาซีน “Let’s” โดยมีการ์ตูนเรื่องยาวทั้ง “สูญ” ของสุทธิชาติ ศราภัยวานิช, “Innocent Series” ของ The Duang (วีระชัย ดวงพลา), “นายสมองกับ หนูหัวใจ” ของ Puck (ไตรภัค สุภวัฒนา) ฯลฯ กับเรื่องสั้นจบในเล่มและ คอลัมน์ประจำ

ปี 2008

  • หุ่นยนต์จากอนาคต โดราเอมอน ได้รับแต่งตั้งจากนายกกระทรวงการ ต่างประเทศของญี่ปุ่นให้เป็น “ฑูตแอนิเมะ” คนแรก
  • สำนักพิมพ์ a book เปิด “a book comic” เป็นบุ๊กกาซีนราย 6 เดือนที่ มี ทรงศีล ทิวสมบุญ เป็นบรรณาธิการร่วมกับภูมิชาย บุญสินสุข โดยเป็น รวมการ์ตูนสั้นจากหลายนักเขียนภายใต้ธีมเดียวกัน ที่มี Bobby Swinger เป็นตัวเล่าเรื่อง
  • สำนักพิมพ์ไต้ฝุ่นเปิด “หมัด” (Mud) เป็นบุ๊กกาซีนราย 3 เดือน โดยมี “ชิงช้า” ของวิศุทธิ์ พรนิมิตร (ที่ลงในนิตยสาร IKKI ของญี่ปุ่น) เป็นการ์ตูน เรื่องยาว คู่กับการ์ตูนสั้น (จากนักเขียนรับเชิญและคนอ่านส่งไปร่วมสนุก) บทสัมภาษณ์ เรื่องแปล ฯลฯ ภายใต้คอปเซปต์ “วารสารการ์ตูนทางเลือก”
  • สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก เปิด “หอมหัวใหญ่” เป็นบุ๊กกาซีนราย 4 เดือน โดยมีอิทธิวัฐก์ สุริยมาตย์เป็นบรรณาธิการคัดสรรการ์ตูนของคนอื่น มาลงร่วมกับเรื่องที่ตัวเองเขียน ภายใต้คอนเซปต์ “การ์ตูนสร้างสรรค์ ปลอดความรุนแรงทางภาพและภาษา”

2. การแสดงผลงานของนักวาดการ์ตูน

การแสดงผลงานการออกแบบการ์ตูนของนักวาดการ์ตูนชาวไทย 3 คน ที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ คุณวิสุทธิ์ พรนิมิตร คุณสุทธิชาติ ศราภัยวานิช และคุณทรงศีล ทิวสมบุญ นำเสนออุปกรณ์ที่ใช้ในการวาดการ์ตูน ชิ้นงานที่โดดเด่น และลายเส้นต้นฉบับจากฝีมือของนักวาดการ์ตูน

3. มูลค่าทางการตลาดที่น่าสนใจจากการ์ตูน

การ์ตูนที่หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องสำหรับเด็กหรือเรื่องเฉพาะกลุ่ม แต่เมื่อศึกษาจะพบว่าการ์ตูนสามารถสร้างรายได้หรือสร้างมูลค่าภายในตลาดโลกได้ไม่น้อย โดยเฉพาะในประเทศญีปุ่นที่การ์ตูนครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 40% ของหนังสือทั้งหมด รวมไปถึงการสร้างโอกาสในการขายลิขสิทธิ์สินค้าตัวการ์ตูนที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับการ์ตูนอีกด้วย

BOOK & DVD Must Have!

รายชื่อหนังสือและดีวีดีแนะนำคัดเลือกแล้ว รวม 9 เล่ม กับอีก 7 เรื่อง

ดีวีดีอนิเมชั่นของ วิสุทธิ์ พรนิมิตร เวอร์ชั่นจำหน่ายในญี่ปุ่น 3 เรื่อง

ดีวีดีอนิเมชั่นของ วิสุทธิ์ พรนิมิตร เวอร์ชั่นจำหน่ายในญี่ปุ่น 3 เรื่อง

สารคดีบันทึกการวาดการ์ตูนชื่อดังเรื่อง Vagabond มีขายที่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น

Book Confidential สารคดีเบื้องหลังงานเขียนกราฟฟิกโนเวลชั้นยอดของฝรั่ง มีขายที่ใน amazon

American Splendor และ Ghost World หนังดังที่สร้างจากคอมมิคระดับตำนาน มีขายใน amazon

ทีมงาน

ออกแบบนิทรรศการ: ปิติ อัมระรงค์ + จุฑามาส บูรณะเจตน์ / นักออกแบบอิสระ
ภาพประกอบ: ธีรวัฒน์ เฑียรฆประสิทธิ์ / นักวาดภาพประกอบอิสระ
เนื้อหานิทรรศการ: อลงกรณ์ คล้ายสีแก้ว / นักเขียนอิสระ และบรรณาธิการบริหารนิตยสาร FILMAX

หนังสืออ้างอิงหลักในส่วนข้อมูล

  • Manga : 60 Years of Japanese Comics by Paul Gravett
  • Graphic Novels: Everything You Need to Know by Paul Gravett
  • Superheroes โดย อลงกรณ์ คล้ายสีแก้ว
  • ตำนานการ์ตูน โดย จุลศักดิ์ อมรเวช

ภาพประกอบนิทรรศการ


Related To This Item

สื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


You May Also Like

แนะนำสื่ออื่นๆ ที่น่าสนใจ


Your Recent Views

สื่ออื่นๆ ที่คุณเพิ่งดู